สัตวแพทย์แนะวิธีดูแลหมา-แมวในคอนโด
อ.น.สพ. ชัยยศ ธารรัตนะผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำการเลี้ยงสัตว์ในคอนโดหรือในห้องพักที่มีพื้นที่จำกัดว่า
1.ควรเลือกสัตว์เลี้ยงให้เหมาะกับขนาดพื้นที่โดยเลือกสัตว์ตัวเล็กๆ
2.ต้องหมั่นสังเกตและตัดเล็บสัตว์เลี้ยงให้สั้นอยู่เสมอสัตว์ ที่เลี้ยงในคอนโดเล็บจะยาวกว่าปกติ เพราะพื้นคอนโดเป็นไม้เป็นพื้นแบบลื่นฉะนั้นสัตว์จะไม่ได้ฝนเล็บตามธรรมชาติ ต่างจากสัตว์ที่เลี้ยงตามบ้านที่ได้ออกไปเดินพื้นคอนกรีตได้ฝนเล็บตามธรรมชาติ
3.ต้องให้ความรักความเอาใจใส่ ต้องมีกิจกรรมกับเขาเพราะสัตว์ที่ถูกทิ้งไว้คนเดียวจะขาดความอบอุ่น เกิดความเครียด จะเลียตัวเองแทะตัวเองเหมือนที่คนกัดเล็บตัวเอง
4.ต้องหาเวลาพาเขาออกไปออกกำลังกายไป เจอสังคมเพื่อให้เขามีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เราอาจจะคิดว่าการโยนลูกบอลเล่นในห้องเพียงพอแล้วแต่ต้องอย่าลืมว่าพื้นลื่น มันทำให้ขาลื่นออกบ่อย ๆ ฉะนั้นต้องพยายามดูแลพื้นไม่ให้ลื่นเพื่อไม่ให้มีปัญหาโรคข้อและกระดูก
5.ต้องดูแลรักษาความสะอาดสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่พาสัตว์เลี้ยงออกไปข้างนอกไม่ว่าจะเป็นการพาไปโรงพยาบาล ไปเดินเล่น ไปตัดขน ก็เป็นโอกาสที่เขาจะติดเห็บและหมัดกลับมาที่ห้องต้องดูด้วยว่าที่ไหนปลอดภัย หรือที่ไหนเสี่ยงที่จะติดเห็บหมัดหรือถ้าพาออกไปสม่ำเสมอต้องให้ยาควบคุม ป้องกันเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ
6.เรื่องสภาพอากาศเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังและดูแล ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ พันธุ์ของสัตว์ที่เลี้ยง สุนัขพันธุ์ที่มีหน้าสั้นขนสองชั้น หรือขนหนามาก ๆ เช่น พันธุ์ปอมเมอเรเนียน ไซบีเรียนฮัสกี้ซึ่งเป็นสุนัขที่มีถิ่นกำเนิดมาจากเมืองหนาวไม่คุ้นเคยกับ อากาศร้อนในบ้านเรา เพราะฉะนั้นถ้าจะเลี้ยงต้องมั่นใจว่าอากาศถ่ายเทได้สะดวกไม่ร้อน และไม่แนะนำให้ทิ้งสัตว์เลี้ยงไว้ในห้อง เพราะสัตว์ไม่มีการระบายอากาศออกทางเหงื่อเหมือนคนสัตว์ถ่ายเทความร้อนออก จากร่างกายโดยการหายใจเอากาศเข้าไป ถ้าอยู่ในที่ที่อากาศร้อนจะเสี่ยงมากต่อการเสียชีวิตฉะนั้นถ้าต้องทิ้งสัตว์ เลี้ยงไว้ลำพังแต่ไม่อยากเปิดแอร์ทิ้งไว้ก็ไม่ควรเลี้ยงสุนัขพันธุ์ที่มีขน หนา
7.ให้สังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง เพราะ สัตว์อาจจะมีโอกาสแพ้ข้าวของเครื่องใช้เขาอาจแพ้ของใช้ของเขาเอง เช่น ชามอาหารที่เป็นพลาสติก สังเกตได้โดยดูว่ามีผื่นแดงรอบปากหรือไม่ถ้าเขาแพ้ชามอาหารพลาสติกให้ เปลี่ยนมาใช้ชามสแตนเลสแล้วจะหาย และอีกอย่างที่คนมักจะเข้าใจผิดคือแชมพู สบู่ที่คนใช้ได้ ก็ควรจะใช้กับสัตว์ได้เช่นกัน ซึ่งความจริงแล้วอะไรที่ดีสำหรับคนแล้วจะดีสำหรับสัตว์เสมอไปเพราะคนกับ สัตว์มีความต่างกัน ความเป็นกรดด่างของผิวไม่เท่ากัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์โดยเฉพาะ