นอนเต็มอิ่มแต่ทำไมยังอ่อนเพลีย ไขข้อสงสัยด้วย 5 สาเหตุใกล้ตัว

นอนเต็มอิ่มแต่ทำไมยังอ่อนเพลีย ไขข้อสงสัยด้วย 5 สาเหตุใกล้ตัว

นอนเต็มอิ่มแต่ทำไมยังอ่อนเพลีย ไขข้อสงสัยด้วย 5 สาเหตุใกล้ตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสงสัยไหมว่าในแต่ละวันมั่นใจว่าตัวเองนอนเต็มอิ่ม แต่กลับรู้สึกว่าร่างกายไม่มีพลัง และมักจะอ่อนเพลียได้ง่าย วันนี้เราจะชวนให้ทุกคนมาไขข้อสงสัยถึงเหตุผลที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียทั้งที่นอนเต็มอิ่มกันค่ะ จะมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียตลอดวันทั้งที่นอนเต็มอิ่มกันบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ


1.ไม่กินอาหารเช้า
ทุกคนต่างทราบถึงข้อดีของการกินอาหารเช้าเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการช่วยเติมพลังให้กับร่างกาย ซึ่งหากใครละเลยการกินอาหารเช้า ก็ย่อมทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลียได้ง่าย บางคนถึงขนาดอ่อนล้าได้ตลอดวันทั้งที่นอนเต็มอิ่ม นั่นเป็นเพราะในช่วงที่เรานอน ร่างกายใช้พลังงานไปหมด จึงต้องเติมพลังงานให้ร่างกายด้วยการกินอาหารเช้า หากไม่กินอาหารในมื้อนี้ก็ไม่แปลกที่จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียตลอดวัน แม้ว่าตลอดคืนจะนอนพักผ่อนเต็มที่ก็ตาม


2.ดื่มน้ำน้อย
การดื่มน้ำในปริมาณน้อยหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ตลอดวัน เพราะโดยปกติร่างกายของคนเรามีความต้องการน้ำเพื่อไปใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างมาก หากร่างกายได้รับปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หรือร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ก็จะทำให้เลือดในร่างกายมีความข้น ซึ่งเมื่อเลือดมีความข้นก็จะไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายได้ยาก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ลดลง โดยเฉพาะในส่วนของสมอง และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนน้อยลง ก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียตามมา


3.กินอาหารที่มีน้ำตาลสูง
การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง มีส่วนไปกระตุ้นให้อารมณ์เกิดความผิดปกติ ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูง ซึ่งช่วงนี้จะทำให้รู้สึกดีหรือมีอารมณ์ดี แต่พอผ่านไปสักพักน้ำตาลในเลือดจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว ก็จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย บางรายถึงขั้นหงุดหงิดง่ายอีกด้วย


4.เข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา
การเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลามีผลต่อการทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียแม้จะนอนเต็มอิ่มแล้วก็ตาม ซึ่งบางคนจะมีพฤติกรรมการนอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา โดยอาจจะเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลาแค่เพียงวันทำงาน แต่วันหยุดกลับเข้านอนและตื่นนอนไม่เป็นเวลา หรือไม่เหมือนตอนวันทำงาน พฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้ร่างกายต้องปรับตัวมาก ดังนั้นแนะนำให้เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน จะทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งปกติและมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายแข็งแรงและสดชื่นเสมอ


5.กินอาหารกลุ่มธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
การกินอาหารกลุ่มธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หมดแรง และอ่อนล้าได้ง่าย นั่นเพราะร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ สำหรับใครที่ไม่ต้องการเผชิญกับภาวะขาดธาตุเหล็ก แนะนำให้กินอาหารประเภทเนื้อแดง ถั่วแดง ไข่แดง เต้าหู้ เครื่องในสัตว์ และผักสีเขียวเข้ม จะช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวนี้ได้


เอาเป็นว่าใครที่รู้สึกว่าตัวเองนอนเต็มอิ่มทุกคืน แต่กลับรู้สึกอ่อนเพลียในตอนกลางวัน ลองตรวจสอบดูพฤติกรรมของตัวเองดูว่าตรงกับสาเหตุที่เราได้กล่าวไปข้างต้นหรือไม่ หากมีสาเหตุข้อไหนที่ตรงกับพฤติกรรมที่เป็นอยู่ แนะนำให้พยายามปรับแก้เพื่อให้ร่างกายไม่เผชิญกับอาการอ่อนเพลียง่ายกันค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook