ศิริราชทดลองใช้"สเต็มเซลล์"

ศิริราชทดลองใช้"สเต็มเซลล์"

ศิริราชทดลองใช้"สเต็มเซลล์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
การประชุมวิชาการศิริราช ครั้งที่ 46 ประจำปี 2550 ที่หอประชุมกองทัพเรือ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา รศ.นพ.ดำรัส ตรีสุโกศล หัวหน้าหน่วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน ศูนย์โรคหัวใจสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โรงพยาบาลศิริราช กล่าวถึงการรักษาโรคหัวใจด้วยสเต็มเซลล์ ว่าศิริราชได้วิจัยทางคลีนิคนำสเต็มเซลล์จากไขกระดูกมารักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกับผู้ป่วย 24 ราย จากคนไข้กล้ามเนื้อหัวใจตาย 68 คน เพื่อดูว่าสเต็มเซลล์ซ่อมแซมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจได้หรือไม่ ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 18-80 ปี โดยนำสเต็มเซลล์ที่ได้รับการกระตุ้นแล้วฉีดให้กับคนไข้ และทำการฉีดซ้ำหลังจากครั้งแรก 80 วัน จากนั้นติดตามอาการทุกระยะ คือ 30,60,80,180 วัน พบว่า คนไข้มีอาการปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง ไม่มีอาการปวดหน้าอก อย่างไรก็ตาม พบว่ากล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจไม่ได้ดีขึ้น ดังนั้น การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ยังต้องวิจัยต่อไป เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคหัวใจ จากปัจจุบันที่มีวิธีรักษาแบบมาตรฐานคือ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัด รศ.นพ.ดำรัส กล่าวว่า ผลจากการฉีดสเต็มเซลล์เข้ากล้ามเนื้อหัวใจ พบว่า สเต็มเซลล์ไม่ได้แบ่งตัวเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ โดยสเต็มเซลล์แบ่งตัวเป็นเซลล์เส้นเลือดมากกว่า ทำให้ผู้ป่วยไม่เจ็บหน้าอก ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดดีขึ้น แต่เป้าหมายการรักษาต้องการให้สเต็มเซลล์แบ่งตัวเซลล์ Cardiomyocytes ภายในกล้ามเนื้อหัวใจ ขณะนี้สัดส่วนของสเต็มเซลล์ที่นำไปสร้าง Cardiomyocytes ยังต่ำกว่าการสร้างหลอดเลือด เมื่อนำสเต็มเซลล์มาใช้กับคนไข้มีอาการเจ็บหน้าอกจากอาการหัวใจขาดเลือด และยังไม่มีพังผืดที่กล้ามเนื้อหัวใจ สำหรับแหล่งกำเนิดของสเต็มเซลล์ หากได้จากสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน (Embryonic) ถือว่าคุณภาพค่อนข้างดี เพราะสเต็มเซลล์ยังเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์อื่นๆ ได้มาก แต่ยังมีข้อจำกัดด้านจริยธรรม เพราะทารกที่เกิดขึ้นแม้จะอยู่ในครรภ์ก็ถือว่า มีชีวิต การที่นำบางส่วนของทารกมาศึกษา โดยที่ทารกไม่รู้ไม่เห็นถือว่าผิดจริยธรรม อีกทั้งทารกที่เกิดใหม่นั้น บอกไม่ได้ว่า จะยินยอมให้ศึกษาได้หรือไม่ ดังนั้นจึงให้พ่อแม่เป็นผู้ยินยอมแทน "การนำสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนเท่าที่ทราบ นักวิจัยจะนำสเต็มเซลล์จากทารกที่เสียชีวิตหลังคลอด หรือใช้เลือดจากรก (Cord blood) ส่วนการใช้สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนนั้นยังล่อแหลมต่อจริยธรรมมาก โดยในประเทศที่เจริญแล้วหลายแห่งได้ยกเลิกการทำสเต็มเซลล์จากแหล่งกำเนิดนี้ไปแล้ว เพราะถูกต่อต้าน ดังนั้นสเต็มเซลล์ในเลือดจากรก จึงเป็นวิธีที่ยอมรับมากกว่า เพราะทารกจะยังมีชีวิตเติบโตต่อไปได้ เป็นการนำเลือดที่สูญเสียในการคลอดมาใช้ประโยชน์ รักษาคนไข้" รศ.นพ.ดำรัสกล่าว ยังมีโครงการวิจัยสเต็มเซลล์ในระยะที่ 2 โดยเป็นการทดลองระบบปิดสุ่ม 2 ด้าน มีกลุ่มเปรียบเทียบโดยกลุ่มหนึ่งฉีดสเต็มเซลล์ เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มใช้การรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน เมื่อมีการวิจัยระดับนานาชาติกลุ่มตัวอย่าง 1,000-2,000 คน ถึงเวลานั้นจะตอบได้ว่าสเต็มเซลล์กับการรักษามาตรฐานวิธีใดดีกว่ากัน นอกจากนี้ อนาคตนักวิจัยมีแนวคิดใช้สเต็มเซลล์ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุ นำความรู้ด้านพันธุกรรมวิเคราะห์ว่า ยีนใดทำให้เกิดโรค จากนั้นจึงทำการตกแต่งยีนด้วยสเต็มเซลล์ เป็นการปลูกถ่ายเซลล์ใหม่เพื่อฆ่าเซลล์ตัวเก่าที่ก่อให้เกิดโรค แม้ผลการวิจัยในปัจจุบันยังไม่ดีนัก แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะมีผลในเชิงบวก ++ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิดคืออะไร

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ศิริราชทดลองใช้"สเต็มเซลล์"

ศิริราชทดลองใช้\"สเต็มเซลล์\"
ศิริราชทดลองใช้\"สเต็มเซลล์\"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook