ทำไม ผนังก่อนอิฐฉาบปูนจึงเกิดการแตกร้าวเป็นลายงา

ทำไม ผนังก่อนอิฐฉาบปูนจึงเกิดการแตกร้าวเป็นลายงา

ทำไม  ผนังก่อนอิฐฉาบปูนจึงเกิดการแตกร้าวเป็นลายงา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาผิวผนังแตกร้าวลายงา เป็นปัญหาที่สร้างความปวดหัวให้กับทั้งเจ้าของบ้านและผู้รับเหมา ตราเสือมีสาเหตุของปัญหานี้มาให้ทุกท่านได้รับทราบ รวมถึงแนวทางการป้องกันและแก้ไข

สาเหตุของปัญหา

1. การผสมปูนซีเมนต์สำหรับฉาบ
ใช้ปูนซีเมนต์ผสมทั่วไป และผสมผิดสัดส่วน โดยใช้ปูนในสัดส่วนที่มากเกินไป หรือ เป็นปูนที่เค็มเกินไป
2. ขั้นตอนการฉาบผิดพลาด
- ในขั้นตอนการฉาบช่างปูนตีน้ำเร็วไป หรือ ปูนฉาบยังไม่แห้งแล้วไปสลัดน้ำบนผิวปูน
- ตีน้ำช้าไป หรือ ปูนฉาบแข็งตัวหรือแห้งแล้วไปสลัดน้ำบนผิวปูน
- ไม่ได้รดน้ำให้ผนังก่ออิฐชุ่มน้ำก่อนฉาบปูน ทำให้อิฐดูดซับน้ำจากปูนฉาบจนเกิดไป
3. ขาดการบ่มน้ำ
ปูนฉาบสูญเสียน้ำเร็วเกินไปเพราะขาดการบ่มที่ดีพอ เช่น ในพื้นที่ที่เผชิญอากาศที่ร้อนจัด ลมแรง แต่ไม่ได้บ่มน้ำให้ทั่วถึง และนานเพียงพอ
4. สภาพแวดล้อม
สภาพอากาศส่งผลให้เนื้อปูนสูญเสียน้ำเร็วเกินไป อาทิ อากาศที่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ลมแรง ทำให้น้ำระเหยมาก

การป้องกัน

1. สำหรับปูนซีเมนต์ผสม (เช่น เสือ ซีเมนต์ ก่อ ฉาบ เท) ควรผสมในสัดส่วนที่ถูกต้อง หรือ เลือกใช้สำหรับปูนซีเมนต์สำเร็จรูป (เช่น เสือ มอร์ตาร์ ฉาบทั่วไป) ซึ่งผสมส่วนผสมต่าง ๆ ไว้แล้วอย่างถูกต้อง



(เนื้อปูนที่ค้นเหลวพอเหมาะ ไม่จืดหรือเค็มเกินไป)

2. ควบคุมงานฉาบ ให้ฉาบปูนอย่างถูกวิธี โดยตีน้ำไม่เร็วหรือช้าไป รวมถึงรดน้ำผนังก่ออิฐให้ชุ่มก่อนฉาบปูน



3. บ่มผนังที่ฉาบเสร็จแล้วต่อไปอีก 3-4 วัน และเพิ่มระยะเวลาหากต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือลมแรง

การแก้ไข

อุดด้วยอคริลิก แล้วทาสีทับ หรือโป๊วด้วยขี้สี แล้วทาสีทับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook