“แหวนแหวน”แชร์ประสบการณ์ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม รักษากว่า 5 ปี

“แหวนแหวน”แชร์ประสบการณ์ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม รักษากว่า 5 ปี

“แหวนแหวน”แชร์ประสบการณ์ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม รักษากว่า 5 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“แหวนแหวน” ร่วมงาน “ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่ที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมน (hormone receptor, HR) และผลลบต่อตัวรับชนิด human epidermal growth factor receptor (HER2)”


ผ่านไปแล้วสำหรับงานแถลงข่าว “ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นที่ที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมน (hormone receptor, HR) และผลลบต่อตัวรับชนิด human epidermal growth factor receptor (HER2)”  ที่จัดขึ้น ณ ห้อง Ballroom 3 โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ โดย พญ.ชาฮีน่า ดาวูด แพทย์ผู้เชียวชาญและที่ปรึกษาด้านโรคมะเร็ง จาก Mediclinic Middle East  ประเทศ UAE ร่วมด้วย ศ.ดร.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม หัวหน้าศูนย์เต้านม โรงพยาบาลเมดพาร์ค และศัลยแพทย์ด้านมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลเจ้าพระยา โดยมี แหวนแหวน- ปวริศา เพ็ญชาติ รับหน้าที่พิธีกร พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์ตรง หลังเคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม และใช้เวลารักษาตัวมานานกว่า 5 ปี



“โรคมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย จากข้อมูลในปี พ.ศ.2563 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ราว 18,000 คนต่อปี หรือคิดเป็น 49 คนต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน หรือคิดเป็น 13 คนต่อวัน ซึ่งคาดการณ์ว่ในปี พ.ศ.2566 จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 22,000 คน อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งเต้านมสามารถตรวจวินิจฉัยพบได้ในระยะเริ่มต้นถึงร้อยละ 90  ทั้งนี้ร้อยละ 70 มักจะเป็นชนิดที่มีผลบวกต่อตัวรับฮอร์โมน การรักษามะเร็งเต้านมระยะแรก ประกอบไปด้วยการผ่าตัดก้อนเนื้อออก โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ ร่วมกับการรักษาเสริมตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น ระยะของโรค ข้อมูลทางชีวโมเลกุล ตามการแสดงออกของยีนผิดปกติในเซลล์มะเร็ง ระดับของโปรตีนที่ผิดปกติบางชนิดในเซลล์มะเร็ง รวมทั้งปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วยและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งการรักษามักจะประกอบไปด้วย การรักษาด้วยยาฮอร์โมน ยาเคมีบำบัด รังสีรักษา และการรักษาด้วยยาพุ่งเป้า ( Targeted Therapy ) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาถึงความเสี่ยงของผู้ป่วยรายบุคคล



แหวนแหวน- ปวริศา เพ็ญชาติ เล่าประสบการณ์ตรงว่า “แหวนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีประสบการณ์มะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุแค่ 23 ปี ต้องบอกว่าเป็นความโชคดีที่เจอเร็วมากๆและรักษาได้ทันท่วงที จนทุกวันนี้พูดได้ว่าหายแล้ว 99.99% ทำให้รู้เลยว่าโรคมะเร็งเต้านมนั้นอยู่ใกล้ตัวเรามาก และเจอในคนอายุเด็กลงทุกวัน อยากบอกผู้หญิงทุก ๆ คนว่าอย่ากลัวการตรวจมะเร็งเต้านม อย่ามองเป็นเรื่องที่ไกลตัว เพราะถ้าคุณยิ่งเจอช้า การรักษายิ่งยากและโอกาสในการหายน้อยลง เดี๋ยวมะเร็งเต้านมก็เหมือนเป็นหวัด สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้กระทั้งเป็นขั้น 3 ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 74% สมัย 20 ปีที่แล้ว ตอนที่แหวนตรวจเจอ คือเหมือนโลกแตก รู้สึกว่าเราจะตายแล้วเหรอ  ตอนนั้นการเป็นมะเร็งเต้านมเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก นอกจากการกลัวตาย ยังเสียความมั่นใจด้วยที่ต้องโดนตัดหน้าอก โดนตัดไปเกือบเท่าลูกเทนนิส ก็มีความกังวลว่าหน้าอกเราจะเป็นยังไง มันจะเหมือนเดิมไหม สรุปก็คือไม่ได้เสียทรงไปมาก ทุกวันนี้ก็อยู่กับมันได้ กลัวจะกลับมาเป็นอีก ก็คอยเช็คอัปมันตลอดปีละครั้ง



ยิ่งเราจะทำ IVF ก็ต้องตรวจเช็คเยอะ คุณหมอที่ทำลูกเขาก็จะซีเรียสเรื่องของการใช้ฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนคือตัวกระตุ้นมะเร็ง อย่างแหวนจะทาครีมอะไร ทานอะไร ฉีดฮอร์โมนอะไรต้องระวังหมด เพราะมีผลกับมะเร็งเต้านมหมด เวลาจะกระตุ้นไข่ทีต้องมีทีมหมอมานั่งปรึกษากันเลย ก็ค่อนข้างจะเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ เราตั้งใจ อยากได้มีน้อง 2 คน แต่ตอนนี้เอาให้ได้ 1 คนก่อน เราอยู่กับกระบวนการนี้มานานแล้วเหมือนกัน เดี๋ยวคงจะต้องลองอีกรอบ ทั้งที่ประเทศไทยทั้งที่ต่างประเทศ ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็คงจะถอดใจแล้ว จะพยายามอีกซักตั้งนึง ก็ปรึกษากับคุณหมอทั้งคุณหมอทำลูก คุณหมอมะเร็งเต้านม เพราะคุณหมอทำลูกก็ไม่กล้าให้ฮอร์โมนเยอะ มันเสี่ยง อายุเท่านี้แล้ว มันก็ต้องอัดกันสุดตัว เรียกว่าเป็นเคสพิเศษเลยสำหรับการทำIVF



คุณพ่อก็บอกขึ้นมาแล้วว่าชีวิตแลกชีวิตไม่เอานะ ได้หลานแต่ลูกเป็นมะเร็งเต้านมอีกรอบ ก็คงไม่ไหว ส่วนคุณสามี เขาก็กลัวเราเป็นมะเร็งอีก ลูกก็อยากมีแหละ ครอบครัวไม่มีฝ่ายไหนกดดันเลย เพราะเขาก็รู้ว่าเราพยายาม ถ้ามันไม่ได้จริงๆ เราก็พยายามที่สุดแล้ว ที่สำคัญลูกจะมีหรือไม่มี ไม่เป็นไร แต่เราต้องไม่ตาย ต้องมีเราอยู่ต่อไป เท่าที่ฟังโอกาสมันก็ 50:50 เพื่อน ๆ ก็ให้กำลังใจกันหมด วิทยาศาสตร์เราก็สู้มาสุดตัว สงสัยคงต้องไปสายมูบ้าง ตอนนี้ค่าใช้จ่ายหมดไปหลายล้านแล้ว ยังพูดกับพ่อแม่เลยว่าหลายล้านก็ส่วนนึงนะ แต่ร่างกายเรา ฮอร์โมนที่เทคเข้าไปนี่ก็ไม่รู้ว่าจะมีผลอะไรที่ไปสะสมไว้ข้างในรึเปล่า คือที่ผ่านมาเราต้องตรวจแล้วตรวจอีก วนๆไปจนรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว โดนเยอะเหลือเกิน ก็เข้าใจคุณหมอว่าต้องเอาความปลอดภัยขอเราไว้ก่อน ไม่อยากให้มีผลข้างเคียงอะไรในอนาคต”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook