รู้จัก "เถียงนา" สิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก ที่ถูกหยิบขึ้นมาเป็นสถานที่เพื่อการกักตัว

รู้จัก "เถียงนา" สิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก ที่ถูกหยิบขึ้นมาเป็นสถานที่เพื่อการกักตัว

รู้จัก "เถียงนา" สิ่งปลูกสร้างขนาดเล็ก ที่ถูกหยิบขึ้นมาเป็นสถานที่เพื่อการกักตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากหมอทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ออกมาพูดถึง "เถียงนาโมเดล" เพื่อคนที่กลับบ้านต่างจังหวัดสามารถไปกักตัวที่นั่น แล้วให้คนในครอบครัวส่งข้าว ส่งน้ำ ชี้ว่าเป็นวิถีที่น่ารัก เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา นอกจากนั้นหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า "เถียงนา" คืออะไร ดังนั้นเรามาทำความรู้จักเถียงนากัน

IG : konglha_30IG : konglha_30

เถียงนาเป็นสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นการสร้างขึ้นอย่างง่ายๆ มีขนาดเล็ก ใช้สอยเกี่ยวกับการทำนาในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอีสานซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่สืบทอดมาจากอดีต นอกจากนี้ถ้าเถียงปลูกในพื้นที่นา จะเรียกว่า เถียงนา แต่หากปลูกสร้างไว้ในป่าจะเรียกว่าเถียงไร่ หรือเถียงไฮ่

นอกจากนั้นในบางครั้งเถียงนายังถูกเรียกเพี้ยนเป็น เสียงนา หรือเขียงนา แต่ถ้าเป็นวัฒนธรรมทางล้านนานิยมเรียกว่า ห้างนา ส่วนทางภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเรียกว่าโรงนา ส่วนทางภาคใต้จะเรียกว่า ขนำนา แต่ถ้าสร้างอยู่ในไร่บนภูเขา เรียกว่าทับ ใช้สำหรับเป็นที่พักตอนออกไปทำไร่ เลี้ยงควาย และใช้เป็นที่พักเวลาออกไปดักจับสัตว์เวลาค่ำคืน

IG : konglha_30IG : konglha_30

การปลูกสร้างส่วนใหญ่เจ้าของเถียงนาจะลงมือปลูกสร้างด้วยตัวเอง เป็นการปลูกสร้างที่ลงตัวกับสภาพแวดล้อมรอบข้างสามารถแบ่งรูปแบบของเถียงนาได้เป็น 5 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. เถียงนาพื้นติดดิน แบ่งเป็น  2 แบบ ได้แก่ แบบใช้พื้นดินเป็นพื้นนั่ง และแบบใช้แคร่เป็นพื้นนั่ง

2.เถียงนายกพื้นสูงจากดินระดับเดียว

3.เถียงนายกพื้นสูงจากดิน 2 ระดับ

4. เถียงนายกพื้นสูงจากดินหลายระดับ

5.เถียงนาประเภทเคลื่อนที่ได้

IG : ble_patumrach_smilesIG : ble_patumrach_smiles

อย่างไรก็ตามสามารถจำแนก รูปแบบการใช้งานของเถียงนาได้ 2 ลักษณะคือ ในทางพื้นที่ใช้ประกอบกิจกรรมประเภทเดียวที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำนา และในทางสังคม หรือชุมชน ใช้ประกอบกิจกรรมหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อ คือ “ ประเพณีฮีตสิบสอง ” ควบคู่ไปกับการทำนา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook