ชีวิตในต่างแดนที่เลือก(ไม่)ได้ ชะตากรรม ′กะเทยพลัดถิ่น′

ชีวิตในต่างแดนที่เลือก(ไม่)ได้ ชะตากรรม ′กะเทยพลัดถิ่น′

ชีวิตในต่างแดนที่เลือก(ไม่)ได้ ชะตากรรม ′กะเทยพลัดถิ่น′
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยุโรปอาจจะเป็นประเทศแห่งความเจริญ เป็นเมืองในฝันของใครหลายคน แต่สำหรับคนบางกลุ่ม โลกใบเดียวกันนี้มีบางมุมที่ไม่ใครรู้ มุมที่ไม่มีใครเคยสัมผัส

โดยเฉพาะพวกเธอ - ผู้หญิงกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่หญิงแท้แต่กำเนิด กลุ่มที่ต้องผลักดันตัวเองให้พ้นจากกระแสสังคมที่แม้ปัจจุบันจะยอมรับเรื่อง รสนิยมทางเพศที่แตกต่างบ้างแล้วก็ตามแต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่ยอมรับเรื่องนี้ได้

ทางเลือกของคนกลุ่มนี้จึงต้องดิ้นรนตัวเองไปสู่สังคมที่เปิดกว้างและยอมรับในเรื่องนี้มากกว่านั่นคือสังคมตะวันตก

แต่เส้นทางชีวิตของพวกเธอจะเป็นอย่างไร เมื่อก้าวเข้าสู่โลกที่ตัวเองใฝ่ฝัน สังคมที่ยอมรับเรื่องรักร่วมเพศ เปิดโอกาสให้ผู้ชายแต่งงานกับผู้ชายได้ ตลอดจนอนุญาตให้เปลี่ยนคำนำหน้าได้ เธอจะพบรักแท้ จะได้แต่งงาน ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเหมือนที่คิดไว้จริงหรือไม่?

นี่คือที่มาของงานวิจัยเรื่อง "ข้ามเพศ ข้ามเขต ข้ามชั้น : พลวัตการดิ้นรนต่อรองเพื่อความอยู่รอดของกะเทยพลัดถิ่นในยุโรป" ของ ชีรา ทองกระจาย

ในงานเสวนาครั้งหนึ่งมีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าของผลงานวิจัยถึงแนวคิดและที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ชีรา เล่าให้ฟังว่า งานวิจัยเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนเรียนปริญญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศส เกิดจากความสงสัยถึงการใช้ชีวิตของสาวประเภทสองที่นั่น ซึ่งคนยุโรปมีมุมมองเรื่องเพศที่แตกต่างจากประเทศไทยเมื่อกะเทยพลัดถิ่นไปอยู่ที่นั่นจะเป็นอย่างไร จะปรับตัวอย่างไร

ถามถึงจำนวนของสาวประเภทสองที่อาศัยอยู่ยุโรป คำตอบแน่ชัดนั้นไม่มี

ดังที่ ชีรา บอกว่า ตั้งแต่เริ่มต้นงานวิจัย เราไม่สามารถหาคำตอบเป็นตัวเลขชัดเจนได้เลยว่าสาวประเภทสองที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส หรือในยุโรปมีจำนวนเท่าไหร่กันแน่ เพราะคนกลุ่มนี้บางส่วนเขายังคงสถานภาพเป็นชายอยู่ ทำให้ไม่สามารถสรุปจำนวนแน่ชัดได้

"แต่การศึกษาและเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสาวประเภทสองที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสได้ข้อสรุป เบื้องต้นว่าสาวประเภทสองชาวไทยกับชาวต่างชาติมีความแตกต่างกัน ชาวต่างชาติมักแปลงเพศเมื่ออายุมากแล้ว โดยส่วนใหญ่เขามักใช้ชีวิตในบทบาทที่เป็นผู้ชายจนกระทั่งถึงจุดๆ หนึ่งที่เขาไม่สามารถจะใช้ชีวิตแบบนั้นได้อีกจึงจะตัดสินใจเปลี่ยนเพศ

"ขณะที่คนไทยโตมาก็รู้แล้วว่าตัวเองอยากเป็นอะไร และตัดสินใจแปลงเพศเลย"

ผลการวิจัยยังระบุอีกว่า กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมีความต้องการการยอมรับมากที่สุด โดยเฉพาะการยอมรับจากภาครัฐ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พวกเขาดิ้นรนออกไปอยู่ในต่างแดน หรือไปอยู่ในสังคมที่มีสิ่งที่พวกเขาต้องการ

แต่ที่ประเทศไทยไม่มี อาทิ สิทธิการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ซึ่งเป็นการได้รับการยอมรับจากภาครัฐในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง

"กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทั้งหมด มองว่าประเทศในยุโรปนั้นมีการยอมรับพวกเขาทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้มาตรฐานชีวิตเขาดีขึ้น ทำให้พวกเขาได้รับการยอมรับ แต่สิ่งที่ไม่ได้คิดคือ เมื่อเราไปถึง เราจะเป็นคนชั้นสองของประเทศเขา นี่คือสิ่งที่เราอาจจะไม่ได้ตระหนักในตอนแรก เมื่อเราข้ามไปเราก็ไม่ใช่คนของประเทศเขา เราก็จะกลายเป็นคนชายขอบ เหมือนคนพม่ามาที่ประเทศไทย เหมือนกลายไปเป็นกะเหรี่ยงในประเทศอื่นนั่นเอง คือสิ่งที่กะเทยบางคนอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงเลย" ชีราอธิบาย

ในต่างประเทศ เมื่อคนที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาอยู่จะมีอาชีพที่ให้เลือกทำค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่คนไทยจะทำงานแม่บ้าน คนใช้แรงงาน รวมถึงธุรกิจทางเพศ สาวประเภทสองบางกลุ่มก็เลือกทำอาชีพค้าบริการเพื่อความอยู่รอดในชีวิตของเขา แต่ส่วนใหญ่ทุกคนจะรู้สึกอยากกลับประเทศไทยเมื่อถึงบั้นปลายชีวิต หรือเมื่อสามารถเก็บเงิน สร้างสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแล้ว

"จากงานวิจัยทางเลือกของสาว ประเภทสองที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเลือกประกอบอาชีพค้าบริการทางเพศบางคนก็เลือก ที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติเพื่อให้ได้สิทธิตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ซึ่งบางกรณีก็มีรูปแบบที่ไม่ได้สวยงามเท่าไหร่นัก ขณะที่บางคนพบรักแท้จากคนที่ซื้อบริการและแต่งงานในที่สุดก็มี"

ชีรายกตัวอย่างของสาวประเภทสองคนหนึ่งที่ได้เก็บข้อมูลไว้ว่าเป็นกรณีศึกษาที่มีลักษณะพิเศษคือ เขาเคยนิยามตัวเองว่าเป็นผู้ชายมาก่อน พอมาเจอกับคนรักชาวเยอรมันที่เป็นเกย์ เลยเปลี่ยนนิยามตัวเองว่าเป็นเกย์และเดินทางมาอยู่ที่ประเทศเยอรมนีกับแฟน เมื่อเลิกกันเขาก็ต้องการที่จะพัฒนาฐานทางเศรษฐกิจของตัวเอง จึงตัดสินใจเปลี่ยนเพศสภาพให้เป็นเหมือนสาวประเภทสอง เพื่อลงไปทำงานบริการทางเพศที่ถูกกฎหมายในเยอรมนี

กรณีนี้เหมือนกับเพศวิถีได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อที่เขาจะได้เอาตัวรอดได้ในสังคมเยอรมนีซึ่งไม่ใช่สังคมของเขาเอง

ชีรา ทิ้งท้ายว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงการเสนอแง่มุมด้านหนึ่งเท่านั้น สาวประเภทสองบางกลุ่มเลือกใช้ทักษะวิธีทุกอย่างที่มีในทุกสิ่งอย่าง เพื่อต่อรองและต่อสู้ในประเทศที่เขาไม่ค่อยได้รับการยอมรับ โดยไม่ใช้เรื่องเพศมาเกี่ยวข้อง แต่ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การใช้ความสามารถด้านภาษา การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการสื่อสาร

นี่เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัย

ชีรา ทองกระจาย (ซ้าย) นที ธีระโรจนพงษ์ (ขวา)

ขณะที่มุมมองของ นที ธีระโรจนพงษ์ แกนนำกลุ่มเชียงใหม่อารยะ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นทางเพศมาที่สุดคนหนึ่งได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้

นที บอกว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นการสะท้อนภาพความเป็นจริง เพราะจากการที่ได้พบได้พูดคุยกับสาวประเภทสองที่ไปทำงานอยู่ตรงนั้นบอกเล่า ว่าโอกาสในการทำงานอื่นมีบ้างแต่ไม่มากส่วนใหญ่จึงเน้นทางด้านการค้าประเวณี หลายๆ คนก็มีความเชื่อว่าแปลงเพศเพื่อไปทำอาชีพแบบนั้น ซึ่งทางเราก็เคยพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะเปลี่ยนทัศนคติเรื่องนี้ของ สาวประเภทสอง

"มองว่างานวิจัยนี้เป็นงานที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ให้สังคมไทยรับรู้และหาทางแก้ไข เชื่อว่างานวิจัยครั้งนี้น่าจะส่งผลสะท้อนให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศและสังคม ไทยได้เรียนรู้ที่จะทำอย่างไรให้เกิดการพัฒนาให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศก้าว ข้ามเรื่องการค่าบริการทางเพศให้หลุดพ้นจากภาพเก่าๆ เดิมๆ

"นอกจากนี้ทางรัฐบาลไทยก็ควรจะรับรู้ว่ามีปัญหาอะไรที่ทำให้กะเทยไทยต้องเดินทางไปอยู่เมืองนอก ไปสร้างภาพลักษณ์ในเชิงลบกับประเทศชาติ ต้องหาวิธีดูแลคนกลุ่มนี้ด้วย" นทีสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของกลุ่มสาวประเภทสองที่ยังรอการแก้ไข

งาน วิจัยชิ้นนี้น่าจะตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องปัญหาที่พวกเธอต้องประสบชีวิตที่ เลือกไม่ได้ของกะเทยพลัดถิ่นในต่างแดนซึ่งหากย้อนมองกลับมาจุดเริ่มต้น ถ้าสังคมไทยยอมรับความหลากหลายมากขึ้น บางทีเรื่องทำนองนี้อาจจะไม่เกิดขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook