รู้จัก “ห้องคัดกรอง และห้องตรวจเชื้อ” โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จัดซื้อมอบโรงพยาบาลต้านโควิด-19

รู้จัก “ห้องคัดกรอง และห้องตรวจเชื้อ” โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จัดซื้อมอบโรงพยาบาลต้านโควิด-19

รู้จัก “ห้องคัดกรอง และห้องตรวจเชื้อ” โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จัดซื้อมอบโรงพยาบาลต้านโควิด-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากโพสต์ในเฟซบุ๊ก มูลนิธิชัยพัฒนา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนา ใช้งบประมาณจาก “กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 ฯ” โดยเริ่มด้วยกิจกรรมในการป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ก่อน ด้วยการจัดซื้อห้องคัดกรองและห้องตรวจเชื้อ พระราชทานแก่โรงพยาบาลต่างๆ โดยจัดรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละโรงพยาบาล

ซึ่งในลำดับแรกประกอบด้วยโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลยุพราชยะหา จังหวัดยะลา โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
ห้องคัดกรองและตรวจเชื้อดังกล่าวนี้ เป็นนวัตกรรมของ SCG HEIM และ Living Solution ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเราจะทำให้ทุกคนรู้จักเทคโนโลยีและความพิเศษของห้องคัดกรอง และตรวจเชื้อเหล่านี้

ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าโครงสร้างกว่าร้อยละ 70-80  จะถูกประกอบขึ้นรูปภายในโรงงาน ที่มีการควบคุมคุณภาพและความสะอาดตลอดกระบวนการผลิต ภายในห้องถูกออกแบบให้มีระบบและความดันที่เหมาะสม  มีระบบดูดอากาศเสียออกมาฟอกใหม่ให้สะอาดก่อนปล่อยทิ้ง ทำให้ทีมแพทย์ที่อยู่ในห้องที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไป  อากาศภายในจึงบริสุทธิ์ปลอดภัย

ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจะอยู่ในห้องที่ป้องกันไม่ให้มีอากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก  เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์  ได้แก่ ระบบควบคุมแรงดัน และการหมุนเวียนของอากาศ ที่สะอาด ปลอดภัย ลดโอกาสติดเชื้อ และ ระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล (Air tightness) ที่ช่วยป้องกันฝุ่น เสียง และอากาศ เข้า-ออกตัวอาคาร

สำหรับห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) จะถูกปรับความดันอากาศให้ผลักอากาศเสียออก และเพิ่ม Bio-polar Ion เพื่อจับเข้ากับโมเลกุลของเชื้อไวรัสที่อาจหลุดรอด ซึ่งทีมแพทย์ พยาบาล จะอยู่ในห้องปิดสนิท และซักประวัติผู้ป่วยผ่านกระจกที่มีอุปกรณ์สื่อสาร

ส่วนห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit) จะแยกคนไข้มาอยู่ในห้องปรับความดันอากาศ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสฟุ้งกระจาย พร้อมใช้แสงยูวีเข้มข้นสูง ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ (UV Germicide) หลังการใช้งานห้องทุกครั้ง  ซึ่งการเก็บตัวอย่าง (Swab) จะทำผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่อง โดยแพทย์สามารถสอดมือผ่านช่องที่มีถุงมือคลุมด้วยพลาสติกเพื่อเก็บตัวอย่าง จึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการทั้งหมดจะถูกแยกเป็นส่วนย่อย ๆ (Cell) เพื่อแยกปิดได้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดการรั่วระหว่างห้องบุคลากรทางการแพทย์กับห้องผู้เข้ารับการตรวจอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook