วิธีเก็บข้าวหุงสุก หรือเหลือทาน เก็บอย่างไรให้ทานต่อได้อร่อยเหมือนเดิม
ข้าวที่เราหุงสุกแล้ว หรือทานเหลือสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เสมอ ไม่ว่าคุณจะนำข้าวนั้นไปผัดหรือทำพุดดิ้งข้าวก็ตาม โดยข้าวที่หุงแล้วสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อรักษารสชาติ เนื้อสัมผัสของข้าวให้ทานได้อร่อย ปลอดภัยเหมือนเดิม
การเก็บข้าวหุงในตู้เย็น
หากคุณวางแผนที่จะกินข้าวที่เหลือภายในหนึ่งหรือสองวัน (อาจจะทำข้าวผัดก็ได้) ให้เก็บไว้ในตู้เย็น
- ทำให้ข้าวเย็นลงโดยเร็ว
ข้าวหุงสุกมีความชื้นมาก ซึ่งสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียได้หากทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องนานกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยจึงควรทำให้ข้าวที่เหลือเย็นลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะโดยการกระจายข่าวนั้นลงบนภาชนะกว้างๆ หรือใส่ในตู้เย็น - เก็บข้าวในภาชนะสุญญากาศ
ภาชนะเก็บข้าวที่น่ารัก เป็นลังเล็ก แต่พวกมันจะปล่อยอากาศเข้าไปด้านในทำให้ข้าวที่เหลือหนึบ และแข็งได้ ดังนั้นจึงควรนำข้าวหุงสุกที่เย็นแล้วลงในภาชนะเก็บสุญญากาศหรือถุงพลาสติกซิปล็อค (เอาอากาศออกจากถุงให้มากที่สุดก่อนปิดผนึก) แล้วเก็บในตู้เย็น - อุ่นข้าวด้วยน้ำเล็กน้อย
เมื่ออุ่นข้าวใหม่ให้โรยน้ำ 1 ช้อนชาด้านบนเพื่อช่วยคลายเมล็ดข้าวที่แห้งและติดอยู่ ก่อนจะนำไปอุ่นในไมโครเวฟด้วยไฟปานกลาง แล้วคนทุกๆ 30 วินาทีจนข้าวร้อนขึ้น หรืออุ่นข้าวในหม้อด้วยไฟปานกลางบนเตา คนตลอดเวลา แต่ระวังอย่าบดให้ละเอียด
เก็บข้าวสวยแช่ในช่องแช่แข็ง
ข้าวหุงสุกสามารถแช่แข็งได้นานถึง 3 เดือน
- เก็บข้าวในถุง แล้วนำไปแช่ห้องแช่แข็ง
นำข้าวหุงสุกที่เย็นแล้วใส่ในถุงแช่แข็งแบบซิปล็อค กดถุงไล่อากาศออกจากถุงให้มากที่สุดก่อนปิดผนึก แล้วนำไปเก็บไว้ในช่องแช่แข็ง - ทำละลายข้าวแช่แข็ง
หากต้องการจะทานข้าวให้นำไปอุ่นร้อนแบบขั้นตอนข้างต้นที่กล่าวไปคือโรยน้ำ 1 ช้อนชาด้านบน แล้วนำไปอุ่นในไมโครเวฟ หรืออุ่นข้าวในหม้อด้วยไฟปานกลางบนเตา