เนรมิตพื้นที่บ้านตาม 6 แบบการเล่นของลูก เพื่อเปิดโลกจินตนาการเจ้าตัวน้อย
อย่ามองข้ามการเล่นของเด็ก เพราะจริงๆ แล้วการเล่นมีความสำคัญต่อคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างสุขภาพกายและจิตใจ แต่การเล่นที่ส่งผลและมีประสิทธิภาพที่สุดคือการที่เด็กกับผู้ใหญ่เล่นด้วยกัน เพราะจะช่วยสานสัมพันธ์ ความแน่นแฟ้นระหว่างช่วงวัยที่แตกต่างและยังทำให้ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ดังนั้นลองมาจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กด้วยการแบ่งรูปแบบการเล่นของเด็ก เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่บ้านเหล่านั้นให้เหมาะสม
1.เล่นแบบฟรีสไตล์ ('Free-Style’ Play): เป็นการเล่นที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ ไม่มีการวางแผน เช่น การเล่นแสดงบทบาทสมมุติต่างๆ ที่ช่วยทำให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ และแสดงความเป็นตัวเอง
2.เล่นแบบสร้าง จำลองสิ่งต่างๆ (‘Build-It’ Play): การฝึกสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เช่น ก่อปราสาททราย หรือตัวต่อเลโก้ที่ช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดและการแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังเป็นการเล่นที่สมาชิกในครอบครัวใช้เวลาเล่นด้วยกันได้
3.เล่นเพื่อเลียนแบบ ('Mirror-Me' Play): การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ของเด็กๆ ทำได้ง่ายๆ เช่น กิจกรรมที่เด็กๆ ช่วยผู้ใหญ่ทำงานบ้าน ทำอาหารหรืออบขนมด้วยกัน นอกจากเด็กจะได้เสริมทักษะการเข้าสังคมและความกล้าแสดงออกแล้ว ผู้ใหญ่ก็ยังมีความสุขที่มีเจ้าตัวเล็กมาคอยสร้างสีสันอีกด้วยสวมบทบาทสมมุติในอาชีพต่างๆ ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นเชฟน้อยเข้าครัวหรือเป็นเถ้าแก่เนี้ยคนเก่ง ด้วยชุดของเล่นทำขนม 7 ชิ้น
4.เล่นคลุกฝุ่น (‘Muddy-Boots’ Play): เป็นการเล่นภาคสนาม เช่น ออกไปเล่นซ่อนหา วิ่งไล่จับ ทำให้เด็กๆ ได้สำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัวและเข้าสังคมกับเพื่อนๆ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นกับผู้ใหญ่ในครอบครัว เพื่อสร้างความสุข เสียงหัวเราะพร้อมกับออกกำลังกายไปด้วยกันอีกด้วย
5.เล่นนอกกรอบ (‘Out-of-the-Box’ Play): คือการเล่นโดยอาศัยอารมณ์ศิลปิน เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่จำกัดและไม่มีข้อบังคับ เพื่อช่วยให้เขาได้ค้นพบศักยภาพ พรสวรรค์ที่ซ่อนอยู่ เช่น การร้องเพลง วาดภาพระบายสี
6.เล่นเป็นแบบแผน (‘Formal’ Play): เป็นการฝึกสมองประลองปัญญา ฝึกการวางแผนด้วยเกมกระดานต่างๆ ที่ทุกคนในครอบครัวเล่นด้วยกันได้ เช่น หมากรุก เกมเศรษฐี
เป็นต้น
เทคนิคการรังสรรค์พื้นที่ในบ้านให้เด็กๆ และผู้ใหญ่สนุกไปพร้อมกัน
- การเลือกเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งในพื้นที่สำหรับเด็กๆ จะต้องคำนึงถึงการใช้สอยในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย เช่น การวาดรูประบายสี ควรเลือกโต๊ะที่มีพื้นผิวซึ่งสามารถทำความสะอาดได้ง่ายและมีความกว้างพอให้เด็กๆ เล่นเกมอื่นๆ ได้ด้วย
- นอกจากนี้ เด็กๆ มักจะใช้ทุกห้องเป็นพื้นที่ในการเล่น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากคือความปลอดภัย เฟอร์นิเจอร์ที่มีความหนัก ควรเลือกฐานที่มีความมั่นคงช่วยในการรองรับได้ดี หรือยึดติดไว้กับผนังเพื่อป้องกันไม่ให้ล้มลงมาได้
- การเก็บของเล่นไว้ในมุมหรือในระดับความสูงที่เด็กๆ สามารถหยิบจับเองได้ จะช่วยให้พวกเขานำออกมาเล่นได้ตามต้องการ และรู้จักเก็บให้เป็นที่เป็นทางเมื่อเล่นเสร็จ
- ผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ควรเป็นแบบที่สามารถถอดออกมาซักทำความสะอาดได้ง่ายเพื่อสุขอนามัยที่ดีของเด็ก