ฮาวทูทิ้ง “วิธีเก็บบ้านผู้สูงวัยไม่ให้โดนด่า” เปลี่ยนจากห้องสุดรก ให้สะอาดโล่งและเป็นระเบียบ
หนึ่งในปัญหาบ้านรกมักจะมาจากการหวงของหรือเสียดายของเก่าของผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในบ้าน เนื่องจากพวกเขามักคิดว่าของเก่านั้นจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ถุงพลาสติก กล่องของขวัญ ฯลฯ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งของเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกใช้งาน และก็กลายมาเป็นของเกินจำเป็นที่รกอยู่ในบ้าน ส่งผลให้บ้านดูไม่น่าอยู่ และหลายคนที่คิดจะเก็บของเหล่านั้นไปทิ้ง ก็มักจะต้องทะเลาะกับผู้สูงวัยในบ้านเพราะพวกเขาไม่ต้องการให้เราเอาของไปทิ้ง
วันนี้ ในบ้าน ก็มี วิธีเก็บบ้านผู้สูงวัยไม่ให้โดนด่า มาฝากเพื่อนๆ กัน เป็นประสบการณ์จริงจากคุณ แก้วหนึ่งใบกับเบียร์สองขวด น้องสะใภ้คนหนึ่งที่ได้ทำการลงมือเก็บกวาดบ้านของพี่สาวสามีอายุ 60 กว่าปี จากเดิมเป็นห้องที่รกรุงรังและเต็มไปด้วยของเหลือใช้ต่างๆ กลายมาเป็นห้องที่โล่งกว้างน่าอยู่กว่าเดิม เรื่องราวจะเป็นยังไงนั้น ไปติดตามกันได้เลยครับ
ฮาวทูทิ้ง “วิธีเก็บบ้านผู้สูงวัยไม่ให้โดนด่า” เปลี่ยนจากห้องสุดรก ให้สะอาดโล่งและเป็นระเบียบ
(บทความโดยคุณ แก้วหนึ่งใบกับเบียร์สองขวด)
นี่คือสภาพก่อนการเก็บกวาด
ความที่ครัวของบ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างฝางงงงงงง มากก ทั้งที่จริงๆอยู่ 1-2 คนเท่านั้นเอง สว อายุ 60 กว่าๆที่ชอบทำอาหาร/ ขนม แต่ไม่ชอบเก็บ
บ้านที่มีทั้งครัวไทยด้านนอก เคาน์เตอร์ด้านในที่พื้นที่ใหญ่พอจะทำสนามแบดมินตันได้ เอาจริงๆพื้นที่ขนาดนี้นอกจากจะเมื่อยจากการเดินจากจุด A ไปจุด B แล้ว ส่วนตัวเรายังคิดว่าเป็นภาระต่อการทำความสะอาดบ้านมากถึงมากที่สุด (แม้จะมีลูกน้องทำให้อาทิตย์ละ 1 ครั้งก็เถอะนะ)
บ้านที่มีอายุมาประมาณ 14 ปีก็รกตามอายุการใช้งานและบนพื้นฐานของเจ้าของบ้านที่ชอบ ” เก็บ ” ทุกอย่างที่ผ่านการใช้งานมาไว้เพื่อ “เผื่อ” ว่าจะได้ใช้อีก
เช่น กระปุกขนมของฝาก ขวดแก้วกาแฟที่หมดแล้ว ขวดเล็กขวดน้อย ขวดซุปไก่ ขวดนม กระปุกกะปิ กล่องขนมที่กินหมดแล้ว แก้วโยเกิร์ต ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติกเพื่อไว้ใช้ใส่ขยะ แผ่นโฟมที่มาจากถาดหมากพลู (ไหว้พระ) กันกระแทกจากสาลี่ แอปเปิ้ล ตะเกียบในซองกระดาษ ถุงจากร้านขนม ถ้วยโถโอชามที่มีระดับเปิดร้านอาหารได้จำนวน 20 โต๊ะ หม้อ ทัพพี มีด แก้วเล็ก น้อย ใหญ่ กลาง เหยือกน้ำพลาสติก กระปุกชา วัตถุดิบสำหรับทำขนม ที่หมดอายุ และอื่นๆ ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งมวลที่ว่าไป คือของในนั้นมีมากกว่าร้านโชว์ห่วยแถวบ้านอีกจ้า โอ้ย
แล้วปฎิบัติการ How to ทิ้ง ของเราก็มาทันที เพราะเราเจอ “ขี้หนู” บนโต๊ะกินข้าว !!!!!
เอาล่ะจะโดนด่าก็ยอม เพราะทนเห็นสภาพนี้ไม่ได้ละนะ ไม่ดีต่อสุขภาพกายและจิตของเรามาก (เราต้องเข้าไปทำงานที่บ้านนี้ทุกวันจันทร์-อังคาร ปกติก่อนหน้านี้ไม่ค่อยได้เข้าไปเท่าไรค่ะ)
ว่าแล้วเราก็เอ่ยปากขอ “เก็บ” บ้านให้นะ ทนไม่ได้ละ และขอสิทธิ์ขาดในการรื้อ จัด ทิ้ง ทุกอย่างตามสมควรของเราเพียงผู้เดียว
และบอกเค้าว่าไม่ต้องเข้าไปดูนะเพราะเราชอบทำงานคนเดียว บางอย่างที่สำคัญๆ จะถามก่อนทิ้งทุกครั้ง เพราะถ้าเค้าเข้ามาอยู่ตรงที่เราเก็บเค้าจะทำใจทิ้งของไม่ได้เสียดายจะเก็บอีก คนเก็บแบบเราจะหมดพลังเอาได้ ไม่อยากทำอะไรแบบค้างคาไม่เสร็จและไม่อยากทะเลาะ ในการรื้อ ล้าง เก็บทุกอย่าง ถ้ามีขวาง มีว่า มีไม่พอใจ …เราจะไม่ทำไม่ฝืนใจกันมันไม่ดี
แต่เค้าบอก โอเค ยอมก็ได้ดีเหมือนกัน จริงๆ เค้าบอกเก็บเองไม่ไหวนั่นแหล่ะ
ผลจากการเก็บ
เราเจอว่าคนมีอายุส่วนใหญ่มักจะ “เสียดาย” ของจำพวกขวดแก้วเป็นพิเศษ เพราะเจอขวดแก้วจากขวดซุปไก่ รังนก และขวดอื่นๆ ได้ถึง 2 กระสอบใหญ่ๆ เพราะเค้ามีความรู้สึกว่ามันต้องได้กลับมาใช้อีกแน่
จริงๆ มันก็จริงนะคะ เพียงแต่ให้มันไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลเถอะ เราไม่ต้องเอาทุกสิ่งมาเก็บไว้ reuse เองก็ได้และรองลงมาคือ ถุงพลาสติกไว้ใส่ขยะ ขวดพลาสติก ที่เค้าคิดว่าจะ “เก็บ” ไว้ “เผื่อ” ได้ใช้งาน 10 ปีผ่านไปมันยังอยู่ที่เดิม
เราทิ้งทุกอย่างที่เห็นเป็นขยะ และของที่ไม่ได้ใช้ ส่วนของเกินความจำเป็น ของที่นานๆใช้ทีเก็บเก็บใส่กล่องเก็บเข้าห้องเก็บของ และใส่เรียงในชั้นให้เห็นชัดเจน เพื่อจะได้เห็นและหยิบใช้งานได้ง่าย ไม่ถมๆ ทับๆ อีกต่อไป สำคัญคือ เก็บไว้เฉพาะของใช้ที่ใช้บ่อย ใช้ทุกวันเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
เราเจอว่าเค้ามีแก้วสำหรับชงกาแฟประมาณ 20 ใบ แก้วที่ไม่ได้หยิบมาใช้เลยเกิน 10 ใบ และ
มีใบชาที่ไว้ชงไหว้พระได้อีกนานราวๆ 1 ปี ข้าว ธัญพืช (แหล่งอาหารของหนู) สารพัดชนิดและของแห้งบางส่วนที่หมดอายุ เพราะหาของเก่าไม่เจอก็จะซื้อของใหม่เรื่อยไป
จัดการพื้นที่ใช้งานให้เหมาะกับการทำงาน มีที่แขวนสำหรับทิ้งขยะเปียกถุงเล็ก / ขยะแห้ง ที่เต็มก็ยกไปทิ้งได้ทุกวันแบบไม่ต้องสะสม ให้หนูและแมลงสาปมาหาอาหารได้
แล้วเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเลยค่ะ กลิ่นหลังเช็ดใหม่ๆนี่ไม่ต่างจากห้องปลอดเชื้อใน รพ กันเลยทีเดียว และก็วางกับดักหนูทุกวันกะให้หมดไป จริงๆแอบมีผู้ช่วยที่มาเงียบๆ เค้าคงทำงานกะกลางคืน (ตุ๊กแกนั่นเอง)
เสร็จจากตรงนี้เราไปรื้อครัวข้างนอกต่อค่ะ ไม่ได้ถ่ายรูป เนื่องจากเจ้าของบ้านทำใจ “ทิ้ง” ไม่ลงสักอย่าง หม้อหูหัก กระทะด้ามหัก มีดที่ใช้งานจนแหว่ง ทัพพีพัง ฝาหม้อที่ไม่มีหม้อ มีแต่ฝา
ตอนนี้เราสางบ้านเค้าได้ประมาณ 60%แล้ว คิดว่าโอเคขึ้นบ้างแล้วเพราะมีพื้นที่ใช้สอยแบบ สว่าง สะอาด สบายตา สำหรับเรา แต่อาจจะไม่สบายใจที่บางอย่างที่ไม่เคยใช้หายไปบ้าง และยังเหลืออีกเยอะมากกก ที่เราไม่สามารถจริงๆ
หลังจากรื้อบ้านไป 5 วันถ้วน เสร็จไป 2 ห้อง ยังเหลือห้องนั่งเล่นที่จริงๆเราเก็บไปก่อนหน้านั้นแล้วรอบนึง (เจอกับกองถุงพลาสติกขนาดที่สามารถใส่ขยะได้ประมาณ 6 เดือน)
ห้องนอน เราไม่กล้าไปเก็บของเค้าเท่าไร บางทีเข้าไปก็แอบเก็บพวกขวดสกินแคร์ที่ใช้หมดแล้วทิ้งเหมือนกัน
สรุป
ถ้าคุณมีแนวโน้มจะอยู่คนเดียวในอนาคต อย่าสร้างบ้านหลังใหญ่เกินไป และ จงใช้ในสิ่งที่มีให้คุ้มค่า ไม่ต้องสะสม หมดค่อยซื้อใหม่
ปล. บ้านหลังนี้เป็นบ้านของพี่สาวสามีอายุ 60 กว่าๆละ เราเป็นน้องสะใภ้ที่สนิทสุดเลยกล้าที่จะทำที่จะเก็บนะคะ บ้านคนอื่นเราไม่แน่ใจนะคะว่าจะสามารถทำแบบนี้ได้มั้ย นี่ได้รับความยินยอมแต่โดยดีก่อนเก็บค่ะ
ที่มา : แก้วหนึ่งใบกับเบียร์สองขวด