คุณพระ เจ้าของบ้านเช่าตาย ทำไงดี

คุณพระ เจ้าของบ้านเช่าตาย ทำไงดี

คุณพระ เจ้าของบ้านเช่าตาย ทำไงดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวอกของคนเช่าบ้าน ในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ดเช่นนี้ ดูเหมือนทุกอย่างจะแพงไปหมด ยิ่งหากเลือกโซนทำเลในเมือง ใกล้รัศมีเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยแล้ว ราคายิ่งสูงปรี้ดทะลุปรอทแตก แถมเจ้ากรรมดันแจ๊คพอตเจอเจ้าของบ้านมหาโหดเข้าอีก ชนิดต้องอดทนกับสภาวะกดขี่ข่มเหงต่างๆ นานา หรือโชคดีอาจเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด เจ้าของบ้านเกิดดันเสียชีวิต จากไปอย่างไม่ร่ำลา คุณพระ! ฐานะผู้เช่าตัวน้อยนี้จะเป็นเช่นไร สัญญาเช่าที่เคยทำไว้กลายเป็นโมฆะหรือไม่ คำถามเหล่านี้ต่างวนเวียนอยู่ในหัว ต่อไปนี้หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเหล่านี้ขึ้น อันดับแรกขอให้ตั้งสติ แล้วรับมือกับกระบวนความรู้ด้านกฎหมายที่รู้ไว้ จะได้ไม่ต้องตกใจเป็นกระต่ายตื่นตูมเก้อ

วันดี คืนดี เจ้าของบ้านที่เราจ่ายเงินค่าเช่าอยู่ทุกเดือน กับลาโลกจากไปอย่างไม่ร่ำลา แล้วอย่างนี้ในฐานะผู้เช่า สัญญาเช่าที่เคยทำไว้จะมีการระงับหรือไม่ ในทางกฎหมายสามารถตอบได้ทันทีว่า ผู้ให้เช่าถือว่าเป็นบุคคลที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญาเช่า ดังนั้นแม้ผู้ให้เช่าเกิดตาย สัญญาเช่าที่ทำไว้เมื่อครั้นมีชีวิตอยู่จะไม่มีถูกระงับได้ โดยผู้ที่มารับช่วงต่อจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่าซึ่งได้รับเป็นมรดกนั้นมา

ผู้ที่มารับช่วงต่อ แล้วรับหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือลูกหลานมารับมรดกแทน นั้นมีเพียงสิทธิในการบริหารจัดการบ้านเช่าหลังงามได้อย่างเต็มที่ แต่ไม่มีอำนาจในการคัดผู้เช่าออก ตามที่กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุไว้ นอกเหนือจากเกิดเหตุการณ์ผู้เช่าทำผิดกฎระเบียบตามที่ระบุสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าได้ โดยต้องบอกล่วงหน้าให้ผู้เช่าเตรียมใจล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน เป็นต้น

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด หรือเจ้าของบ้านเช่าคนใหม่ เกิดใจดีอย่างเปลี่ยนแปลงค่าเช่า ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง จำเป็นต้องมีการประกาศเรียกคุยระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า เพื่อตกลงยินยอมกันทั้งสองฝ่าย โดยไม่สามารถทำตามอำเภอใจได้ทันที

ข้อควรรู้: เมื่อคิดจะเช่าบ้าน นอกจากจะพินิจพิเคราะห์ถึงตัวบ้าน รายละเอียดต่างๆ แล้ว หนังสือหรือสัญญาเช่า ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากวันดีคืนดี เจ้าของบ้านเจ้ากรรมดันเสียชีวิต หรือมีข้อพิพาทต่างๆ เกิดขึ้น สัญญาจะกลายเป็นเกาะป้องกันให้สามารถฟ้องร้อง เรียกผลประโยชน์ในฐานะผู้เช่าตามกฎหมายได้ โดยขอให้พึงระลึกเสมอว่าสัญญาเช่าส่วนใหญ่จะกำหนดไม่ให้มีอายุนานเกิน 30 ปี

แหล่งข้อมูลอ้างอิง หนังสือกฎหมายใกล้ตัว ไม่รู้...ไม่ได้!! เล่ม 2 

เรื่องข้างต้นเขียนโดย อารยา ศิริพยัคฆ์ Content Writer ประจำเว็บไซต์ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ araya@ddproperty.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook