ไขข้อสงสัย “อารมณ์แปรปรวนเก่ง ปวดหัวบ่อย" อาการแอบแฝงของภาวะ PMDD

ไขข้อสงสัย “อารมณ์แปรปรวนเก่ง ปวดหัวบ่อย" อาการแอบแฝงของภาวะ PMDD

ไขข้อสงสัย “อารมณ์แปรปรวนเก่ง ปวดหัวบ่อย" อาการแอบแฝงของภาวะ PMDD
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวจะปวดเพราะอารมณ์แปรปรวนเก่ง จิตตกขั้นสุด ปวดหัวเหมือนไมเกรน และบางครั้งก็หยุดกินไม่ได้ อาการทั้งหมดนี้มีก็แต่เลดี้อย่างเราๆ เท่านั้นถึงจะเข้าใจหัวอก

แต่สำหรับผู้หญิงบางคน อาการทั้งหมดที่ว่ามาไม่ใช่เรื่องตลกๆ ที่แค่กินยา นอนพัก หรือพยายามตั้งรับก็เอาอยู่ โดยเฉพาะอารมณ์ที่แปรปรวนจนทำให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเริ่มพัง งานเริ่มรวน จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน และดูจะหนักหนาจนเกินรับไหว ใครกำลังประสบปัญหาที่ว่านี่คุณอาจเข้าข่ายอาการแอบแฝงของภาวะ PMDD ก็เป็นได้

PMDD คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับอาการปวดหัวไมเกรนก่อนมีประจำเดือน Sanook.com จะไขคำตอบให้

ขั้นกว่าของอาการ PMS คืออาการ PMDD

ช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะมา ผู้หญิงเกือบทุกคนต้องมีสักหนึ่งอาการปรากฎ ไม่ว่าจะเป็น ปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หิวบ่อยหรือเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เจ็บเต้านม สิวขึ้น ตัวบวม อาการเหล่านี้เรียกว่า PMS (Premenstrual Syndrome) ซึ่งมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยประมาณ 5-11 วันก่อนประจำเดือนมา อาการจะเริ่มโผล่มาทักทาย และโบกมือลาหลังประจำเดือนหมด 4-7 วัน

ในกลุ่มคนที่อาการ PMS ไม่หนัก กินยาแก้ปวดก็บรรเทา หรือรับมือกับความเหวี่ยงวีนขอตัวเองได้พอประมาณก็ไม่เท่าไร แต่สำหรับใครที่ปวดหัวคล้ายๆ กับปวดหัวไมเกรน เป็นซ้ำๆ บ่อยๆ ช่วงที่ประจำเดือนใกล้มาจนกระทบกับการใช้ชีวิต ตั้งข้อสังเกตเลยว่าคุณอาจเข้าข่ายมีอาการแอบแฝงของภาวะ PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการก่อนเป็นประจำเดือนขั้นรุนแรงนั่นเอง

PMDD จะมีดีกรีความรุนแรงของอาการกว่า PMS หงุดหงิดง่ายกว่าและมากกว่า เครียดรุนแรงจนควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซึมเศร้าหนักถึงขั้นร้องไห้บ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงปวดหัวคล้ายไมเกรน แต่ก็พบได้น้อยเพียง 3-8% ของผู้หญิงที่มีประจำเดือน แต่เนื่องจากมีอาการรุนแรงบางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาตามอาการที่พบ

ทำไมถึง 'ปวดหัวบ่อย' ก่อนมีประจำเดือน

โดยปกติแล้ว อาการปวดหัวจะเกิดก่อนประจำเดือนมา 1-2 วัน เนื่องจากช่วงก่อนมีประจำเดือน เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ เส้นเลือดภายในสมองที่ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องมีการขยายตัว อีกทั้งยังทำให้ระดับเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว จึงเข้าไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนตามมา ยิ่งกับผู้ที่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรนอยู่แล้ว ก็อาจจะยิ่งส่งผลให้มีอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่าย และรุนแรงกว่าคนทั่วไป

ข้อสังเกตว่าคุณกำลังเข้าข่ายปวดหัวจากอาการแอบแฝงของภาวะ PMDD หรือไม่นั้น ให้สังเกตว่าอาการปวดหัวจะรุนแรงขึ้นและยาวนานกว่า อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีความไวต่อ แสง เสียง และกลิ่นเพิ่มมากขึ้น บางคนอาจมีอาการปวดไมเกรนซ้ำๆ ถี่ๆ

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของกลุ่มอาการ PMDD แต่ก็พบปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง อาทิ พันธุกรรมคนที่มีอาการ PMDD พบยีน ESR1 (Estrogen Receptor Alpha) ที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรม หรือเกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้ลดสารสื่อประสาทโอปิออยด์ (Opioid), กาบา (GABA), เบตาเอ็นดอร์ฟิน (Beta Endorphin) และเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งก่อให้เกิดความวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า เป็นต้น  

รักษาอย่างไร

ทางที่ดีอย่าปล่อยให้อาการปวดหัวจากภาวะแอบแฝงของ PMDD มาทำให้ชีวิตปั่นป่วน เพราะเราสามารถดูแลรักษาอาการโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ  
1. การรักษาช่วงที่มีอาการปวดเฉียบพลัน พูดง่ายๆ ก็คือ รักษาตามอาการ สามารถกินยาได้เหมือนกับเวลาปวดไมเกรน เช่น ยาทริปแทน (triptans), ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น แต่อาจต้องใช้ยาในปริมาณที่สูงกว่าปกติหรือกินยาหลายชนิดควบคู่ จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนรับประทานยา
2. การรักษาแบบป้องกัน วิธีนี้จะแนะนำในผู้ที่มีอาการรุนแรง หรือไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดแบบเฉียบพลัน สามารถให้ยาป้องกันได้ 2 ลักษณะ คือ ให้ระยะสั้นเฉพาะช่วงก่อนมีประจำเดือน และให้ระยะยาวทานติดต่อกันทุกวัน ยาในกลุ่มนี้ มีหลายชนิด เช่น ยาทริปแทน (triptans) ที่ออกฤทธิ์ยาว, ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs), ยาคุมกำเนิด (ชนิดทาน, เจล, แปะ)

หรือใช้ยาปรับฮอรโมนสูตร EE20D ที่มีสูตร Ethinyl Estradiol 20 ไมโครกรัม และ Drospirenone 3mg ที่เป็นสูตร 24/4บรรเทาอาการ PMDD รวมด้วยได้ ซึ่งจะช่วยควบคุมฮอร์โมนจากภายใน เมื่อร่างกายถูกปรับสมดุลจากภายใน สถาพจิตใจและอารมณ์ก็จะเหวี่ยงวีนน้อยลง อาการแอบแฝงอื่นๆ อย่าง อาการปวดหัวก็จะบรรเทาลง

นอกจากนั้นยังพบงานวิจัยที่ศึกษากับผู้เข้าร่วมศึกษาและวิจัยรวม 154 คน โดยให้กินยาปรับฮอร์โมนซึ่งประกอบด้วยตัวยาเอทธินิลเอสตราไดออล 20 ไมโครกรัม และดรอสไพรีโนน 3 มิลลิกรัม สูตร 24/4 (กินต่อเนื่องกันวันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 24 วัน และยาหลอก 4 วัน เป็นระยะเวลา 6 รอบ) พบว่ามีผู้ที่เลือดออกกะปริดกะปรอยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ผู้ที่ได้รับผลข้างเคียงจากยามีเพียงอาการคลื่นไส้อาเจียน เต้านมคัดตึง ปวดศีรษะ และเลือดออกกะปริดกะปรอย โดยไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ผู้เข้าร่วมการศึกษาพึงพอใจและพึงพอใจมากกับยาปรับฮอร์โมนชนิดนี้ 84.2% และ ถ้ามีโอกาสจะใช้ยาปรับฮอร์โมนชนิดนี้ต่อ 73.3%

อย่างไรก็ดี ก่อนจะเริ่มต้นกินยาปรับฮอร์โมน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง เพราะในตัวยาอาจมีข้อห้ามสำหรับคนบางกลุ่ม

ศึกษาข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ PMS, PMDD และ ยาปรับฮอร์โมนสูตร EE20D เพิ่มเติมที่ Facebook:  https://www.facebook.com/younglovethailand

PP-PF-WHC-TH-0440-1(10/2022)

[Advertorial]

 อ้างอิง
1.https://bit.ly/3yxLd3I
2.https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B/
3.https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/brain/migraine-headaches-in-women
4. https://www.jeab.com/fit-firm/fit-life/ee20d-low-hormone-birth-control-pills

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook