เหล็กที่ดี มีหน้าตาอย่างไร

เหล็กที่ดี มีหน้าตาอย่างไร

เหล็กที่ดี มีหน้าตาอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าคอนกรีตจะมีความแข็งแรงทนทานในการรับแรงกด แต่ก็ขาดความยืดหยุ่นในการรับแรงดึงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรับแรงดึงของคอนกรีต จึงมีการคิดค้นนำเหล็กเส้นมาเสริมในเนื้อคอนกรีต โดยเรียกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ คสล.จากการคิดค้นดังกล่าวทำให้สถาปนิกมีอิสระในการออกแบบอาคารที่มีช่วงเสากว้าง มากกว่าการใช้คานไม้ สามารถเจาะช่องเปิดได้กว้างมากขึ้นกว่าเดิมโดยไม่จำเป็นต้องมีเสามาขั้นกลางระหว่างช่องเปิด 

เหล็กข้อกลม VS. เหล็กข้ออ้อย
เหล็กเสริมในคอนกรีตแบ่งง่ายๆ เป็นสองประเภท คือ เหล็กเส้นกลม (Round Bars : RB) และเหล็กข้ออ้อย (Deformed Bars : DB) เหล็กเส้นกลมจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 6 – 25 มม.ส่วนเหล็กข้ออ้อยจะมีขนาดหน้าตัดประมาณตั้งแต่ 10 – 32 มม. เหล็กทั้งสองประเภท จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลักเนื่องจากรับแรงได้ดีกว่า และใช้เหล็กเส้นกลม ขนาดหน้าตัดเล็กกว่าเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กข้ออ้อยเป็นระยะๆ สังเกตง่ายๆ คือ

  1. ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน (ตั้งตลอดแนวเสา) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะๆ
  2. ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน (ยาวตลอดแนวคาน) และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็ก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะๆ และเมื่อมาถึงคำถามที่ว่า

เหล็กที่ดี มีคุณภาพจะตรวจสอบได้อย่างไร?
เหล็กเส้นก็เปรียบเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป คือจะต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายเหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ได้แก่

  • บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)
  • ชั้นคุณภาพ (Grade)
  • ขนาด(Size)
  • ความยาว (Length)
  • วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)
  • เครื่องหมายมอก.

แต่หากไม่มีป้ายเหล็ก สามารถสังเกตรายละเอียดต่างๆ บนเนื้อเหล็กได้ดังนี้

  • ชื่อผู้ผลิตหรือตรายี่ห้อ เช่น ตราช้าง NS
  • ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เช่น RB9 DB16 DB20
  • ชั้นมาตรฐานของเหล็กนั้นๆ เช่น SR24 SD40 SD50

* รายละเอียดทั้งสามอย่างต้องปรากฏชัดเจน

สำหรับใครที่เคยได้ยินคำบอกเล่าที่ว่า “เวลาเลือกเหล็กสร้างบ้านให้ใช้เหล็กเต็ม” เหล็กเต็มคืออะไร? เหล็กเต็มก็คือเหล็กที่มีขนาดและน้ำหนักถูกต้องตาม มาตรฐาน มอก. สำหรับเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐาน มอก. บางครั้งก็อาจเรียกกันว่า “เหล็กเบา” หรือ “เหล็กไม่เต็ม” ดังนั้นการตรวจสอบคุณภาพเหล็กให้เบื้องต้นก็ให้สังเกตหาเครื่องหมาย มอก. ก็จะทำให้เราสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าเหล็กที่เราเลือกใช้เป็นเหล็กที่ดีและมีคุณภาพได้มาตรฐาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook