3 ขั้นตอน ทิ้ง “ถ่านไฟฉาย” และ “หลอดไฟ” ให้ปลอดภัย

3 ขั้นตอน ทิ้ง “ถ่านไฟฉาย” และ “หลอดไฟ” ให้ปลอดภัย

3 ขั้นตอน ทิ้ง “ถ่านไฟฉาย” และ “หลอดไฟ” ให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครพบว่าปัญหาขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ เป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ “ขยะอันตราย” หรือ “ขยะพิษ” ซึ่งมีอยู่ทั้งในบ้านเรือน ที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน และร้านค้าต่างๆ
หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และยังก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ

ทาง Sanook!Home จึงสรุปวิธีจัดการกับขยะพิษแบบง่ายๆ มาให้เป็นความรู้ เราจะได้แยกขยะพิษ จัดเก็บอย่างปลอดภัย

ถ่านไฟฉาย
1.เก็บรวบรวมถ่านไฟฉายใช้แล้วไว้ในถุงพลาสติก หรือถุงดำ
2.เขียนข้อความว่า “ขยะพิษ” หรือ “ถ่านไฟฉาย” ใช้แล้วไว้ข้างถุง เจ้าหน้าที่จะได้จัดเก็บอย่างถูกต้อง
3.ทิ้งในภาชนะรองรับขยะอันตราย หรือ ทิ้งกับรถขยะของกทม.ตามวันเวลาที่สำนักงานเขตกำหนด

หลอดไฟฟ้าใช้แล้ว
1.นำหลอดไฟที่จะทิ้งแล้วใส่ปลอกกระดาษที่เคยใส่มาตอนซื้อ หรือห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หลายๆ ชั้น เพื่อป้องกันหลอดแตกหักเสียหาย
2.ถ้าเป็นหลอดกลมหรือหลอดตะเกียบ ให้ห่อกระดาษเพื่อป้องกันการแตกหรือเสียหาย แล้วบรรจุใส่ถุงหรือกล่อง
3.เขียนข้อความติดข้างถุงว่าเป็น “หลอดไฟใช้แล้ว” เพื่อให้เจ้าหน้าที่มองเห็นชัดเจน
4.ทิ้งที่จุดทิ้งขยะอันตราย หรือทิ้งกับรถขยะของกรุงเทพมหานคร หรือวางในจุดที่เห็นชัดเจน ไม่เสี่ยงต่อการแตกหักเสียหาย

ข้อมูลจาก สำนักสิ่งแวดล้อม http://www.bangkok.go.th/environment

ภาพจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook