“ไม้ตียุง” อาวุธร้ายที่อาจไม่ได้ทำลายแค่ “ยุง”

“ไม้ตียุง” อาวุธร้ายที่อาจไม่ได้ทำลายแค่ “ยุง”

“ไม้ตียุง” อาวุธร้ายที่อาจไม่ได้ทำลายแค่ “ยุง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเพื่อควบคุมสินค้า 2 ชนิดคือ ไม้ตียุงและผลิตภัณฑ์สีที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนผสม โดยออกประกาศให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ต้องระบุรายละเอียดที่ฉลากของสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด ล่าสุดการควบคุมสินค้าดังกล่าวได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหลังจากนี้หากเราต้องซื้อหรือใช้สินค้าดังกล่าวจะต้องมีการอ่านและปฏิบัติตามที่ฉลากระบุ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง

สำหรับในส่วนของ “ไม้ตียุง” ทำให้ Sanook! Home นึกย้อนไปว่าจริงๆ แล้วเวลาเราซื้อไม้ตียุงเราไม่เคยอ่านฉลาก (จริงๆ ไม่มีฉลากระบุรายละเอียดบนสินค้า) ของมันเลย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีข่าวเกี่ยวกับอันตรายจากไม้ตียุงให้เราได้เห็นกันอยู่บ้าง มาดูกันว่า “ไม้ตียุง” ก่อให้เกิดอันตรายอะไรกับเราได้บ้าง

อันตรายที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภคซึ่งอาจเกิดจากความประมาทเช่นการเผลอจับบริเวณด้านหน้าไม้ตียุง จนเกิดการช็อต หรือการเสียบปลั๊กชาร์ตไม้ตียุงทิ้งไว้ตลอดเวลาโดยไม่ถอดออกหลังแบตเตอรี่เต็มจำนวน

วิธีป้องกันอันตรายจาก “ไม้ตียุง”

1.ห้ามเปลี่ยนหรือจับต้องหน้าสัมผัสของตาข่ายเมื่อใช้งาน

2.โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัสโครงตาข่ายชั้นกลาง

3.การทำความสะอาดโครงตาข่าย โดยใช้การเขย่า เพื่อให้ซากแมลงที่ติดอยู่หลุดออก ห้ามล้างน้ำเพราะอาจเกิดความเสียหายแก่วงจรได้

4.หากเกิดความเปียกชื้น จะไม่สามารถใช้งานได้ แต่สามารถทำให้แห้งได้ ด้วยการใช้ไดร์เป่าหรือตากแดดให้แห้งจึงจะสามารถใช้งานได้ปกติ

5.ควรเก็บหรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ไม้ตียุงไฟฟ้านี้ให้พ้นมือเด็กเล็ก และควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่

สิ่งที่ต้องสังเกตจากฉลากบน “ไม้ตียุง”
จากประกาศให้ “ไม้ตียุง” เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ทำให้หลังจากนี้เวลาเราจะซื้อไม้ตียุงไฟฟ้าจะต้องมีการอ่านฉลากที่ต้องมีรายละเอียดชัดเจนเกี่ยวกับชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต กำลังไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า เครื่องหมายทะเบียนการค้า ไฟฟ้าของแบตเตอรี่ คุณสมบัติด้านความปลอดภัยของโครงสร้างและวัสดุของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

ทั้งนี้หากผู้ประกอบธุรกิจของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด (ไม้ตียุงและผลิตภัณฑ์สี) ต้องจัดทำฉลากตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่จัดทำฉลากผู้ขายมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อขายมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าผู้บริโภครายใดพบเห็น หรือสงสัยว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถแจ้ง ข้อมูลมายังสคบ.ได้ ผ่านสายด่วนสคบ. 1166 ได้ในวันและเวลาราชการ

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ภาพจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook