มลภาวะในบ้าน มาจากห้องไหนบ้าง และเราจะดูแลป้องกันได้อย่างไร

มลภาวะในบ้าน มาจากห้องไหนบ้าง และเราจะดูแลป้องกันได้อย่างไร

มลภาวะในบ้าน มาจากห้องไหนบ้าง และเราจะดูแลป้องกันได้อย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวันๆ หนึ่งเราสูดอากาศได้มากถึง 9,000 ลิตร และคนในปัจจุบันมักใช้เวลาอยู่ภายในอาคารบ้านเรือนประมาณ 90 % ดังนั้นอากาศมลพิษที่เราสูดหายใจเข้าไป จึงมาจากภายในอาคาร บ้านเรือน ซึ่งมลพิษเหล่านี้อาจมาจากมลพิษด้านนอกที่ผ่านเข้ามายังประตูหรือหน้าต่างที่เราเปิดไว้ รวมไปถึงมลพิษเหล่านั้นอาจเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในบ้านเช่นทำอาหาร และความร้อนในการประกอบอาหาร ขนสัตว์เลี้ยง ละอองเกสรดอกไม้ และพืชต่างๆ รวมไปถึงการใช้ผลิตภัณฑ์สีทาเล็บหรือเทียนหอมภายในบ้าน ก็สามารถปล่อยสารประกอบอินทรีย์ระเหยได้เช่นกัน

สำหรับสารหนึ่งที่เป็นอันตรายคือ สารฟอร์มาลดีไฮด์ เพราะมันสามารถเป็นมลพิษได้นานกว่าหนึ่งปี และสารนี้มาจากเครื่องใช้ในบ้านหลายอย่างในชีวิตประจำวัน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไม้อัด น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาทำความสะอาด พรม ผ้า บุหรี่ เครื่องสำอาง สีทาบ้านและสารเคลือบเงาเป็นต้น อย่างไรก็ตาม สารฟอร์มาลดีไฮด์เหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครั้งเดียว แต่สารเหล่านี้สามารถอยู่ได้นานถึง 3 ถึง 15 ปี ตามที่คนจีนได้ศึกษามา โดยมีการแยกว่าแต่ละห้องในบ้านนั้นสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของมลภาวะได้อย่างไรบ้าง

istockphotoistockphoto

ห้องนอน

เฟอร์นิเจอร์ไม้อัด สามารถปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์

สีทาภายในบ้าน มีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) ซึ่งจะปล่อยออกมาในรูปแบบก๊าซเมื่อแห้งแล้ว และมีแนวโน้มจะปล่อยออกมาตลอด

ผลิตภัณฑ์ผ้าต่าง ๆ มักมีสารฟอร์มาลดีไฮด์แอบแฝงอยู่ด้วย

กลิ่นเผาไหม้จากเทียนหอม สามารถปล่อยสาร VOC ออกสู่อากาศได้

istockphotoistockphoto

ห้องนั่งเล่น

มลภาวะทางอากาศภายนอก มีสาเหตุมาจากละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศในเมือง ซึ่งสามารถเข้าสู่บ้าน และติดอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของบ้านได้

เฟอร์นิเจอร์ใหม่ มีโพลิเมอร์ที่ปล่อยสาร VOC

กาวจากพื้น สามารถปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ และสารอาจคงอยู่ได้นานตลอดชีวิต

ขนแมว สุนัข และสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนอื่น ๆ สามารถแพร่กระจายได้รอบ ๆ ห้อง

พืชและดอกไม้ สามารถปล่อยละอองเกสรสู่อากาศ

 istockphotoistockphoto

ห้องครัว

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สามารถทำให้เกิดควันและกลิ่นในครัวเรือน

เตาแก๊ซและควันหุงต้ม จะปล่อยควัน กลิ่น และอนุภาคขนาดเล็กไปยังอากาศ

น้ำหอมปรับอากาศ และสเปรย์ดับกลิ่น ประกอบไปด้วยสาร VOC ซึ่งสามารถปล่อยออกมาพร้อมกับกลิ่นหอมหรือเวลาฉีดสเปรย์

บริเวณที่ชื้น อาจมีเชื้อราและปล่อยสปอร์ของเชื้อราสู่อากาศ

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นอกจากการหลีกเลี่ยงเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีวัสดุบางประเภทที่มีสารอันตรายแล้ว การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุที่ปลอดภัย การทำความสะอาดบ้านอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างพัดลมกรองอากาศที่สามารถดักจับมลพิษและกำจัดสารฟอร์มาลดีไฮด์ มอบอากาศที่บริสุทธิ์ทั่วทุกมุมห้อง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook