ข้อแตกต่างระหว่างผนังอิฐมอญกับผนังคอนกรีตมวลเบา
การวัดคุณภาพของบ้านจะดีหรือไม่ดี สามารถประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง ความชำนาญงานของช่าง ทีนี้มาเจาะในวัสดุที่เป็นอิฐ ว่าปัจจุบันเขาใช้อิฐแบบไหนในการก่อสร้างและข้อแตกต่างระหว่างผนังอิฐมอญ กับผนังคอนกรีตมวลเบา
อิฐมอญ คืออะไร มีลักษณะคุณสมบัติอย่างไร?
“อิฐมอญ” หรือ “อิฐแดง” ผลิตจากดินเหนียวผสมแกลบ หรือวัสดุอื่นผสมน้ำ เผาด้วยเตาจนสุก โดยทั่วไปมีขนาดความกว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร โครงสร้างบล็อกมีลักษณะตัน ไม่สามารถก่อเป็นผนังรับแรง การดูดซึมน้ำสูง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 1.5 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 20-25 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ 130 กิโลกรัมต่อตารางเมตร น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การใช้งานต่อ 1 ตารางเมตรต้องใช้จำนวน 130 – 145 ก้อน ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) 1.15 วัตต์ต่อ ม.เคลวิน อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) กรณีความหนา 10 เซนติเมตร อยู่ระดับ 2 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) 43 เดซิเบล ระยะเวลาในการก่อสร้าง 6-12 ตารางเมตรต่อวัน การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง หล่อเสาเอ็นทับหลังและต้องมีค้ำยัน
อิฐมวลเบา คืออะไร มีลักษณะคุณสมบัติอย่างไร?
“อิฐมวลเบา” หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “คอนกรีตมวลเบา” ขนาดความกว้าง 4 นิ้ว ยาว 9 นิ้ว หนา 7 เซนติเมตร โครงสร้างบล็อกมีลักษณะกลวง ก่อเป็นผนังรับแรงได้ การดูดซึมน้ำปานกลาง ความหนาของปูนก่อระหว่างก้อน 2.3 มิลลิเมตร ความหนาของปูนที่ฉาบ 10 มิลลิเมตร น้ำหนักวัสดุ 45 กิโลกรัมต่อตารางเมตร น้ำหนักผนังรวมฉาบปูน 2 ด้าน 90 กิโลกรัมต่อตารางเมตร การใช้งานต่อ 1 ตารางเมตรต้องใช้จำนวน 8.33 ก้อน ค่ากำลังอัด ( Compressive Strength ) 30-80 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ค่าการนำความร้อน ( Thermal Conductivity ) 0.13 วัตต์ต่อ ม.เคลวิน อัตราการทนไฟ ( Fire Rating ) กรณีความหนา 10 เซนติเมตร อยู่ระดับ 4 อัตราการกันเสียง ( STC Rating ) 38 เดซิเบล ระยะเวลาในการก่อสร้าง 15-25 ตารางเมตรต่อวัน การติดตั้งวงกบประตู-หน้าต่าง ไม่ต้องเททับหลังและไม่ต้องมีค้ำยัน
ข้อแตกต่างระหว่างผนังอิฐมอญกับผนังคอนกรีตมวลเบา:
อิฐมวลเบาจะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอก อิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร จึงสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมวญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดียิ่ง กว่า แต่ยกเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
ส่วนคุณสมบัติอย่างอื่นๆ เช่น การกันเสียง ปกติอิฐมวญเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีที่ใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวญเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่า สำหรับกันไฟ อิฐมวญก่อ 2 ชั้น และมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย ในด้านความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน
ข้อมูลและภาพจาก http://www.aseanliving.com