N Health ชวนทำเมนูสุขภาพเสริมสร้างสารอาหารทดแทนผู้มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง

N Health ชวนทำเมนูสุขภาพเสริมสร้างสารอาหารทดแทนผู้มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง

N Health ชวนทำเมนูสุขภาพเสริมสร้างสารอาหารทดแทนผู้มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพราะการกินดีอยู่ดีไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว และมีการพัฒนาไปตามความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะวิทยาการทางการแพทย์ ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญคือ การนำมาซึ่งสุขภาวะของแต่ละบุคคล ปัจจุบันเห็นได้ว่ามีแนวทางใหม่ๆ ในการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอาหารที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกายมีผลต่อร่างกายอย่างไร และทำให้เกิดอาการตอบสนองไวผิดปกติ จากภาวะแพ้อาหาร หรือไม่ หรือเป็นเพียงภูมิแพ้อาหารแฝงเท่านั้น


ด้วยเหตุนี้ เอ็น สเปซ ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ ภายใต้ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ หรือ N Health ผู้ให้บริการด้านการสนับสนุนบริการทางการแพทย์และธุรกิจโรงพยาบาล เล็งเห็นถึงผลกระทบต่อร่างกายเมื่อมีภาวะแพ้อาหาร และ ภูมิแพ้อาหารแฝง จึงได้เชิญ ภญ.จิตราวดี เหมมณฑารพ เภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการกินเพื่อสุขภาพ เจ้าของร้านต้นกล้าฟ้าใส ร้านอาหารมังสวิรัติ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และถ่ายทอดเคล็ดลับดี ๆ ในการกิน หัวข้อ แพ้อาหารไม่หาย แต่ภูมิแพ้อาหารแฝงหายได้ พร้อมชวนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรม ทำสมูทตี้เพื่อสุขภาพ


ภญ.จิตราวดี เหมมณฑารพ  เภสัชกร และ เจ้าของร้านต้นกล้าฟ้าใส ภญ.จิตราวดี เหมมณฑารพ เภสัชกร และ เจ้าของร้านต้นกล้าฟ้าใส

ภญ.จิตราวดี เหมมณฑารพ กล่าวว่า “ภาวะแพ้อาหารเฉียบพลัน เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองความไวผิดปกติหลังทานอาหาร โดยอาการสามารถเกิดขึ้นได้ทันที หรือ ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร โดยประเภทอาหารที่สามารถทำให้เกิดภาวะแพ้อาหารง่าย มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน อย่าง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง ปลา นม ไข่ รวมถึง 3 ชนิด ที่อันตรายสำหรับผู้แพ้ถึงชีวิต อย่าง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง กุ้ง อาการของผู้แพ้อาหาร เช่น จาม ผื่น ระคายเคืองผิว บวมแดง รวมถึงอาการทางระบบทางเดินหายใจ และรุนแรงถึงชีวิต และที่สำคัญผู้ที่มีอาการแพ้อาหารมาตั้งแต่เกิด จะไม่สามารถหายขาดได้

แต่ในบางคนที่รับประทานอาหารชนิดเดิม และ ไม่เคยมีอาการแพ้มาก่อน แต่กลับมีอาการแพ้ขึ้นมา อาการดังกล่าว เกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหาร ส่งผลต่อกระเพาะอาหาร ลำไส้ และร่างกาย เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นที่อวัยวะต่างๆ มักพบในกลุ่มโรค เช่น ภาวะย่อยนมวัวไม่ได้ ภาวะย่อยแอลกอฮอล์ไม่ได้ ภาวะขาดเอนไซม์ หรือ ในคนที่เป็นโรคไมเกรน เป็นต้น ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ สะสมจนเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว แต่อาการจะไม่รุนแรงเท่าอาการจากการแพ้อาหารเฉียบพลัน เช่น อาการท้องอืด หรือ อาการเหมือนกรดไหลย้อน ปวดท้อง ท้องผูกสลับท้องเสีย ปวดหัว ปวดไมเกรนเรื้อรัง ไอ คลื่นไส้ มีน้ำมูก ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้น เป็นลมพิษ เป็นต้น”

“การรักษาผู้มีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง ทำได้ไม่ยาก เพียงวางแผนการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ประมาณ 3-6 เดือน และในระหว่างนี้ สามารถปรับรูปแบบการรับประทานให้รับสารอาหารครบถ้วนได้ ด้วยการรับประทานอาหารทดแทน อย่าง แพลนต์เบสด์ โดยเฉพาะ ถั่ว 5 สี ที่ประกอบไปด้วยโปรตีนชั้นดี สามารถทดแทนสารอาหารในนมวัว ได้แก่ ถั่วสีขาว ดีต่อปอด อิ่มนาน ช่วยคุมน้ำหนัก ถั่วสีเหลือง ดีต่อม้าม เสริมสร้างกระดูก ลดอาการข้างเคียงของวัยทอง ถั่วสีดำ ดีต่อไต ช่วยล้างพิษ แก้ร้อนใน ถั่วสีแดง ช่วยชะลอวัย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และ สุดท้าย สีเขียว ดีต่อตับ โปรตีนคุณภาพสูงเทียบเท่าเนื้อสัตว์ อุดมด้วยวิตามิน  แต่สำหรับใครหลายๆคน อาจมองว่า ธัญพืชต่างๆ เหล่านี้ ทานยากรสชาติไม่ถูกปาก”  ภญ.จิตราวดี เหมมณฑารพ จึงได้ฝากสูตรสมูทตี้ เมนูสุขภาพที่มีสารอาหารครบถ้วน ที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพมาให้ลองทำกัน ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

 
เราเริ่มด้วยเบสก่อน ประกอบด้วย กล้วยหอม 1/2 ลูก นมถั่วเหลือง หรือ โยเกิร์ต 300 มล. ผักใบเขียว 50-100 กรัม อย่าง วอเตอร์เครส ตำลึงหวาน ผักเคล และใส่มะเขือเทศ 20 กรัม ใบเนียมหูเสือ 1-2 ใบ ถัดมาปรุงแต่งรสชาติ เราสามารถเลือกได้ตามชอบ สัดส่วนน้ำหนักประมาณ 100 กรัม โดยใช้เป็นผล เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ และขั้นตอนสุดท้ายด้วยโรยหน้าด้วยธัญพืชและผลไม้ต่างๆ เช่น กราโนล่า เมล็ดแฟลกซ์ป่น เมล็ดทับทิม มะม่วงสดหั่นเต๋า เมล็ดฟักทอง อัลมอนด์สไลด์อบ และ ตกแต่งหน้าสมูทตี้ด้วย ดอกไม้กินได้ สักหน่อย ก็จะเพิ่มความหน้าทานขึ้นอีก แต่หากชื่นชอบการทานแบบ เครื่องดื่มก็ให้เติมนมถั่วเหลืองเพิ่ม หรือ ชอบแบบข้นๆ ก็ใส่เป็นโยเกิร์ต หรือ กล้วยหอมแทน เพียงเท่านี้ก็สามารถทานสมูทตี้อร่อยๆ ได้แล้ว


อย่างไรก็ดี สุมินตรา สีทาสังข์ นักกำหนดอาหาร จาก เอ็น สเปซ ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ เสริมว่า “การที่เรารู้ตัวว่าแพ้อาหารประเภทไหน เราจะสามารถรับมือ และ รักษาได้ทันท่วงที ผู้ที่ไม่ทราบว่ามีภาวะภูมิเเพ้อาหารแฝง ควรประเมินเบื้องต้น เพราะอาจจะเป็นโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภูมิเเพ้อาหารแฝงก็เป็นได้ แต่หากต้องการรู้ว่าตนเองมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงหรือไม่ การตรวจภูมิเเพ้อาหารแฝงจะใช้การเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปทดสอบ และตรวจหาชนิดของอาหารที่อาจมีภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงอยู่ สามารถตรวจได้มากกว่า 222 ชนิด โดยผลตรวจจะออกมาเป็นรายการของอาหาร และระดับการแพ้ ซึ่งควรได้รับการเเปรผลโดยเเพทย์ผู้ชำนาญการ ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์แยกแยะว่า อาหารชนิดไหนที่เเพ้จริง กับอาหารชนิดไหนที่รับประทานบ่อยๆ”



ทั้งนี้ ที่ N Health มีบริการตรวจสุขภาพ โปรแกรมตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด Food Intolerance พร้อมรับคำปรึกษาจากนักเทคนิคการแพทย์ได้ที่ N Space ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ ปากซอยเพชรบุรี 47 (ซ.ศูนย์วิจัย) ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ หรือ ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านทาง LINE@nhealth คลิก https://bit.ly/3qoDB1i หรือ โทร. 02-762-4000 กด 1 หรือ nhcslab@nhealth-asia.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook