8 สิ่งอันตรายที่หมอห้องฉุกเฉินบอกว่าห้ามนำมาไว้ในบ้าน

8 สิ่งอันตรายที่หมอห้องฉุกเฉินบอกว่าห้ามนำมาไว้ในบ้าน

8 สิ่งอันตรายที่หมอห้องฉุกเฉินบอกว่าห้ามนำมาไว้ในบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในแต่ละวันหมอประจำห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาล ต้องรักษาคนไข้ที่มาด้วยอุบัติเหตุหลายรูปแบบ และหลาย ๆ กรณีก็เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากสิ่งที่เราคาดไม่ถึงในบ้าน หรือในสนามหน้าบ้านของเราเอง 8 สิ่งต่อไปนี้ คุณหมอ ๆ เขาบอกว่า พวกเขาไม่อยากนำมันเข้ามาในบ้านของเขากันหรอก

1. แทรมโพลีน หรือเครื่องเล่นสำหรับกระโดด แม้ว่าจะได้รับคำนิยมว่าเป็นเครื่องเล่นที่ช่วยเสริมทักษะ และพัฒนาการเด็ก แต่ก็เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากมาย ตั้งแต่ฟกช้ำดำเขียว ไปจนถึงกระดูกหัก หัวแตก คุณหมอห้องฉุกเฉินฝากบอกว่า พวกเขาเจอเคสเหล่านี้เยอะมาก

2. ถ่านก้อนกระดุม ที่มักจะใช้กับรีโมทรถยนต์ นาฬิกาข้อมือ หรือพวกไฟฉายแอลอีดี ถ่านลักษณะนี้เป็นอันตรายมาก ๆ สำหรับเด็ก เด็กเล็ก ๆ มักจะให้ความสนใจกับของที่มีลักษณะกลม ๆ แวววาว จากนั้นก็หยิบเข้าปาก มันอาจจะติดคอ ติดหลอดลม หรือกลืนลงท้องไป ซึ่งถ่านก็จะปล่อยกรดออกมาทำลายอวัยวะจนเกิดความเสียหายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

3. สระว่ายน้ำ แม้สระว่ายน้ำจะเป็นความสุขของเด็ก แต่ก็สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจมน้ำ มันเกิดขึ้นเงียบ ๆ และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ โดยเฉพาะในบ้านของเราเอง

4. เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และบันไดที่ยืดความยาวได้ คุณหมอบอกว่าพบอุบัติเหตุเกี่ยวกับการตกลงมาจากบันไดสูง ๆ แทบทุกวัน ซึ่งอาการบาดเจ็บมีตั้งแต่ฟกช้ำ ไปจนถึงศีรษะฟาดพื้นอย่างรุนแรง ส่วนเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง หลาย ๆ คนอาจจะนึกไม่ถึงว่าถ้ามาฉีดโดนเข้าเต็มแรงบนร่างกายของเราก็ทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ในลักษณะของการถูกแทงทะลุหรือแผลฉีกขาดได้เช่นกัน

5. ปืน แน่นอนว่าเป็นอันตรายต่อทุกเพศทุกวัยในบ้าน เด็กวัยรุ่นที่มีความคึกคะนอง เด็กเล็กที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ วัยชรา ที่ขาดความระมัดระวัง

6. บะหมี่ราเม็ง ทั้งตัวบะหมี่เอง และน้ำซุป เมื่อเรานำมันเข้าไมโครเวฟเพื่ออุ่น มันจะร้อนมาก จากที่พบในห้องฉุกเฉิน อุบัติเหตุมักจะเกิดจากบะหมื่ร้อน ๆ นั้นหกลวกเด็กตัวน้อย ๆ วัยหัดเดิน เพราะผู้ใหญ่ วางจานไว้ โดยที่ไม่ได้ตระหนักว่า มันร้อนมากขนาดไหนเมื่อเพิ่งนำออกมาจากไมโครเวฟ

7. ยาเก่า โดยมากจะเป็นยาแก้ปวด แทบทุกบ้านมียาแก้ปวด หรือยาบรรเทาอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ไว้ติดบ้าน แต่ถ้าไม่เก็บอย่างดี อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ หลายครั้งที่คุณหมอห้องฉุกเฉินต้องรักษาเด็กจากการกินยาเกินขนาด และยาที่กินเข้าไปก็คือยาที่ผู้ใหญ่วางทิ้ง ๆ ไว้นั่นเอง

8. เก้าอี้สูงสำหรับเด็ก หรือ High chair แม้ว่าเก้าอี้เด็กจะให้ความสะดวกกับพ่อแม่ สามารถให้เด็กมาฝึกนั่งรับประทานอาหารบนโต๊ะกับผู้ใหญ่ได้ แต่คุณหมอบอกว่าพบอันตรายจากเก้าอี้นี้หลายกรณีแล้วเช่นกัน เมื่อนำเด็กใส่บนเก้าอี้ และนำไปไว้ใกล้โต๊ะอาหาร เด็กมักจะใช้เท้าถีบโต๊ะและเก้าอี้ที่นั่งอยู่ก็หงายหลังลงมา ซึ่งคุณหมอบอกว่าสำหรับเด็กเล็ก ๆ แล้ว การหงายลงมาด้วยความสูงแค่ 3 ฟุต ก็ก่อให้เกิดอันตรายที่ร้ายแรงได้

เรียบเรียงข้อมูลจาก  http://time.com

ภาพประกอบจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook