พิธีลงเสาเอกบ้าน ความหมาย ของที่ต้องใช้ และขั้นตอนทำพิธีอย่างละเอียด

พิธีลงเสาเอกบ้าน ความหมาย ของที่ต้องใช้ และขั้นตอนทำพิธีอย่างละเอียด

พิธีลงเสาเอกบ้าน ความหมาย ของที่ต้องใช้ และขั้นตอนทำพิธีอย่างละเอียด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แผนการสร้างบ้าน มีบ้านเป็นของตัวเองคงเป็นแผนสำหรับหลายๆ คน โดยเฉพาะในช่วงข้ามสู่ปีใหม่แบบนี้หลายคนตั้งเป้าจะสร้างบ้าน และการสร้างบ้านนั้นไม่เพียงแต่เรื่องของการออกแบบบ้าน การสร้างบ้านเท่านั้น แต่ในการสร้างบ้านนั้นยังมีรายละเอียดอีกมายมาย โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่าหากเราเริ่มต้นได้ดี หลังจากนั้นสิ่งที่ตามมาก็จะดีตาม

สำหรับการสร้างบ้านนั้น “พิธีลงเสาเอกบ้าน” จึงถือเป็นพิธีสำคัญ เพราะหากเรานำเสาเอกลงตามฤกษ์ที่กำหนดไว้ ก็มีความเชื่อกันวันบ้านนั้นจะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข เราจึงอยากนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับพิธีลงเสาเอกว่ามีความหมาย ของที่จำเป็นต้องใช้ และขั้นตอนอย่างไรบ้าง

พิธีลงเสาเอกบ้านคืออะไร

เสาเอกบ้านเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญไม่ว่าจะเป็นบ้านหรืออาคาร เพราะทำหน้าที่รับน้ำหนักของอาคารหรือบ้านเหล่านั้น ซึ่งเสาเอกก็มีการปรับเปลี่ยนวัสดุตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่เดิมที่คนไทยนิยมสร้างบ้านไม้ เสาเอกของบ้านจึงทำจากไม้ แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นคอนกรีต แต่ถ้าเป็นความหมายในเชิงความเชื่อ เราก็เชื่อกันว่าเสาเอกนั้นแสดงถึงความมั่นคง

สิ่งจำเป็นสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน

  • วันเวลาสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน

โดยปกติแล้ววันและเวลามงคลสำหรับทำพิธีลงเสาเอกบ้านจะยึดตามเวลาและวันมงคลเป็นหลัก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโฉลกของเจ้าของบ้าน ที่อ้างอิงตามปฏิทินจันทรคติ หรือการนับเดือนแบบไทย เช่น เดือนอ้าย, เดือนยี่, เดือน 4, เดือน 5, เดือน 9 หรือเดือน 12 โดยทั่วไปแล้วจะยึดจากวันเดือนปีเกิดของเจ้าของบ้าน ในการกำหนดวัน เวลา และตำแหน่งของเสาเอกที่เหมาะสมของบ้าน

  • กำหนดฤกษ์พิธีลงเสาเอกบ้าน

ส่วนใหญ่จะยึดเลขมงคล อย่างเลข 9 ก็เป็นไปตามความเชื่อ ที่หมายถึงความก้าวหน้า ดังนั้นจึงมักเห็นเวลาทำพิธีเสาเอกเป็นเวลา 9.00 น. แต่เพราะในปัจจุบันพิธีลงเสาเอกบ้านมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ดังนั้นฤกษ์ที่เหมาะสม จึงแล้วแต่ความเชื่อของคน ว่าจะเริ่มนับการเริ่มต้นของพิธีลงเสาเอกบ้านจากเวลาที่ตอกเสาเข็มต้นแรก หรือจะยึดตามเวลาที่เทคอนกรีตลงบนฐานรากก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

  • ของมงคลสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
  1. โต๊ะหมู่บูชา
  2. เครื่องสักการะ
  3. ชุดจตุปัจจัยไทยสำหรับถวายพระ
  4. สายสิญจน์
  5. ผ้าสามสี
  6. ผ้าหัวเสา
  7. ผ้าห่มเสา
  8. ผ้าแพรสีแดงหรือผ้าขาวม้า
  9. เครื่องสำหรับบูชาฤกษ์หรือเครื่องสังเวยเทวดา
  10. แผ่นนาก,แผ่นเงิน,แผ่นทอง,ทองคำเปลว
  11. ข้าวตอกดอกไม้
  12. เหรียญเงินและทองอย่างละ 9 เหรียญ
  13. น้ำมนต์ 1 ขันและหญ้าคา 1 กำ
  14. หน่ออ้อยและกล้วย
  15. ทรายเสก
  16. แป้งตอกตามเหมาะสม
  17. ไม้มงคล 9 อย่าง และใบไม้มงคล
  • ไม้มงคล 9 อย่างสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
  1. - ราชพฤกษ์ หมายถึง อำนาจบารมี ความก้าวหน้า และวาสนาดี
  2. - ขนุน หมายถึง ความเกื้อหนุน ทำสิ่งใดก็สำเร็จ
  3. - ชัยพฤกษ์ หมายถึง ชัยชนะและความสำเร็จ
  4. - ทองหลาง หมายถึง เงินทอง
  5. - ไผ่สีสุก หมายถึง ความร่มเย็น
  6. - ทรงบาดาล หมายถึง ความแข็งแรงมั่นคง ไม่ล้มลงเมื่อเจออุปสรรค
  7. - ไม้สัก หมายถึง ศักดิ์ศรีและความมีเกียรติ
  8. - ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงค้ำจุน
  9. - ไม้กันเกรา หมายถึง การขจัดอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ ของครอบครัว

คำแนะนำคือต้องหาไม้มงคลทั้ง 9 อย่างมาให้ครบเพื่อความเป็นสิริมงคล ห้ามขาดไม้มงคลชนิดใดชนิดหนึ่ง

  • ใบไม้มงคลสำหรับพิธีลงเสาเอกบ้าน
  1. - ใบทอง ใบเงิน ใบนาก เสริมทรัพย์สินเงินทอง
  2. - ใบทับทิม ขจัดความทุกข์ต่าง ๆ
  3. - ใบพลู เสริมยศถาบรรดาศักดิ์
  4. - ใบมะรุม เสริมเสน่ห์และความนิยม
  5. - ใบมะขาม เสริมความน่าเกรงขาม
  6. - ใบยอ ช่วยให้มีคนสรรเสริญ
  7. - ใบมะยม เสริมความนิยมรักใคร่
  8. - ใบโกศล เสริมบุญกุศลและบารมี
  9. - ใบวาสนา เสริมวาสนา
  10. - ใบโมก ช่วยให้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง
  11. - ใบชวนชม เสริมความมั่งคั่ง ร่ำรวย

ขั้นตอนพิธีลงเสาเอกบ้าน

  1. เตรียมเสาเอกบ้านให้เรียบร้อยก่อนถึงวันพิธี โดยนำหน่อกล้วย หน่ออ้อย และผ้าสามสีผูกกับเสาเหล็กที่ใช้เป็นเสาเอกบ้าน
  2. วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาไปจนถึงบริเวณเสาเอก ขั้นตอนนี้หากไม่มีผู้ทำพิธีโดยเฉพาะ อาจให้ผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ หรือเจ้าของบ้านเป็นผู้ทำพิธีก็ได้
  3. เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานถึงความเป็นสิริมงคล และกราบพระที่โต๊ะหมู่บูชาและโต๊ะเครื่องสังเวยเทวดาให้ช่วยคุ้มครอง
  4. ตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก
  5. วางแผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง และเหรียญเงินลงไปในหลุม
  6. นิมนต์พระสงฆ์พรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก เจิมและปิดแผ่นทองที่เสาเอก
  7. เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีร่วมกันถือสายสิญจน์และยกเสาเอกให้เรียบร้อย
  8. เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอไม้ และแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก

เรียบเรียงเนื้อหาโดย sanook

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook