เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน

เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน

เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เป็นปัญหาคับอกคับใจที่แก้ยากจริงๆ ของ ลูกผู้หญิง ก็แหม...มัน อะ อาย อ๊าย อาย...อายเหลือเกิน ที่จะต้องไปหา หมอสูติ หรือ สูตินรีแพทย์ ขึ้นขาหยั่งตรวจภายใน

ตรวจภายใน

ทว่า สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ หากผู้หญิงยังคงอายม้วนต้วน เกรงว่า...น้ำตาจะเช็ดหัวเข่า เมื่อต้องป่วยหนักเป็น "มะเร็ง" ต่อไปนี้...คือประสบการณ์จริงจากปากผู้หญิงที่ สลัดความอาย ขึ้นเตียงให้สูตินรีแพทย์ตรวจภายในอย่างละเอียดมาแล้ว พวกเธอไม่ประสงค์จะออกนาม แต่พวกเธอยินดีแชร์ประสบการณ์ให้ผู้หญิงด้วยกันได้รับรู้ว่า... หมอสูติไม่น่า (อาย) กลัวอย่างที่คิด เริ่มจากสาวผู้ติดเชื้อเอชไอวี เก๋ อายุ 35 ปี เธอต้องเข้ารับการตรวจภายในปีละ 2 ครั้ง สูตินรีแพทย์ประจำตัวเป็นผู้ชาย หน้าดุ แต่ใจดี ทั้งๆ ที่รู้ว่าเธอมีเชื้อเอชไอวี แต่ไม่แสดงท่าทีรังเกียจแม้แต่นิดเดียว "ตอนตรวจครั้งแรกอายมากๆ แต่พอตรวจสัก 2-3 ครั้งก็ชิน เพราะหมอตรวจแป๊บเดียวก็เสร็จ สำหรับผู้หญิง ถ้ารู้ว่าตัวเองผิดปกติให้รีบไปตรวจก่อนที่จะเป็นอะไรมาก สุขภาพสำคัญที่สุด" ด้าน พีช สาวโสดอายุ 28 ปี เธอเข้ารับการตรวจภายในตั้งแต่อายุ 15 ปีด้วยอาการมดลูกไม่แข็งแรง และหลังจากนั้นก็เข้า-ออกโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวเป็นระยะๆ จึงทำให้เธอเข้ารับการรักษากับสูติแพทย์ทั้งผู้หญิงผู้ชายมาแล้วกว่า 10 คน พีชบอกว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเลือกตรวจกับแพทย์หญิง แต่สำหรับเธอ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา สิ่งแรกที่เลือกคือ ความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค รองลงมาคือ อายุ ประมาณ 40 ปีขึ้นไป 3.หมอผู้ชาย และ 4.กิริยามารยาทสุภาพ "พีชจะพยายามรักษากับหมอที่มีอายุมากๆ เพราะมีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัย ตอบทุกคำถามที่สงสัยได้หมด และที่เลือกหมอผู้ชาย เพราะหมอผู้ชายละเอียด รอบคอบในการตรวจ" พีช ยังบอกอีกว่า ถ้าพบแพทย์ไม่ดี เช่น ถามละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัวเกินเหตุ ตอบคำถามไม่ชัดเจน หรือไม่เก่งให้เปลี่ยนทันที ไม่ต้องเกรงใจ ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิเลือกหมอ เพราะเราเป็นผู้เสียเงิน "ฝากถึงผู้หญิงทุกคน ถ้ารู้สึกว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ อยากให้รีบไปหาหมอ เพราะถ้ายิ่งมาช้าจะเป็นหนัก หมอสูติไม่น่ากลัว เพราะทุกครั้งที่ตรวจจะมีผ้าคลุม และมีพยาบาลอยู่เป็นเพื่อน ถึงแม้จะอายแต่ก็อยากให้คิดถึงสุขภาพก่อน" พีชทิ้งท้าย ปิดท้าย ปิ่น อายุ 43 ปี พนักงานบริษัท ก่อนที่จะตรวจพบเนื้องอกในมดลูก เธอมีทัศนคติเกี่ยวกับสูตินรีแพทย์เหมือนผู้หญิงทั่วไปที่ไม่กล้าตรวจภายใน คืออายและกลัวเจ็บ แต่อาการปวดท้องประจำเดือนอย่างหนักทำให้เธอกลัวว่าจะเป็นโรคมะเร็ง ทำให้เธอยอมข่มความอายและความกลัว เดินหน้าเข้าพบแพทย์ "ปิ่นตรวจกับหมอสูติมาแล้ว 3 คน ไม่ว่าจะตรวจกับผู้หญิงหรือผู้ชาย สำหรับปิ่นความอายมีตลอด แต่เพราะความกลัวโรคมีสูงกว่า จึงกล้า และพอตรวจเสร็จ ก็รู้สึกว่าตัดสินใจถูก" สูตินรีแพทย์ประจำตัวปิ่นคนล่าสุดเป็นผู้ชาย ทั้งที่ไม่ใช่เพศเดียวกัน แต่ปิ่นบอกว่า สบายใจที่จะรักษากับแพทย์คนนี้ "หมอสุภาพมาก พูดจาดี ไม่ละลาบละล้วงเรื่องส่วนตัว ตรวจละเอียด และเอาใจใส่ผู้ป่วย" จากเมื่อก่อน ตั้งเงื่อนไขว่า ต้องตรวจกับแพทย์หญิงเท่านั้น แต่วันนี้ ทัศนคติของปิ่นเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง "ปิ่นหันมาให้ความสำคัญกับความเชี่ยวชาญในการรักษาของหมอ เพราะถ้าหมอมีประสบการณ์เยอะ มันช่วยลดความกลัว และสร้างความมั่นใจให้รู้สึกว่า มีโอกาสหาย โรคภายในของผู้หญิงเป็นเรื่องซับซ้อน และโรคสมัยนี้ ทันสมัย มีโรคแปลกๆ เยอะ ผู้หญิงควรให้ความสำคัญ เมื่อเป็นอะไรเกี่ยวกับภายใน ควรเดินเข้าไปหาหมอ เพราะมันเป็นความปลอดภัยของชีวิตเรา สำหรับปิ่น ตอนนี้ ไม่กลัวหมอสูติแล้ว เป็นอะไรนิดอะไรหน่อยก็อยากจะไปหาตลอดเวลา เพราะไปหาแล้วสบายใจ" การหาหมอสูติไม่ใช่เรื่องของความกล้าหาญ แต่เป็นเรื่องของการ รักตัวเอง เพื่อให้ตัวเองมีชีวิตอยู่อย่างคนที่มีสุขภาพดี

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน

เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน
เขิน...สาวๆ ทำใจอย่างไร เมื่อต้องตรวจภายใน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook