ยาแนวกระเบื้อง เรื่องควรรู้สำหรับคนรักบ้าน

ยาแนวกระเบื้อง เรื่องควรรู้สำหรับคนรักบ้าน

ยาแนวกระเบื้อง เรื่องควรรู้สำหรับคนรักบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อพูดถึงพื้นและผนังกระเบื้อง หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับ “ยาแนวกระเบื้อง” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่มาคู่กับกระเบื้องและมีความสำคัญต่อความสวยงาม ความทนทาน และความน่าอยู่ของบ้าน แต่ทราบหรือไม่ว่า ยาแนวกระเบื้องเป็นวัสดุอะไร ใช้ทำอะไร และมีประโยชน์อะไรบ้าง มาทำความรู้จักกับวัสดุที่สำคัญนี้กันเลย

ยาแนวกระเบื้องคืออะไร

เราจะเห็นได้ว่ามีร่องระหว่างแผ่นกระเบื้อง ส่วนที่ปิดร่องนี้เองคือยาแนวกระเบื้อง ซึ่งเป็นซีเมนต์ที่ใช้เติมเต็มช่องว่างระหว่างกระเบื้อง บางคนเรียกว่า “กาวยาแนวกระเบื้อง” “ปูนยาแนวกระเบื้อง” หรือ “ยาแนว” มีลักษณะเป็นผงและมีหลายสี เมื่อจะใช้งาน ต้องนำมาผสมน้ำ หรือบางยี่ห้อกำหนดให้ต้องผสมทรายด้วย

ความสำคัญของยาแนวกระเบื้อง

นอกจากอุดรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้องแล้ว ยาแนวกระเบื้องยังใช้สำหรับเชื่อมแผ่นกระเบื้องเข้าด้วยกัน และมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้

  • จัดแต่งกระเบื้องให้เรียงกันอย่างสวยงาม กระเบื้องบางแผ่นอาจมีขนาดที่คลาดเคลื่อนเล็กน้อย เมื่อนำมาวางต่อกัน จะสามารถเห็นขนาดที่ไม่เท่ากันและไม่ตรงเป็นแนวตามที่ต้องการได้ การใช้ยาแนวกระเบื้องเชื่อมระหว่างกระเบื้องจะช่วยปรับให้ดูเรียงกันเป็นแนวเรียบร้อยและสวยงาม
  • ป้องกันฝุ่น น้ำ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก รวมถึงเชื้อโรคไม่ให้เข้าไปร่องระหว่างกระเบื้อง
  • ปกป้องพื้นปูนซีเมนต์ที่อยู่ใต้กระเบื้องจากการผุกร่อนอันเนื่องมาจากตัวกระตุ้นทางสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ฝุ่น สารเคมี

ประเภทยาแนวกระเบื้องยาแนวกระเบื้องธรรมดา

เหมาะสำหรับใช้กับงานพื้นและผนังกระเบื้องทั่วไป มีราคาถูกกว่าประเภทอื่น แต่มีข้อเสียคือ ไม่ป้องกันเชื้อราดำ จึงไม่เหมาะกับพื้นหรือผนังนอกอาคาร รวมถึงห้องที่มักเปียกชื้นหรืออยู่ใกล้ความชื้น เช่น ห้องน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ

ยาแนวกระเบื้องกันเชื้อรา

เหมาะสำหรับใช้งานกับพื้นและผนังทั่วไปเช่นกัน แต่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ยับยั้งการเกิดเชื้อรา เช่น สารไมโครแบน แม้มีราคาแพงกว่ายาแนวกระเบื้องประเภทแรก แต่เพื่อสุขอนามัยและการดูแลรักษาความสะอาดที่ง่ายขึ้น ก็นับว่าคุ้มค่าที่จะใช้ โดยเฉพาะกับพื้นที่ภายนอกอาคารและห้องที่มักเปียกชื้น

ยาแนวกระเบื้องร่องเล็ก

มีลักษณะเหลวมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถไหลตัวเข้าไปตามร่องขนาดเล็กระหว่างกระเบื้องได้ดี จึงเหมาะกับงานปูกระเบื้องที่จำเป็นต้องให้ชิดกันมาก เช่น กระเบื้องแผ่นใหญ่ กระเบื้องที่ทำจากหินธรรมชาติ

ยาแนวกระเบื้องร่องใหญ่

มีลักษณะเป็นเนื้อหยาบ เพื่อเติมเต็มพื้นที่ได้มากขึ้น โดยเหมาะกับงานปูกระเบื้องที่มีร่องยาแนวขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกระเบื้องที่หดตัวมากอย่างกระเบื้องหินเผา

ยาแนวกระเบื้องทนแรงอัดแรงดันน้ำ

มีคุณสมบัติทนแรงดันน้ำได้ดี พร้อมทนคลอรีน เพื่อใช้กับสระว่ายน้ำ บ่อน้ำ สปา และซาวน่า

ยาแนวกระเบื้องอีพ็อกซี่

เป็นยาแนวกระเบื้องคุณภาพสูงที่สุดและราคาแพง เพราะกันฝุ่นและน้ำได้ดีเยี่ยม ตลอดจนทนทานแรงดันน้ำและสารเคมีทั้งกรดและด่าง จึงเหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความคงทนและความสะอาดมากเป็นพิเศษ เช่น สระว่ายน้ำ โรงงาน

ยาแนวกระเบื้องสำเร็จรูป

หรือยาแนวกระเบื้องแบบหลอด มีลักษณะเนื้อเหลวและสามารถบีบยาแนวมาใช้ได้ทันที นับว่าสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ซึ่งนิยมนำมาใช้ซ่อมแซมร่องยาแนวกระเบื้องเก่าที่ดำหรือหลุดล่อน แต่เนื่องจากไม่ทนน้ำและหดตัวสูง จึงไม่สามารถใช้ทำแนวกระเบื้องใหม่ได้ หมายความว่า งานปูกระเบื้องใหม่นั้นต้องใช้ยาแนวกระเบื้องประเภทในข้างต้นที่มีลักษณะเป็นผงและต้องผสมน้ำก่อนใช้งาน

ส่วนใหญ่นิยมใช้ยาแนวกระเบื้องสีขาวส่วนใหญ่นิยมใช้ยาแนวกระเบื้องสีขาว

การเลือกสียาแนวกระเบื้อง

จะเห็นได้ว่าตามอาคารสถานที่ทั่วไป ส่วนใหญ่ใช้สีขาวหรือเทา แต่จริง ๆ แล้วปัจจุบันมีสีสันให้เลือกมากมาย โดยหลักการเลือกมีดังนี้

  • เน้นความสะอาด ควรเลือกสีขาวเพื่อให้สามารถเห็นสิ่งสกปรกได้ง่ายและรีบทำความสะอาด
  • เน้นสวยเรียบและกลมกลืน ควรเลือกสีโทนเดียวกับกระเบื้อง ซึ่งจะช่วยทำให้สบายตา
  • เน้นสวยมีมิติ ควรเลือกสีที่ตัดกับสีกระเบื้อง ซึ่งจะทำให้เส้นแนวกระเบื้องดูโดดเด่นและพื้นดูมีลูกเล่น

การเลือกขนาดและจำนวนร่องยาแนวกระเบื้อง

เนื่องจากยาแนวกระเบื้องเป็นซีเมนต์ จึงทำให้สิ่งสกปรกติดได้ง่ายกว่ากระเบื้อง ยิ่งมีขนาดและจำนวนร่องยาแนวกระเบื้องมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดความสกปรกและต้องดูแลทำความสะอาดมากขึ้นด้วย จึงไม่แนะนำให้พื้นที่ที่สกปรกง่ายมีร่องยาแนวขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก

แม้ร่องแนวกระเบื้องเป็นเพียงเส้นเล็ก ๆ แต่ก็มีความสำคัญไม่น้อย ทั้งในด้านความสวยงาม ความสะอาด และอายุการใช้งานของพื้นและผนังกระเบื้อง และเมื่อรู้ถึงความสำคัญและการเลือกยาแนวกระเบื้องที่เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว ลองทำดู

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook