มาสำรวจหัวใจตัวเองกันเถอะ

มาสำรวจหัวใจตัวเองกันเถอะ

มาสำรวจหัวใจตัวเองกันเถอะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หัวใจเต้นผิดปกติเป็นอย่างไร? ในขณะนั่งพักหัวใจจะเต้นประมาณ 60 80 ครั้งต่อนาที ในขณะเดินหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเป็นประมาณ 80 -100 ครั้งต่อนาทีและมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ในขณะวิ่ง หัวใจเต้นผิดปกติคืออะไร? ภาวะที่หัวใจมีอัตราการเดินเร็วหรือช้ากว่าปกติไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกายในขณะนั้น ซึ่งอาจมีจังหวะการเดินที่ผิดปกติร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดปกติอาจเป็นความผิดปกติในอัตราการเดินของหัวใจ เช่น เดินเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป หรืออาจเป็นความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจก็ได้ หัวใจเต้นผิดปกติ Cardiac Arrhythmia หัวใจเต้นผิดปกติมีอาการอย่างไร? ถ้าผู้ป่วยมีหัวใจเต้นช้าผิดปกติ จะมีอาการเด่นที่สำคัญคือร่างกายได้รับเลือดไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ถ้าเป็นน้อยก็จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นก็จะมีอาการเหนื่อยแม้ในขณะพัก ถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงจะมีอาการหน้ามืด หมดสติหรือเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้น ในรายที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จะมีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง เหนื่อยในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคหัวใจอ่อนกำลังอยู่เดิม อาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำหัวใจล้มเหลว หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักจะเกิดจากการที่มีจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจนอกจากจุดกำเนิดไฟฟ้าปกติของหัวใจ (SA node) ปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นครั้งคราวไปสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจาก SA node ทำให้รบกวนจังหวะการเต้นปกติของหัวใจ เกิดการเต้นผิดจังหวะเกิดขั้น ปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมการรักษาด้วยด้วยวิธีการจี้ เพื่อให้หายขาดและไม่ต้องกินยา ด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency Ablation) เป็นอย่างไร? การรักษาด้วยวิธีนี้ เป็นการรักษาแนวใหม่ที่ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วใน 10 ปีที่ผ่านมา การักษาชนิดนี้สามารถรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะเกือบทุกชนิดให้หายขาดได้ โดยไม่ต้องทานยาตลอดชีวิต ในอดีตการรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้เฉพาะในรายที่รักษาด้วยวิธีการใช้ยาแล้วไม่ได้ผล หรือได้ผลดีแต่มีผลข้างเคียงจากการรักษาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันด้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากได้ผลดีหายขาด มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ การรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดอยู่บ้างคือ เป็นการรักษาคล้ายการผ่าตัดเล็กจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 1 2 วัน ค่าใช้จ่ายสูงและต้องทำในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางหัวใจเต้นผิดจังหวะและมีเครื่องมือที่ทันสมัย อย่างไรก็ตามมีงานวินิจจัยแสดงให้เห็นถึงความคุ้นทุนของการรักษาด้วยวิธีนี้ในระยะยาวเมื่อเทียบกับการใช้ยา สาเหตุ..ของหัวใจเต้นผิดปกติ สาเหตุของหัวใจเต้นผิดปกติแบ่งเป็น สองส่วนคือ 1. ความผิดปกติภายนอกหัวใจ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ การใช้ยาลดความดันบางชนิดที่มีฤทธิ์ในการลดอัตราการเต้นของหัวใจในขนาดเกินไปทำให้เต้นช้า ในกรณีที่มีสาเหตุอยู่นอกหัวใจ วิธีรักษาจึงมุ่งเน้นไปที่การรักษาสาเหตุ 2. ความผิดปกติที่เกิดจากหัวใจเอง แบ่งออกเป็น 2.1. ความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจโดยไม่มีความผิดปกติของหัวใจชนิดอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมของไฟฟ้าหัวใจทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็วผิดปกติชนิดรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น โรคไหลตายเป็นต้น หรือาจเป็นหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเนื่องจากสายไฟฟ้าในหัวใจวงจรชนิด Wolff-Parkinson-White synodrome การรักษาในกลุ่มนี้มุ่งไปที่การรักษาความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจเท่านั้น 2.2. ความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจโดยที่มีความผิดปกติของหัวใจส่วนอื่นร่วมด้วย เช่น หัวใจเต้นผิดปกติร่วมกันกับภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน การรักษาในกลุ่มนี้ต้องมุ่งรักษาทั้งความผิดปกติของไฟฟ้าหัวใจร่วมกับความผิดปกติชนิดอื่นของหัวใจด้วยจึงจะได้ผลดี จะรักษา..หัวใจเต้นผิดปกติอย่างไร? อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นหัวใจเต้นผิดปกติ มีหลากหลายชนิดแต่ละชนิดมีวิธีการรักษาแตกต่างกันไป แต่พอแบ่งแนวทางการรักษาได้ดังนี้ 1. หัวใจเต้นช้าผิดปกติ แก้ไขได้โดยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ 2. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ 2.1. ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติขั้นรุนแรงยังสามารถรักษาด้วย 2.1.1. การใช้ยาต้านการเต้นผิดปกติ (antiarrhythmic agent) 2.1.2. การจี้ด้วยคลื่นวิทยุ (radiofrequency ablation) สาเหตุที่คาดว่าอาจจะก่อให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดปกติได้ 1. โรคหัวใจ โรคหัวใจทุกชนิดสามารถทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการหาสาเหตุไม่ได้ หัวใจอักเสบหรือติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ และโรคของประสาทหัวใจ 2. โรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคหัวใจ เช่น โรคของทางเดินหายใจ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานน้อยกว่าปกติ ไข้จากสาเหตุต่างๆ การตกเลือดในทางเดินอาหารเป็นต้น 3. สาเหตุภายนอกร่างกาย่น น้ำชา กาแฟ ยาบางชนิด บุหรี่ เหล้าเป็นต้น 4. หาสาเหตุไม่พบเช่น ภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ การตรวจหาสาเหตุ 1. การซักประวัติและตรวจร่างกาย 2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 3. การเจาะเลือดหาสาเหตุอื่นๆนอกหัวใจเช่น ไททรอด์ ระดับน้ำตาลและเกลือแร่ในเลือด 4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่วสูง 5. การตรวจติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่งโมง 6. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผ่านโทรศัพท์ 7. การฝังเครื่องติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 8. การศึกษาเสรีระไฟฟ้าหัวใจ www.ram-hosp.co.th

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ มาสำรวจหัวใจตัวเองกันเถอะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook