อัปเดต 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเผยว่าผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่ดูเหมือนว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีการตรวจคัดกรอง ส่งผลให้มีอัตราการตรวจคัดกรองโรคในระดับที่น้อยและกว่าจะตรวจพบก็อาจลุกลามเข้าสู่ระยะที่อยากต่อการรักษา
Sanook.com ขอรวบรวม 5 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่สาเหตุเกิดจากอะไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงไม่ให้เกิดได้หรือไม่และวิธีคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง
1.มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?
มะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ผ่านรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณช่องคลอด เยื้อบุผิวปากมดลูก จนถึงบริเวณรอบทวารหนักและปลายองคชาติ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV เป็นครั้งแรก ระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส แต่หากเชื้อไวรัสไม่หายไปจะส่งผลให้เซลล์ปากมดลูกมีความผิดปกติและอาจเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็วปากมดลูก
2.ใครคือกลุ่มเสี่ยง
รู้หรือไม่ว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย แม้ว่าการติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน หรือแม้แต่ผู้หญิงที่มีคู่นอนเพียงคนเดียวก็มีความเสี่ยงติดเชื้อ HPV เช่นกันในกรณีที่ฝ่ายชายมีเชื้อ HPV อยู่ และยังมีความเป็นไปได้ที่จะติดต่อทางการสัมผัส การสูบบุหรี่ รวมถึงคนที่มีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น
3.อาการที่ต้องเฝ้าระวัง
ความร้ายกาจของมะเร็งปากมดลูกคือในระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่ถ้าเมื่อไรมีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีตกขาวปริมาณมากขึ้นผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการเจ็บหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด มีประจำเดือนนานจนรู้สึกผิดปกติ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงหมดประจำเดือนไปแล้ว ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
4.ควรตรวจคัดกรองบ่อยแค่ไหน
American Cancer Society (ACS) หรือ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายหลังเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกประมาณ 3 ปี สำหรับคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป สำหรับระยะห่างของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ถ้าเป็นการตรวจด้วย Pap smear ควรทำทุกปี
แต่ถ้าตรวจด้วย Liquid-based cytology: LBC ควรตรวจทุก 2 ปี เหตุผลที่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีกระบวนการเกิดโรคที่ช้า ใช้เวลาในการพัฒนาเป็นมะเร็งนาน แต่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้ตัวก่อน
5.สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้เอง
แม้ว่าผู้หญิงทุกคนจะรู้ดีว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจำเป็นแต่วิธีการตรวจแบบดั้งเดิมที่ต้องขึ้นขาหยั่ง ทำให้ผู้หญิงหลายคนกลัว กังวล และเขินอายที่จะไปตรวจ ปัจจุบันมีนวัตกรรมทางเลือกให้ผู้หญิงสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล ด้วยการเก็บสิ่งส่งตรวจผ่านชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้วส่งกลับไปที่โรงพยาบาหรือศูนย์ตรวจทางการแพทย์ที่เข้าร่วม เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกโดยตรง ทั้งนี้ ควรรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนที่จะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเอง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bffbangkok.com
หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง LINE OA : bff_bkk
[Advertorial]