ประวัติไม่ธรรมดา เรือนแม่ชบา ละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” นานนับ 10 ปีสะสม 8 เดือนประกอบเสร็จ งบ 22 ล้าน

ประวัติไม่ธรรมดา เรือนแม่ชบา ละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” นานนับ 10 ปีสะสม 8 เดือนประกอบเสร็จ งบ 22 ล้าน

ประวัติไม่ธรรมดา เรือนแม่ชบา ละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” นานนับ 10 ปีสะสม 8 เดือนประกอบเสร็จ งบ 22 ล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังละครเรื่องทองเอก หมอยา ท่าโฉลง ออนแอร์ไปได้เพียงไม่กี่ตอนก็เรียกเรตติ้งละครหลังข่าวให้กับช่อง 3 แบบชวนให้นึกถึงบุพเพสันนิวาส ละครที่เคยสร้างประวัติศาสตร์กวาดเรตติ้งสะท้านฟ้า และทำให้คนไทยกลับมาสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยอีกครั้ง

สำหรับทองเอก หมอยา ท่าโฉลงนั้นเป็นละครพีเรียดคอมเมดี้ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ซึ่งก็กลายเป็นอีกความรู้น่าสนใจสอดแทรกให้คอละครดูละครไปแบบได้ทั้งสาระและความบันเทิง นอกจากความน่าสนใจของการแพทย์แผนไทย การแต่งกาย นักแสดงและการแสดงแล้ว เชื่อว่าคนดูละครหลายคนสนใจเรื่องโลเคชั่น และคงอยากทราบว่าเรือนแม่ชบา ซึ่งเป็นเรือนไทยหลังใหญ่ในละครนั้นแท้จริงแล้วเรือนไทยหลังดังกล่าวอยู่ที่ไหน และเป็นเรือนไทยของใคร

Sanook! Home มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณวีระศิล์ป ธาราศิลป์ เจ้าของเรือนไทยหลังงามที่แท้จริงแล้วชื่อว่าเรือนไทยสายน้ำ จามจุรี คุณวีระศิลป์ผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ไทย เล่าให้ฟังถึงที่มาของเรือนไทยหลังนี้ว่าเป็นเรือนหมู่ไทยภาคกลางที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เรือนหมู่หลังนี้เกิดจากการประกอบกันขึ้นของเรือนพ่อ เรือนแม่ และเรือนลูก โดยเรือนแต่ละส่วนนั้นต่างที่มา บริเวณกลางเรือนเรียกว่าเรือนพ่อ เรือนแม่ ซึ่งคุณวีระศิลป์ได้ทั้งสองเรือนนี้มาจากการซื้อเรือนโบราณจากตระกูลไตรปักษ์ แต่เดิมเป็นเรือนแพ แล้วย้ายขึ้นมาปลูกอยู่บนบก หลังวัดเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยาซึ่งเป็นบ้านเกิดของคุณวีระศิลป์เอง ตอนซื้อมาบ้านมีความสมบูรณ์ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ อีก 50 เปอร์เซ็นต์คุณวีระศิลป์ต้องระดมจ้างช่างฝีมือมาซ่อมแซมและทำขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม จนสมบูรณ์สวยงาม

ส่วนเรือนลูกซึ่งสังเกตได้จากละครก็คือบริเวณเรือนที่มีซี่กรงเหล็กนั้น ตอนเริ่มสะสมคุณวีระศิลป์ได้ส่วนนี้มาจากเรือนมุกดา อรุณโชติซึ่งอยู่หลังวัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยาเช่นกัน เป็นเวลาหลายปีที่เขาค่อยๆ สะสมส่วนต่างๆ ของเรือนไทย รวมไปถึงข้าวของ เครื่องใช้โบราณ จนกระทั่งมีความพร้อมจึงเริ่มหาช่างผู้เชี่ยวชาญมาประกอบหรือปรุงเรือนหมู่หลังนี้ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาตามความตั้งใจ

>> เรือนหมอยา ละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” แท้จริงคือรูปแบบเรือนทาสในอดีต

แม้ช่วงแรกไม่ต้องการใช้เป็นโลเคชั่นถ่ายละคร แต่เมื่อกองละครติดต่อเข้ามาคุณวีระศิลป์มองว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนรุ่นหลังได้เห็นอารยะธรรมความเป็นไทยในอดีต จึงอนุญาตให้ใช้เรือนไทยหลังนี้เป็นโลเคชั่นถ่ายหลัง ถ่ายละคร ฯลฯ เรื่อยมา

สำหรับพื้นที่ประกอบเรือนหมู่หลังนี้ตั้งอยู่บนที่ดินส่วนตัวริมน้ำ 7 ไร่ ที่คุณวีระศิลป์ซื้อเก็บไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน เป็นที่ดินริมน้ำ เรียกว่าครบตามองค์ประกอบของเรือนไทยริมน้ำแบบโบราณ กว่าเรือนหมู่หลังนี้จะเสร็จเรียบร้อยใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 8 เดือน เพราะบางชิ้นส่วนที่เสียหายต้องซ่อมทีละชิ้น และการหาช่างทำงานกับช่างที่มีความเชี่ยวชาญนั้นก็ยังเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคุณวีระศิลป์

ความพิถีพิถันของการประกอบเรือนหลังนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การลงเสา เสาทุกต้นของเรือนหมู่เป็นเสาทั้งต้นแบบไม่ตัดต่อ จากนั้นเทพื้น แล้วนำเสามาตั้งบนเหล็กเพื่อล็อค ในระหว่างการประกอบเรือนพบเจอปัญหามากมายทั้งเรื่องราคาไม้ที่บางครั้งราคาขึ้นสูง ได้ช่างที่ทำงานไม้ไม่เก่ง ส่วนโครงหลังคากับพื้นนั้นต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด โดยเลือกใช้ไม้แดงกับส่วนหลังคาเพราะคำนึงถึงความคงทนต้องตากแดด ตากลม ตากฝน ส่วนพื้นเรือนเป็นไม้สักทั้งหมด

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วจึงได้รู้ว่าเรือนหมู่ไทยหลังนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่โลเคชั่น หรือบ้านว่างเปล่าที่รอการนำข้าวของเครื่องใช้จากละครเรื่องต่างๆ มาเติมสีสันให้เท่านั้น เพราะส่วนประกอบทั้งของเรือนพ่อ เรือนแม่ และเรือนลูกนั้นล้วนมีเรื่องราวและที่มาน่าสนใจ ไม่นับอายุของเกิน 100 ปีขึ้นไปของแต่ละเรือนเท่านั้น แค่เพียงเห็นเรือนหลังนี้ก็ตราตรึงถึงคุณค่า ความตั้งอกตั้งใจของเจ้าของเรือนที่ต้องการส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้กับคนรุ่นหลัง

>>ผู้จัดฯ "ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง" แจงที่มาพล็อตละคร ไม่ได้ลอกซีรีส์เกาหลี

>>มาละเหวย! “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” เปิดตัวแรง ฮาเรตติ้งพุ่ง

>>ส่องฟีดแบ็กตอนแรก “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” ฮาเต็มขั้น ลั่นเต็มจอ!

>>“คิมเบอร์ลี่” แจงดราม่า ทองเอก หมอยาท่าโฉลง ถูกมองเนื้อเรื่องลอกซีรีส์เกาหลี หมอโฮจุน

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ ประวัติไม่ธรรมดา เรือนแม่ชบา ละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” นานนับ 10 ปีสะสม 8 เดือนประกอบเสร็จ งบ 22 ล้าน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook