เคยสงสัยไหม? ส่วนใบเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นควร “กิน” หรือ “ทิ้ง”

เคยสงสัยไหม? ส่วนใบเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นควร “กิน” หรือ “ทิ้ง”

เคยสงสัยไหม? ส่วนใบเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นควร “กิน” หรือ “ทิ้ง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อีกหนึ่งผักยอดนิยมที่คนญี่ปุ่นนำมารับประทานแทบทุกวันคือต้นหอมญี่ปุ่น โดยต้นหอมญี่ปุ่นประกอบไปด้วยสองส่วนคือส่วนสีขาวและส่วนสีเขียว คนญี่ปุ่นจำนวนมากมักเข้าใจว่าต้องตัดเอาส่วนใบสีเขียวทิ้งและนำส่วนสีขาวมารับประทาน มารู้กันว่าควรตัดส่วนใบสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นทิ้งหรือไม่

ควรตัดส่วนสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นทิ้งหรือไม่

ต้นหอมญี่ปุ่นเป็นผักอเนกประสงค์ที่สามารถรับประทานได้ทั้งแบบดิบและนำมาปรุงอาหาร ทั้งส่วนสีขาวและส่วนสีเขียวคือใบของต้นหอมญี่ปุ่น ส่วนสีขาวคือใบที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินและส่วนสีเขียวคือใบที่อยู่เหนือดินสามารถสังเคราะห์แสงได้ คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยรับประทานแต่ส่วนสีขาวและตัดเอาส่วนสีเขียวทิ้งไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเพราะส่วนสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นมีสารอาหารมากมาย

สารอาหารที่อยู่ในแต่ละส่วนของต้นหอมญี่ปุ่น

โดยทั่วไปส่วนสีขาวของต้นหอมญี่ปุ่นจัดอยู่ในผักสีอ่อนและส่วนสีเขียวจัดอยู่ในผักใบเขียวและเหลือง ส่วนสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นประกอบไปด้วยบีต้า แคโรทีน แคลเซียม และวิตามินซีในปริมาณที่สูงกว่าส่วนสีขาว นอกจากนี้ ยังมีสารประกอบที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากมายได้แก่ ฟรุกแตน (Fructan) ซึ่งเป็นสารประกอบโพลีแซคคาไรด์ที่อยู่ในของเหลวที่เป็นเมือกใสในส่วนสีเขียว สารชนิดนี้มีสรรพคุณในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง อัลลิซินซึ่งเป็นสารให้กลิ่นและรสชาติเผ็ดที่ช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 1 ได้ดี และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกเหนือจากคุณค่าสารอาหารในส่วนสีเขียวแล้วส่วนสีขาวของต้นหอมญี่ปุ่นอุดมไปด้วยสารเนกิออล (Negiol) ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยลดไข้ ที่คนญี่ปุ่นนำมารับประทานสดและพันรอบคอเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด

วิธีการนำส่วนสีขาวและส่วนสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นมารับประทานให้อร่อย

ส่วนสีขาวของต้นหอมญี่ปุ่นมีรสชาติหวานขึ้นเมื่อนำมาให้ความร้อน จึงเหมาะสำหรับการนำมาทำเมนูผัด อบ ย่าง และหม้อไฟญี่ปุ่น

ส่วนสีเขียวของต้นหอมญี่ปุ่นมีเส้นใยอาหารมากกว่าส่วนสีขาว มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง และมีรสเผ็ดจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสชาติอร่อยเข้มข้นขึ้น เช่น โรยหน้าราเม็งและอุด้ง เป็นต้น ใช้ในการขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของเนื้อสัตว์โดยการต้มเคี่ยวกับเมนูจากเนื้อสัตว์ และสับจนละเอียดเพื่อเป็นส่วนผสมในเมนูเกี๊ยวซ่า ขนมจีบ และลูกชิ้นไก่ เป็นต้น นอกจากนี้ ด้วยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียคนญี่ปุ่นจึงนิยมนำต้นหอมญี่ปุ่นดิบมาหั่นฝอยรับประทานกับอาหารดิบ เช่น ซาชิมิและซูชิ เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการนำต้นหอมญี่ปุ่นมาปรุงอาหารคือ สารอัลลิซิน สารเนกิออล และวิตามินซี  ในต้นหอมญี่ปุ่นละลายน้ำได้ดี เวลาเตรียมต้นหอมญี่ปุ่นจึงไม่ควรแช่น้ำไว้นาน และควรปรุงเป็นเมนูอาหารที่สามารถรับประทานน้ำซุปได้

บ้านเราก็หาซื้อต้นหอมญี่ปุ่นมารับประทานได้ง่าย หากซื้อมาปรุงเมนูที่ชอบก็อย่าทิ้งส่วนสีเขียวให้ไร้ค่ากันค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook