วิธีทิ้งยาหมดอายุแล้ว ทิ้งอย่างไรให้เหมาะสม ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม
เชื่อว่าในทุกๆ บ้านคงมียาติดตู้ยาประจำบ้านไว้ ไม่ว่าจะเป็นยาสามัญทั่วไป หรือยาที่เคยได้รับมาเพื่อรักษา บรรเทาอาการต่างๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ยานั้นอาจจะไม่หมด เหลือเพราะไม่ได้รับประทานอย่างต่อเนื่อง หรืออาการดีขึ้นแล้วก็หยุดรับประทานยา จนกระทั่งหมดอายุการใช้งาน เราจะมีวิธีการทิ้งยาที่หมดอายุแล้วอย่างไรให้เหมาะสม นี่คือคำแนะนำจากกรมส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม
วิธีทิ้งยาหมดอายุ
- ดูคำแนะนำการทิ้งยาที่เอกสารกำกับยา
- ขูดฉลากบนขวดหรือซองยาที่มีชื่อ/ข้อมูลส่วนตัว บนขวดยาออกก่อนทุกครั้ง
- นำยาที่หมดอายุใส่ภาชนะ หรือถุงซิปล็อก และเขียนกำกับว่า "ยาหมดอายุ"
- นำไปทิ้งในถังขยะอันตราย หรือส่งให้โรงพยาบาลใกล้บ้านที่รับกำจัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
ลักษณะยาที่เสื่อมสภาพ
- ยาเม็ด : เม็ดแตกร่วน สีเปลี่ยน มีจุดด่างขึ้นรา
- ยาแคปซูล : เม็ดบวมโป่ง มีจุดเชื้อรา ผงยาภายในเปลี่ยนสี
- ยาผงแห้ง : ผงยาจับตัวเป็นก้อน ไม่สามารถนำไปละลายได้
- ยาน้ำแขวนตะกอน : ตะกอนจับตัวเป็นก้อน เมื่อเขย่าจะไม่กระจายตัว
- ยาน้ำเชื่อม : มีสีขุ่น เป็นตะกอน กลิ่นบูด และมีรสเปรี้ยว
- ยาครีม : เนื้อครีมหดตัวและแยกชั้น เพราะน้ำในตัวยาระเหยหายไป
- ยาเจล : เนื้อเจลจากใสเปลี่ยนเป็นสีขุ่น ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
- ยาหยอดตา : สีของยาจากใสจะเปลี่ยนเป็นขุ่น
ปัจจัยที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพ
- แสงแดด
- ความชื้น
- อุณหภูมิ