“ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” วาทกรรมตอกย้ำภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของสตรีและ LGBTQ+ ในโลกชายเป็นใหญ่

“ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” วาทกรรมตอกย้ำภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของสตรีและ LGBTQ+ ในโลกชายเป็นใหญ่

“ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” วาทกรรมตอกย้ำภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปของสตรีและ LGBTQ+ ในโลกชายเป็นใหญ่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภาพของ Han So Hee ดาราสาวชื่อดังจากแดนโสมที่โพสโชว์ความเมาจนหลับกลางถนน, ข้อความวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลสหัฐฯ จากอินสตาแกรมของ Cardi B, โพสโชว์รูปร่างสุดมั่นใจของ Sam Smith , ภาพอดีตนายกรัฐมนตรี Jacinda Ardern ของนิวซีแลนด์ที่พาบุตรสาววัย 3 เดือนเข้าประชุม UN ในปี 2018 ในปัจจุบันเราจะเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ได้แบบง่ายๆ ว่า “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” 



จนถึงตอนนี้ เรายังไม่สามารถหาที่มาของคำว่า “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” ได้ว่ามาจากที่ใด แต่ “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” นั้นถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่เพศหญิงและกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ กระทำพฤติกรรมแบบมั่นใจสุดขั้วหรือกระทำพฤติกรรมที่ฉีกจากภาพจำเดิมของของความเป็นหญิงดี (และ LGBTQ+ ที่ดี) ที่ต้องเรียบร้อย อ่อนหวาน ไม่โต้เถียงและเชื่อฟัง ซึ่งถูกกำหนดจากบรรทัดฐานของสังคมที่ชายเป็นใหญ่ และนั้นเป็นเครื่องสะท้อนได้เป็นอย่างดีถึงความเปลี่ยนแปลงอีกขั้นของสตรีและกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่เคยเป็นเหมือนพลเมืองชั้นสองในโลกชายเป็นใหญ่มาตลอด 

โมเมนต์ระหว่างประชุม G7 เมื่อปี 2018 ซึ่งมีนาง Angela Merkel นายกฯ เยอรมนีที่เป็นสตรีเพียงไม่กี่คนในการประชุมReuterโมเมนต์ระหว่างประชุม G7 เมื่อปี 2018 ซึ่งมีนาง Angela Merkel นายกฯ เยอรมนีที่เป็นสตรีเพียงไม่กี่คนในการประชุม

การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของสตรีนั้นเริ่มมาอย่างยาวนาน ในสหรัฐฯ เอง กว่าที่สตรีจะมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งก็ใช้เวลากว่าร้อยปีจากการเลือกตั้งครั้งแรก และผ่านมูฟเมนต์เรื่องสิทธิสตรีมาหลายครั้ง ในแวดวงบันเทิงเองก็มีดารานักร้องสาวหลายคนที่สร้างภาพลักษณ์เปรี้ยวซ่าก๋ากั่นท้าทายขนบธรรมเนียมเก่า ไม่ว่าจะเป็น Madonna, Cyndi Lauper หรือ Grace Jones ซึ่งอิทธิพลของพวกเธอก็ยังส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้เรายังได้เห็นมูฟเมนต์จากคนบันเทิงหญิงในฝั่งตะวันตกที่ออกมาเรียกร้องสิทธิให้ตัวเองผ่านแคมเปญ #MeToo ที่เคยพูดถึงเรื่องการคุกคามทางเพศในฮอลลีวูดก่อนจะขยายต่อมาเป็นแคมเปญรณรงค์ยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงานของทุกๆ เพศ 


(จากซ้าย) Grace Jones, Cyndi Lauper, Madonna(จากซ้าย) Grace Jones, Cyndi Lauper, Madonna



ในศตวรรษที่ 21 เอง เราก็ได้เห็นเหล่าสตรีและกลุ่มคนหลากหลายทางเพศก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นในพื้นที่ที่เดิมเคยเป็นของเพศชาย เช่น พื้นที่ทางการเมืองหรือการบริหารองค์กรรวมไปถึงบริหารประเทศ อย่างในไทยเอง เราก็มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกคือยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2011 ก่อนจะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรข้ามเพศคนแรกตามมาในปี 2019 คือธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์  

ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่ก่อตัวขึ้นบนโลกชายเป็นใหญ่ล้วนแล้วแต่บอกว่าความสำคัญของคนนั้นไม่ได้วัดกันที่เพศอีกต่อไป แม้ความเปลี่ยนแปลงนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันภายในวันสองวัน แต่ปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เราได้ยกตัวอย่างมา รวมถึงความฮอตฮิตของคำว่า “ตัวแม่จะแคร์เพื่อ” นั้นก็ยืนยันได้แล้วว่าภาพจำเดิมๆ ของสตรีและ LGBTQ+ ที่เคยถูกสร้างโดยเพศชายกำลังจะหายไป และพวกเขากำลังสร้างภาพจำใหม่ๆ ให้โลกได้รู้ว่า ในอนาคตโลกจะเดินไปข้างหน้าด้วยคนทุกเพศพร้อมๆ กัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook