เช็กสัญญาณอันตรายเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่

เช็กสัญญาณอันตรายเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่

เช็กสัญญาณอันตรายเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังคาบ้านก็เปรียบเหมือนส่วนสำคัญของร่างกาย เมื่อใช้งานไปนานวันก็ย่อมเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ซึ่งอาจนำมาพร้อมปัญหาที่ส่งผลต่อชีวิตการอยู่อาศัยภายในบ้านโดยที่เราไม่รู้ตัว จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านทั้งผืน

เมื่ออยู่อาศัยในบ้านไปนานวันจนเกิดเป็นความเคยชิน ก็อาจทำให้เจ้าของบ้านไม่ทันได้สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน อย่างปัญหาน้ำรั่วซึมฝ้าเพดาน หรือรอยคราบน้ำตามฝ้า ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติบนหลังคาบ้านที่เกิดการรั่วซึม และอาจนำมาซึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ทั้งผืน หากไม่มีการสังเกตและคอยหมั่นตรวจสอบจุดบกพร่องของหลังคาบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาในระดับโครงสร้างหลักของบ้าน บทความนี้ forfur จึงรวบรวมจุดสังเกตของปัญหาหลังคาที่อาจส่งสัญญาณเตือนถึงผู้อยู่อาศัยมาบอกต่อให้ทราบ ก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะกลายเป็นเรื่องสายเกินแก้ไข

Theallotment91Theallotment91

สาเหตุการเกิดปัญหาหลังคารั่ว โดยส่วนมากมักจะเกิดจากหลากหลายสาเหตุ โดยสามารถพอสรุปได้ดังนี้

  • กระเบื้องหลังคาแตก อาจเกิดจากการได้รับความกระทบกระเทือนจากสิ่งที่มีน้ำหนักตกใส่บนหลังคาจนเกิดเป็นร่องรอยแตกร้าว เช่น กิ่งไม้ใหญ่หรือลูกเห็บ ซึ่งอาจทำให้หลังคาเป็นรอยแตกร้าวหรือเกิดเป็นรูรั่วจนทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าสู่พื้นที่อยู่อาศัยภายในบ้าน
  • อุปกรณ์ติดตั้งหลังคาเสื่อมสภาพ เมื่อเวลาผ่านไปนานวัน บ้านที่อยู่อาศัยกลับทรุดโทรมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ติดตั้งหลังคาบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแผ่นปิดระหว่างรอยต่อ หรือกาวที่ยาแนวตามสันหลังคาเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าสู่พื้นที่ในบ้านได้เช่นกัน 
  • ติดตั้งหลังคาผิดวิธี หากมีการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐานจากทีมช่างที่มีประสบการณ์ไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้หลังคาบ้านเกิดปัญหาสะสมมาตั้งแต่เริ่มแรกจนนำมาสู่การเกิดปัญหาในภายหลังที่ยากต่อการแก้ไข เพราะอาจมีการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งหลังคาผิดประเภทไปจากเดิม

H.O.N House of NowhereH.O.N House of Nowhere

สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกปัญหาหลังคารั่วซึม

Sonbrown cafe'Sonbrown cafe'

  • หลังคาบ้านรั่วซึมในระยะแรก ช่วงเริ่มต้นของการเกิดอาการรั่วซึมจะได้ยินเสียงน้ำไหลหรือเสียงน้ำหยดกระทบกับตัวฝ้าของบ้านในขณะที่มีฝนตก และอาจเกิดเป็นคราบสีน้ำตาลตามฝ้าในภายหลัง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดูดซึมน้ำฝนของแผ่นฝ้ามาแล้วระยะหนึ่งก่อนที่จะเกิดคราบให้เห็นบนแผ่นฝ้า จึงแสดงให้เห็นได้ว่าอาจเกิดปัญหาหลังคารั่วซึมมาแล้วเป็นเวลาหลายเดือน แต่ในกรณีที่มีแต่เสียงน้ำหยดกระทบฝ้าแต่ยังไม่เห็นชัดเจนเป็นรอยคราบน้ำ ก็อาจแสดงได้ว่าปัญหารั่วซึมนี้เพิ่งเกิดขึ้นในระยะแรกเริ่ม จึงควรมีการซ่อมแซมแก้ไขอุดรอยรั่วบนหลังคาหรือเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องที่มีการแตกร้าวใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมซ้ำอีกจนทำให้ฝ้าเพดานบวมผิดรูปจนยากจะแก้ไข ในส่วนของฝ้าเพดานที่มีคราบน้ำรั่วซึมอาจซ่อมแซมด้วยการใช้สีทาปิดทับบริเวณรอยคราบน้ำเพื่อปิดร่องรอยที่ไม่สวยงาม
  • หลังคาบ้านรั่วซึมในระยะลุกลาม สำหรับบ้านที่มีปัญหาหลังคารั่วซึมมาสักระยะหนึ่งจะเกิดเป็นรอยคราบน้ำชัดเจนบนแผ่นฝ้า เพราะฝ้าเพดานไม่สามารถดูดซับน้ำฝนที่รั่วซึมลงมาได้เช่นเดิมแล้ว จึงทำให้คราบน้ำซึมเกิดเป็นร่องรอยที่ชัดเจนมากขึ้น โดยสามารถคาดเดาได้ว่าอาจเกิดปัญหาฝ้าทะลุ หรือรอยรั่วซึมลุกลามไปยังจุดอื่นมากยิ่งขึ้น หรืออาจสังเกตจุดที่หลังคารั่วซึมได้จากเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านว่ามีการบวม มีกลิ่นอับชื้น หรือมีเชื้อราขึ้นตามเฟอร์นิเจอร์ ก็สามารถบอกได้ว่าตำแหน่งที่หลังคารั่วอาจอยู่ในบริเวณเดียวกับเฟอร์นิเจอร์ที่เกิดความผิดปกติเหล่านั้น โดยควรให้ช่างที่มีความชำนาญเข้ามาตรวจสอบหลังคาทันทีว่ามีรอยรั่วที่จุดใดบ้าง แต่ในกรณีที่มีรอยรั่วบนหลังคาหลายจุด การเลือกเปลี่ยนหลังคาใหม่ทั้งผืนก็จะช่วยแก้ไขปัญหาหลังคารั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • หลังคาบ้านรั่วซึมในระยะรุนแรง หากปล่อยให้ปัญหาหลังคารั่วซึมทิ้งไว้ในระยะยาว อาจทำให้ฝ้าเพดานที่ดูดซับน้ำฝนจากหลังคาไว้ทะลุจนเป็นโพรง จนทำให้น้ำฝนที่รั่วจากหลังคาไหลลงมาตามผนังบ้าน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านมากยิ่งขึ้น หรืออาจเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้สัตว์ต่าง ๆ ทั้งนก หนู หรืองูเข้ามาภายในบ้าน ซึ่งนอกจากจะควรเปลี่ยนฝ้าเพดานในจุดที่มีปัญหารั่วซึมใหม่แล้ว ยังควรเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ เพื่อความคุ้มค่าในการซ่อมแซมบ้านที่มีปัญหาหลังคารั่วอย่างหนัก  

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ เช็กสัญญาณอันตรายเมื่อถึงคราวต้องเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook