ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม

ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม

ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 ผู้หญิงหลายคนไม่กล้าใช้ยา เพราะได้ยินมาว่ายาเม็ดคุมกำเนิดทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ลองมาดูกันดีกว่า ว่าความเชื่อใดบ้างที่เข้าใจกันไปผิดๆ

  • ยาคุมทำให้เป็นฝ้า
    การทานยาคุมอาจทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดดได้ ถ้ากังวลเรื่องฝ้า ให้เลือกทานยาคุมที่มีปริมาณฮอร์โมนรวมต่ำมาก เลือกทานยาคุมก่อนนอน และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปทุกเช้าค่ะ
  • กินยาคุมย้อนศรแล้วทำให้หน้าอกใหญ่
    ไม่จริง ถ้าเป็นยาที่ทุกเม็ดมีฮอร์โมนเท่ากัน จะกินเม็ดไหนก่อนก็ไม่แตกต่าง ถ้าเป็นแบบที่แต่ละเม็ดฮอร์โมนไม่เท่ากัน จำเป็นต้องกินยาตามลูกศรเพื่อให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายสมดุล ส่วนเรื่องหน้าอกนั้น ยังไม่มีผลการพิสูจน์แน่ชัดในเรื่องนี้ แต่บางคนอาจมีอาการบวมน้ำ ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าหน้าอกใหญ่ขึ้น
  • ยาคุมทำให้น้ำหนักขึ้น
    มีการวิจัยยืนยันว่า ไม่มีหลักฐานเด่นชัดที่แสดงให้เห็นว่าการกินยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนผสม มีความสัมพันธ์กับการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น * คนที่รู้สึกว่ากินยาคุมแล้วดูตัวบวมๆ ท้วมๆ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า คุณมีอาการบวมน้ำ ซึ่งเกิดจากร่างกายเก็บกักน้ำเอาไว้มาก ซึ่งก็สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการเลือกยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนที่ใกล้เคียงกับฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย หรือมีส่วนผสมของเอสโตรเจนในสัดส่วนที่ต่ำแทน
  • กินยาคุมไปนาน ๆ แล้วจะทำให้มีลูกยาก
    จากสถิติ ผู้ที่กินยาคุมเป็นเวลานาน มีสิทธิ์ตั้งครรภ์ได้เท่า ๆ กับผู้ที่ไม่ได้คุมกำเนิด ปกติแล้ว ถ้ายังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ แค่ลืมกินยาคุมหลายเม็ดติดต่อกัน ก็มีโอกาสท้องได้แล้ว คนที่รู้สึกว่าหยุดยาแล้วมีลูกยากนั้น อาจเป็นเพราะคุณมีอายุมากขึ้น ทำให้มีลูกยากขึ้น
  • กินยาคุมไปนาน ๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    ยาเม็ดคุมกำเนิดยุคใหม่นั้นมีความปลอดภัยสูง สามารถกินได้ต่อเนื่องหลายปี โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร เพราะฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นจะไม่สะสมในร่างกาย
  • ควรเปลี่ยนยี่ห้อยาคุมบ่อยๆ
    การเปลี่ยนยี่ห้อยาคุมบ่อย ๆ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนแปรปรวนได้ ปกติแล้ว การเริ่มใช้ยาใหม่ ร่างกายจะต้องใช้เวลาปรับตัวประมาณ 2-3 เดือนก่อนถึงจะเข้าที่ค่ะ จึงควรจะลองใช้สักระยะก่อน ถ้าไม่ชอบจริง ๆ จึงค่อยเปลี่ยน


* ผลการวิจัยจาก Family Health International แห่งสถาบันวิจัย Research Triangle Park นอร์ธ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกาและ Leiden University Medical Center เนเธอร์แลนด์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Obstetrics & Gynecology ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2547

สนับสนุนข้อมูลโดย เภสัชกร ประวิทย์ ตันติสุวิทย์กุล
ที่ปรึกษาองค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข, กรรมการมูลนิธิแพทย์เพื่อประชาชน

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม

ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม
ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม
ล้างความเชื่อผิดๆ เรื่องยาคุม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook