“ PAD Banana Leaf Product ” เปลี่ยนใบตองเป็นของชิ้นใหม่ ใช้และตกแต่งบ้านเก๋ เก๋

“ PAD Banana Leaf Product ” เปลี่ยนใบตองเป็นของชิ้นใหม่ ใช้และตกแต่งบ้านเก๋ เก๋

“ PAD Banana Leaf Product ” เปลี่ยนใบตองเป็นของชิ้นใหม่ ใช้และตกแต่งบ้านเก๋ เก๋
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เห็นผลิตภัณฑ์จากใบตองเหล่านี้แล้วถึงกับต้องทึ่งในความคิดสร้างสรรค์นำใบตองแห้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นของใช้ ของตกแต่งดีไซน์แปลกตาน่าสนใจ คุณพัชรียา แฟงอ๊อด เจ้าของแบรนด์ ผู้เริ่มต้นทำโปรเจคนี้ตั้งแต่ตอนศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 เพราะเห็นมูลค่าอีกด้านหนึ่งของกล้วย โดยเธอเลือกหยิบใบตองมาเป็นวัตถุดิบหลัก

คุณพัชรียา แฟงอ๊อด คุณพัชรียา แฟงอ๊อด

ต้นกล้วยมีประโยชน์ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นรากกล้วย ใบกล้วย ผลกล้วย หัวปลี ฯลฯ สำหรับคุณพัชรียานั้นมองเห็นความสำคัญของใบตองแห้งที่เธอมักเห็นปล่อยไว้และตกมาบนพื้นดินจนเป็นปุ๋ยหลังผ่านการย่อยสลาย ซึ่งทำให้เธอคิดว่ามันค่อนข้างไร้ประโยชน์ ดังนั้นเธอจึงคิดปลุกชีวิตใบตองแห้งให้มีชีวิต และมีมูลค่าอีกครั้ง

จากนั้นเธอจึงเริ่มทดลองด้วยการทดสอบใบตองแห้งกับสารเคมีต่างๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ แถมยังอาจส่งผลเสียตามมา คุณพัชรียาจึงมองย้อนกลับไปที่วิธีการดั้งเดิมที่นำใบตองมารองเตารีดเพื่อให้น้ำมันระเหยขึ้นมาไม่ติดเสื้อผ้า นั่นจึงทำให้เธอพบว่าจริงๆ แล้วใบตองแห้งไม่ได้แห้งจริง มีแค่ส่วนของน้ำที่หายไป แต่ส่วนของน้ำมันที่ระเหยออกมาเคลือบผิวกลับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ใบตองแห้งเหล่านี้กลับมามีมูลค่าอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ต้องนำใบตองแห้งไปอบกำมะถันหรือเคลือบด้วยสารเคมีต่างๆ

เมื่อผ่านการคิดลองผิดลองถูกอยู่สักระยะหนึ่งกระเป๋าใส่แล็ปท็อป ที่ใส่มือถือ สมุดบันทึก สินค้ากลุ่มแรกก็เกิดขึ้น ก่อนจะตามมาด้วยของตกแต่งบ้าน ปลอกหมอนอิง โคมไฟ แจกัน นอกจากนั้นยังมีการนำใบตองแห้งผสมกับวัสดุประเภทอื่นโดยผ่านวิธีการอัดแข็ง วางแพทเทิร์นให้ออกมาเป็นแนวกราฟิก งานที่ได้จากใบตองแห้งโดดเด่นด้วยเฉดสีธรรมชาติ ถ้าโดนน้ำฝนใบตองแห้งอาจจะเป็นสีเข้ม ถ้าแห้งเร็วจะออกเป็นสีเขียวเข้ม หรือกล้วยบางพันธุ์จะให้สีเหลือง ดังนั้นสีจากใบตองแห้งจึงมีระดับความเข้ม-อ่อนแตกต่างกัน และทำให้แต่ละชิ้นงานโดดเด่นมีชิ้นเดียวในโลก ส่วนการออกแบบเจ้าของยังปรับเปลี่ยนไปตามกระแสนิยม

ต้นกล้วยกว่า 100 สายพันธุ์ในประเทศไทยถูกนำมาใช้ ซึ่งสินค้าแบรนด์นี้มีความโดดเด่นตรงที่เป็นสีธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี นอกจากนั้นยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เพิ่มจำนวนขยะ ทุกส่วนของผลิตภัณฑ์ย่อยสลายได้ ส่วนใหญ่ชาวต่างชาติจะให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์มากกว่าคนไทย และงานที่สั่งทำจะเป็นโปรเจคของโรงแรม นำวัสดุของแบรนด์ไปทำเมนูของใช้ภายในห้องพัก

และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการนำสิ่งของที่เห็นใกล้ตัวมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ในตอนท้ายคุณพัชรียายังแนะนำให้คนที่อยากสร้างแบรนด์ลองมองถึงสิ่งที่ตนสนใจ และเริ่มทดลอง อย่าท้อ ขอแค่ให้มีความตั้งใจ และเชื่อมั่นในตัวเอง สร้างความแปลกใหม่ให้งานเสมอ เพราะการสร้างแบรนด์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ยากเกิน ควรหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม หรือทดลองให้เพื่อนๆ ใช้ก่อนเพื่อดูว่ามีความเสียหายหรือต้องปรับปรุงอะไรบ้าง

 

 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ “ PAD Banana Leaf Product ” เปลี่ยนใบตองเป็นของชิ้นใหม่ ใช้และตกแต่งบ้านเก๋ เก๋

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook