ทำไม ปูนฉาบบริเวณเสาและคานจึงแตกร้าว หลุดร่อน
เสาและคานนั้นเป็นการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นมา ซึ่งเป็นวัสดุคนละประเภทกับอิฐ ความสามารถในการดูดซับน้ำย่อมแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยึดเกาะของปูน ซึ่งจะพบปัญหาหลัก คือ ผิวฉาบปูนหลุดร่อนออกมาจากผิวคอนกรีตนั้น
ผิวฉาบเสาและคานเกิดรอยแตกร้าวหรือหลุดล่อนแบบแผนที่รอยแตกร้าว แบบนี้ไม่ค่อยเห็นชัดมาก และเกิดเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยรอยแตกเล็กๆ ทำมุมแตกต่างกันไป ในบางกรณีอาจพบการหลุดล่อนของผิวปูนฉาบ ซึ่งแสดงว่าปัญหารุนแรงกว่าการแตกร้าวหลุดล่อน
สาเหตุ
เสาและคาน ซึ่งเป็นเนื้อคอนกรีตดูดน้ำจากปูนฉาบ ทำให้ปูนฉาบแห้งเร็วเกินไป จึงเกิดการแตกร้าวหลุดล่อน
การป้องกัน
ควรเตรียมผิวเสาและคานให้หยาบหรือขรุขระก่อนทำการฉาบ เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะของปูนฉาบ และควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทำให้ผิวหยาบหรือขรุขระ
2. รดน้ำเสาคานที่จะฉาบให้ชุ่มแล้วสลัดดอกด้วยปูน (ปูน 1 ส่วน : ทรายหยาบ 2 ส่วนโดยปริมาณ) หรือใช้กาวซีเมนต์มาฉาบแล้วปาดด้วยเกรียงหวีเป็นร่อง ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วันก่อนฉาบ
3. รดน้ำเสาคานที่จะฉาบให้ชุ่ม จากนั้นฉาบชั้นแรกด้วยปูนเค็ม (ปูน 1 ส่วน : ทราย 2.5 ส่วน) และฉาบทับหน้าด้วยปูนจืด (ปูน 1 ส่วน : ทราย 3 ส่วน) ตามปกติ หลังจากฉาบเสร็จให้บ่มน้ำต่อไปอีกอย่างน้อย 3 วัน
หรือเปลี่ยนมาใช้ปูนซีเมนต์สำหรับฉาบผิวคอนกรีตโดยเฉพาะ อย่าง “เสือ มอร์ตาร์ ฉาบผิวคอนกรีต” เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป "เสือ มอร์ตาร์ ฉาบผิวคอนกรีต" ออกแบบมาเฉพาะงานฉาบผิวคอนกรีตโดยเฉพาะ
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tigerbrandth.com/th/product/28