8 คุณประโยชน์จาก “สารกันชื้น” ที่คุณต้องร้องว้าว

8 คุณประโยชน์จาก “สารกันชื้น” ที่คุณต้องร้องว้าว

8 คุณประโยชน์จาก “สารกันชื้น” ที่คุณต้องร้องว้าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อคุณแม่บ้าน คุณพ่อบ้านซื้อของบางประเภท เรามักเห็นว่ามีถุงหรือซองใส่วัตถุกลมๆ ที่เราเรียกว่าสารกันชื้นแนบมาพร้อมกัน บางคนอาจไม่ใส่ใจในประโยชน์ที่มากกว่าการแค่วางไว้ในกล่อง กระป๋องเดิมของมัน หรือบางคนเมื่อใช้ของเหล่านั้นเสร็จแล้วอาจปาเจ้าถุงหรือซองกันชื้นเหล่านี้ลงถังขยะไป

Sanook! Home อยากให้คุณคิดใหม่ว่าสารกันชื้นจริงๆ แล้วมีประโยชน์มากมาย มาดูกันว่าเราสามารถนำถุงกันชื้นเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

1.ช่วยชีวิตโทรศัพท์หลังจากตกน้ำ เป็นเรื่องที่ทราบกันดีกว่าโทรศัพท์มือถือกับน้ำไม่ใช่ของที่ควรอยู่ด้วยกัน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในชีวิตทั้งโทรศัพท์มือถือหล่นลงในโถส้วม อ่างล้างหน้า ซิงก์ล้างจาน ฯลฯ แน่นอนบางคนแนะนำให้นำโทรศัพท์ไปใส่ไว้ในข้าวสาร แต่สำหรับซิมการ์ดนั้นแนะนำให้ถอดออกแล้วใส่ถุงซิปล็อคที่ภายในมีสารกันชื้นบรรจุอยู่ ทิ้งไว้สักพักจนซิมแห้งแล้วค่อยนำกลับมาใส่ในโทรศัพท์อีกครั้ง

2.กำจัดกลิ่นเหม็นอับ หากคุณมีหนังสือเก่าอยู่ที่บ้าน สารกันชื้นสามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นอับและยังช่วยไม่ให้มอดมากัดกินหนังสืออีกด้วย

3.ช่วยลดความชื้นเครื่องช่วยฟัง วิธีทำก็ทำแบบเดียวกับโทรศัพท์มือถือ

4.รักษาเอกสารของคุณ หากคุณมีเอกสารสำคัญที่ต้องเก็บไว้ในตู้เซฟ คุณสามารถใส่สารกันชื้นเข้าไปในตู้เซฟเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เอกสารเกิดความเสียหาย

5.ป้องกันไม่ให้เกิดสนิม ใส่ซองกันชื้นไว้ในกล่องเก็บเข็มเย็บผ้าจะทำไม่ให้เกิดสนิม รวมทั้งวิธีนี้ยังใช้ได้กับการป้องกันสนิมไม่ให้เกิดกับเครื่องมือช่างต่างๆ อีกด้วย

6.ลดละอองน้ำที่กระจกของคุณ ในระหว่างที่คุณขับรถอาจประสบปัญหามีฝ้าบนกระจกรถส่งผลต่อการขับรถ เพียงคุณนำสารกันชื้นไปวางไว้บนคอนโซลรถ สารกันชื้นจะช่วยลดความชื้นในรถทำให้กระจกรถใสขึ้น

7.ช่วยไม่ให้เสื้อผ้าในกระเป๋าเดินทางชื้น ระหว่างเดินทางกลับจากท่องเที่ยว เสื้อผ้าชิ้นอื่นๆ ของคุณอาจได้รับความชื้นจากชุดว่ายน้ำที่คุณพกไป ดังนั้นก่อนแพคกระเป๋าให้คุณใส่ถุงกันชื้นไว้ในถุงซิปล็อค จะทำให้เสื้อผ้าในกระเป๋าเดินทางของคุณไม่เหม็นอับ

8.รักษาคุณภาพของวิตามิน ถ้าคุณเก็บวิตามินไว้ในตู้เก็บยาในห้องน้ำ ความชื้นในห้องน้ำอาจทำให้วิตามินหรือยานั้นชื้นและทำให้ยาเสียคุณภาพ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือต้องใส่ถุงกันชื้นลงในขวดยาทุกขวด

เรียบเรียงข้อมูลบางส่วนจาก http://www.womansday.com
ภาพจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook