หมอญี่ปุ่นแนะ "โชคดีนะ" หนึ่งในคำปลอบใจที่ควรเลี่ยงกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

หมอญี่ปุ่นแนะ "โชคดีนะ" หนึ่งในคำปลอบใจที่ควรเลี่ยงกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

หมอญี่ปุ่นแนะ "โชคดีนะ" หนึ่งในคำปลอบใจที่ควรเลี่ยงกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่มีใครอยากให้สมาชิกในครอบครัว คนใกล้ตัว และเพื่อนร่วมงานมีภาวะซึมเศร้า แต่ด้วยปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาการเรียน หรือปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคู่ชีวิต ทำให้คนเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น โดยจากสถิติพบว่าคนญี่ปุ่น 15 คนเป็นโรคซึมเศร้า 1 คน มารู้กันว่าคำพูดใดที่ไม่ควรใช้พูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และวิธีการปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาเพื่อช่วยให้ผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้ ตามคำแนะนำของคุณหมอญี่ปุ่นกันค่ะ

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า


ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ามักจะอ่อนไหวกับคำพูดของคนใกล้ตัว บางครั้งคำพูดที่มาจากความหวังดีอาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขามีอาการแย่ลง คำพูดที่ควรระวังไม่พูดกับผู้มีภาวะซึมเศร้าได้แก่


คำพูดที่พยายามให้คิดว่าภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องเล็ก

เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้ามักต้องการความรักจากคนที่พวกเขารัก แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกกลัวว่าจะถูกปฏิเสธจากคนที่รัก นอกจากนี้ ยังรู้สึกหดหู่ได้ง่ายจากคำพูดในเชิงลบของบุคคลอื่น คำพูดจากคนรอบข้างที่คิดว่าภาวะซึมเศร้าเป็นเรื่องเล็กเป็นคำพูดที่ไม่เคารพและไม่รับผิดชอบต่ออาการป่วยของผู้มีภาวะซึมเศร้า และทำให้พวกเขารู้สึกไม่เข้าใจในตัวเองเพิ่มขึ้น ซึ่งมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

  • คนทุกคนรู้สึกหดหู่ซึมเศร้าได้ในบางครั้ง
  • ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย
  • มีคนในโลกอีกเยอะที่มีปัญหามากกว่าคุณ
  • เกิดอะไรขึ้นกับคุณ
  • ไปคาราโอเกะกันไหม การร้องเพลงเป็นวิธีที่ช่วยให้หายหดหู่ซึมเศร้าได้ดีที่สุด

คำพูดแสดงอารมณ์
คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีระดับความอยากอาหารลดลง แม้ว่าอาหารที่ผู้เตรียมให้อร่อยมากแต่บางครั้งพวกเขาก็ไม่อยากทาน อีกทั้งพวกเขาจะปฏิเสธการออกไปข้างนอก และรู้สึกขี้เกียจไม่อยากทำสิ่งใด พวกเขามักจะรู้สึกผิดและขาดความมั่นใจ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงคำพูดเหล่านี้

  • ฉันอุตส่าห์ทำให้เธอโดยเฉพาะ
  • เธอแค่ต้องการให้ฉันรำคาญใช่ไหม
  • เธอนี่ไร้ประโยชน์
  • ไปให้พ้น
    อย่าขี้เกียจ จะให้ฉันทำยังไง


คำพูดปลอบใจ

คำพูดปลอบใจอาจจะดีสำหรับคนปกติทั่วไป แต่สำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าอาจทำให้อาการของพวกเขาแย่ลง เนื่องจากการที่คนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้านั้นเกิดจากความผิดปกติของสมอง พวกเขาไม่สามารถทำให้ดีที่สุดแม้ว่าต้องการจะทำให้ดีที่สุดก็ตาม คำพูดที่ไม่ควรพูดเพื่อปลอบใจ เช่น

  • โชคดีนะ
  • ยิ้มให้ฉันอีกครั้งนะ
  • เป็นกำลังใจให้นะ

วิธีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
เมื่อมีภาวะซึมเศร้าผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มั่นคงและรู้สึกแย่กับหลายสิ่งรอบตัวได้ง่าย คนที่อยู่ใกล้ชิดต้องไม่บ่นและระวังการใช้คำพูดที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลง เป็นผู้ฟังที่ดีโดยไม่จำเป็นต้องให้คำแนะนำอะไรก็ได้ และอดทนรอคอยเพื่อให้พวกเขาหายจากภาวะซึมเศร้า ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนทำร้ายตนเอง ผู้อยู่ใกล้ชิดต้องรีบแจ้งให้แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยทราบโดยเร็ว

 

ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้านั้นอยู่ในภาวะของการยากที่จะเอาชนะใจตนเพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะไม่พึงประสงค์ แม้ว่าเคยเป็นคนที่มองโลกในแง่บวกและมีความกระตือรือร้น แต่เมื่อมีภาวะซึมเศร้าทำให้พวกเขารู้สึกซึมเศร้า ไม่สนุกในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และไม่มีความต้องการอยากทำอะไรเลย จนทำให้ไม่รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง หากคนใกล้ตัวมีภาวะซึมเศร้าก็หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดข้างต้น เข้าใจและอยู่ใกล้ชิดพวกเขาเงียบๆ เพื่อให้พวกเขามั่นใจว่าบุคคลที่พวกเขารักไม่ทอดทิ้งเขาไปค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook