เทคนิคงานก่ออิฐที่ถูกต้อง

เทคนิคงานก่ออิฐที่ถูกต้อง

เทคนิคงานก่ออิฐที่ถูกต้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การก่ออิฐ เป็นการจัดเรียงแผ่นอิฐเพื่อให้เกิดรูปทรงเป็นผนังตามที่ต้องการ โดยใช้วัสดุประสานระหว่างอิฐ นั่นคือปูนซีเมนต์ผสม หรือปูนซีเมนต์สำเร็จรูปสำหรับงานก่อ

สำหรับการเตรียมการทำงานก่อและอุปกรณ์ มีดังนี้

วัสดุและอุปกรณ์

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานก่อ

  สำหรับอิฐมอญ(อิฐแดง) อิฐบล็อค(คอนกรีตบล็อค) และอิฐมวลเบาเทียม (อิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ)

 เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ผสมร่วมกับทรายหยาบตามอัตราส่วนหลังถุง) ดูเพิ่มเติม 

-  เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่อทั่วไป (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ดูเพิ่มเติม

สำหรับอิฐมวลเบา

-เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่ออิฐมวลเบา (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ดูเพิ่มเติม

2. เกียงใบโพธิ์ หรือเกียงก่อ

3. อุปกรณ์ผสมปูน

  - กระบะผสมปูน เมื่อใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท และ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่อทั่วไป โดยใช้ จอบ ในการผสม

  - ถังผสมปูน เมื่อใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ก่ออิฐมวลเบา โดยใช้ สว่านติดใบกวน ในการผสม

4. ถังปูน

5. อิฐมอญ, อิฐบล็อค, อิฐมวลเบา, อิฐมวลเบาเทียม ขึ้นกับความต้องการของเจ้าของบ้าน

แนวการจัดเรียงอิฐ โดยทั่วไปนั้น นิยมการก่อแบบเรียงอิฐเป็นแถวเดียว สลับรอยต่อระหว่างแผ่นอิฐเป็นชั้น ๆ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า การก่อแบบ ½ แผ่นอิฐ หรือ ครึ่งแผ่นอิฐ แต่ทั้งนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ ซึ่งให้ความแข็งแรงที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ใช้วัสดุมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้การเลือกรูปแบบการก่ออิฐ ควรคำนึงถึงการรับน้ำหนักของผนังอาคาร หากต้องการรับน้ำหนักไม่มากนัก สามารถเลือกการก่อแบบ ½ แผ่นอิฐได้ แต่จะพบว่ามีอาคารบางประเภทที่ก่อด้วยวิธีการแบบ 1 แผ่นอิฐ หรือ เต็มแผ่นอิฐ เช่นเดียวกัน

สิ่งที่มักเกิดขึ้นกับการก่อโดยทั่วไปคือ การก่อมักจะละเลยการวางแนวดิ่งและแนวระดับที่ชัดเจนทำให้ผนังโก่งโย้ สิ่งนี้จะส่งผลให้การฉาบปูนเกิดความสิ้นเปลือง และส่งผลต่อความสวยงามของผนังได้เช่นเดียวกัน

การผสมและทราย

ทรายที่นิยมนำมาผสมร่วมกับปูนซีเมนต์ผสม อย่าง “เสือ ซีเมนต์ ก่อ ฉาบ เท” จะเป็นทรายหยาบที่เป็นทรายน้ำจืด สามารถรอดผ่านตะแกรงขนาด 4.75 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดมีเหลี่ยมมุม ไม่ควรแบนหรือเรียวยาว เพราะจะทำให้เนื้อปูนไม่ยึดเกาะ ปราศจากวัสดุเจือปน เช่น เศษไม้ เมล็ดพืช ซากพืช เปลือกหอย หรือสารเคมีเจือปนอื่น ๆ

หรือเลือกใช้ “เสือ มอร์ตาร์ ก่อทั่วไป” หรือ “เสือ มอร์ตาร์ ก่ออิฐมวลเบา” สำหรับการก่อโดยไม่ต้องผสมทรายเพิ่ม โดยปูนชนิดดังกล่าวเป็นปูนซีเมนต์สำเร็จรูปที่คัดสรรวัตถุดิบประเภทวัสดุเฉื่อยที่ใช้ทดแทนทราย อย่างหินบดละเอียด คัดขนาดและเหลี่ยมมุมให้เหมาะสมกับงาน ผสมมาให้แล้วในถุงตามสัดส่วนที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการก่อ

1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่ต้องการก่อ ไม่ควรมีเศษขยะ ฝุ่น หรือวัสดุชนิดอื่นอยู่บริเวณที่ทำงาน

2. ตรวจสอบระยะและแนวที่จะก่อว่าตรงตามแบบทางวิศวกรรม ได้แนวดิ่งและฉาก

3. ขึงเอ็นแนวนอนและแนวดิง เพื่อเป็นการหมายระยะในการก่อ ให้ผนังที่ได้ออกมาตรง ได้ฉาก

 

4. รดน้ำอิฐ หรือแช่น้ำอิฐก่อนการก่อ เพื่อให้อิฐมีการดูดน้ำระดับหนึ่ง ป้องกันการแย่งน้ำจากเนื้อปูนเมื่อนำไปก่อ ข้อควรระวังคือ... ไม่ควรใช้อิฐที่เปียกชุ่มมาก่อโดยทันที ให้ทิ้งไว้ให้ผิวอิฐหมาด แต่มีความชื้นอยู่ด้านใน หากเป็นอิฐบล็อคให้ระวังน้ำขังในร่องรูพิมพ์ด้วย

5. เริ่มก่อจากมุมเสาด้านล่าง ด้านใดด้านหนึ่งก่อน โดยที่ชั้นแรกของการก่อ ให้รองด้วยปูนหนาประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร สลับเป็นขั้นบันใดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยชั้นปูนก่อทุกชั้นให้มีความหนาประมาณ 1.5 – 2 เซนติเมตร ยกเว้นอิฐมวลเบา ที่ต้องใช้เกียงมือเสือ ในการปาดปูนบาง ๆ เพียง 2-3 มิลลิเมตรเท่านั้น และควรกระทุ้งก้อนอิฐเบา ๆ ให้มีการยึดเกาะระหว่างอิฐแต่ละก้อน และปาดเนื้อปูนที่ล้นออกด้านข้าง นำกลับไปใช้ก่อต่อไปได้

6. ตรวจสอบระดับตามระนาบและดิ่งทุก ๆ 3-5 ชั้น ด้วยเส้นเอ็นที่ขึงไว้ และการวัดระดับน้ำ การก่อที่เอนเอียงจะส่งผลต่อความแข็งแรง และสิ้นเปลืองปูนเมื่อฉาบ

7. เสียบเหล็กหนวดกุ้งขนาด 6 มิลลิเมตรยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เข้ากับเสา ให้มีส่วนยื่นออกมา 30-40 เซนติเมตรทุก ๆ ความสูงที่ก่อประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของผนัง

สำหรับอิฐบล็อคนั้น อาจใช้เหล็กเส้นกลมแต่ควรมีการเสริมแรงทั้งแนวดิงและนวราบ โดยเหล็กเสริมแนวดิ่งอาจไม่สูงไปกว่า 1.2 เมตร เพื่อสะดวกในการทำงาน

สำหรับอิฐมวลเบา จะมีแผ่นเหล็กสำหรับยึดอิฐกับเสา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากผู้จำหน่ายอิฐมวลเบา

8. การทำเสาเอ็นและคานทับหลัง ควรทำเมื่อก่อได้ความยาวและสูงตามที่แสดงในภาพ เพื่อเป็นการรับน้ำหนักของผนังส่วนถัดไป ด้วยการหล่อขึ้นจากคอนกรีต เสริมเหล็กเพื่อความแข็งแรง

ทั้งนี้หากเจาะช่องหน้าต่างหรือประตู ก็ควรมีการหล่อเอ็นเช่นเดียวกัน โดยสามารถจัดวางวงกบประตูก่อนวางแบบหล่อได้

9. ไม่ก่อจนชนท้องคาน เนื่องจากปูนก่อจะมีการยุบตัวหลังก่อไปแล้ว 1 – 2 วัน เมื่อปูนรับน้ำหนักของอิฐด้านบนไปแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เว้นช่องไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร ก่อนอุดด้วยอิฐเรียงตามลักษณะดังภาพ

10. บ่มผนังให้ชื้นเพียงพอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เนื่องจากความแข็งแรงของงานปูนจะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงน้ำไม่ให้เนื้อปูนเสียน้ำเร็วจนเกินไป ช่วยลดปัญหาแตกร้าวได้โดยตรง

เมื่อก่ออิฐไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้กลับมาบ่มน้ำ ด้วยการรดน้ำสะอาดบนผิวผนังให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อไปอีก 3 – 7 วัน โดยหากอากาศแห้ง มีลมพัด หรือสัมผัสแดดแรงจ้า ให้เพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และเพิ่มระยะเวลาการรดน้ำออกไปจนครบ 1 สัปดาห์

เทคนิคเพิ่มเติมหากมีการก่ออิฐในบริเวณแดดลมแรง จะต้องมีการขึงผ้าใบเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศที่จะพัดความชื้นออกจากผนังเร็วเกินไป เพื่อให้ผนังที่ได้แข็งแรงทนทานไม่แตกร้าวโดยง่าย

ตราเสือ ขอสงวนสิทธิ์ในข้อมูลทุกประการ หากต้องการน้ำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อผ่าน www.facebook.com/TigerBrandTH

เอกสารอ้างอิง

SCG Cement-Building Materials, Cement and Application, กรุงเทพมหานคร.

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook