คุณเป็นคนมีผิวแพ้ ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) หรือไม่?

คุณเป็นคนมีผิวแพ้ ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) หรือไม่?

คุณเป็นคนมีผิวแพ้ ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนจะเริ่มอ่านบทความนี้ อยากให้ทุกท่านลองสำรวจตัวเองดูก่อนว่า ...คุณมีผิวแพ้ง่าย..หรือไม่? 

อาการแสดงของผิวหนังที่บ่งบอกว่าคุณเป็นผิวแพ้ง่าย ระคายเคืองง่าย ได้แก่

  1. แสบผิว ออกร้อน 
  2. คันยุบยิบ
  3. ผื่นแดง ผด แห้ง ลอก
  4. รู้สึกไม่สบายผิว

โดยเฉพาะเมื่อถูกสิ่งกระตุ้นที่คนผิวปกติทั่วไปมักจะไม่มีอาการ

หากใครเช็คแล้วพบว่าผิวเราแพ้ง่าย การเลือกสกินแคร์และการดูแลผิวอาจต้องปรับเปลี่ยนไปจากเดิม

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเหตุใดบางคนจึงเกิดมี Sensitive skin แต่เชื่อว่าเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

  1. Skin barrier ไม่แข็งแรง ทำให้สารก่อการระคายเคืองซึมลงผิวได้ง่ายขึ้น
  2. เส้นประสาทที่ผิวหนัง มีความไวมากขึ้น จึงเกิดการระคายเคืองผิวได้ง่ายขึ้น 
  3. มีการกระตุ้นกระบวนการอักเสบผิวมากขึ้น จึงมักมีผิวแดง แสบ คัน ได้บ่อย ๆ
  4. มีความผิดปกติของยีนบางอย่าง 

สาเหตุทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ผิวไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป

ดังนั้นการจะเลือกสกินแคร์สำหรับ Sensitive Skin จึงควรเลือกที่มีคุณสมบัติที่แก้ปัญหาตรงจุด คือ

  • ช่วยบำรุงกำแพงผิว
  • ช่วยลดการอักเสบผิวและคงความสมดุลจุลินทรีย์ผิวตามธรรมชาติ
  • มีส่วนผสมที่ช่วยปลอบประโลมลดความไวของตัวรับเส้นประสาทที่ผิว

หนึ่งในวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ตอบโจทย์จุดประสงค์ในการดูแลผิวบอบบางแพ้ง่ายได้อย่างดี คือ ...”โอ๊ต”

โอ๊ตนับเป็น Natural science-based component ที่ถูกหยิบยกมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากคุณสมบัติของสารประกอบหลัก อันได้แก่

  • Oat lipid extracts สารสกัดจากน้ำมันโอ๊ต มีส่วนผสมหลัก คือ Omega 3 & Omega 6 ซึ่งนอกจากจะเป็นชนิดเดียวกับไขมันหลักในโครงสร้างผิว แล้วยังสามารถกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเคราติโนไซต์มีการสร้างเซราไมค์ผิวเพิ่มขึ้นได้มากกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้กำแพงผิวชุ่มชื้นและแข็งแรงขึ้น1,2

 
 

  • Pre-biotic oatmeal: มีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ผิว (Skin Microbiome) และกระตุ้นให้มีการสร้าง lactic acid ที่ผิวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผิวมีความชุ่มชื้น ผิวมีความสมดุลและแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนั้นพบว่าสารสกัดจาก Oatmeal ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดการอักเสบผิวได้อีก 3,4,7,8,9

 

 

  • Avenanthramides เป็นสารสกัดจากโอ๊ต ซึ่งมีส่วนผสมหลักของ phenolic alkaloids สามารถยับยั้ง TNF-alpha induced NF-kappa B luciferase activity ส่งผลให้ลดการหลั่ง proinflammatory cytokine interleukin-8 (IL-8) จึงส่งผลช่วยลดการอักเสบ ลดอาการคันได้ นอกจากนั้นพบว่ายังมีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (antimicrobial activities) และช่วยต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant ) ได้อีกด้วย5,10

มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของ 3 อย่างข้างต้น ในกลุ่มผู้มีภาวะผิวแพ้ง่ายในระยะเวลา 4 สัปดาห์* พบว่า

  • เก็บล็อกความชุ่มชื้นได้ยาวนาน 72 ชม.
  • ฟื้นฟูผิวแห้งเสียและลดระคายเคืองให้ดีขึ้้นตั้งแต่ 1 นาทีแรก

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้มีภาวะผิวบอบบางแพ้ง่าย (Sensitive skin) ชาวไทย** พบว่าสามารถลดอุณหภูมิผิวบริเวณที่มีอาการระคายเคือง อันเป็นหนึ่งในสัญญาณแสดงการอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ ตั้งแต่ 30 วินาทีแรกที่ทา ปัจจุบันมีการนำสารสกัดจาก Oat มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิว หรือแม้แต่ใช้เพื่อเสริมการรักษาด้วยยาของแพทย์ในหลายภาวะ เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นต้น ซึ่งพบว่าผู้ป่วยสามารถลดการทายาในกลุ่มสเตอรอยด์ลงได้ ดังนั้น การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวที่มีส่วนผสมของ Oat ที่ได้มาตรฐาน จึงเป็นอีกทางเลือกในการดูแลผิวได้เป็นอย่างดี

บทความโดย 

  ชื่อ: พญ.วรายุวดี อมรภิญโญ
 
  Specialty: อายุรศาสตร์
 
  Subspecialties: อายุรศาสตร์โรคผิวหนัง (ตจวิทยา)
 
  ตำแหน่งปัจจุบัน: หัวหน้าหน่วยผิวหนังอายุรกรรมโรคผิวหนัง รพ.ขอนแก่น         

 

Qualifications:

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ตจวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
  • Higher Graduate Diploma Program in Clinical Medical Sciences, KKU
  • Certificated American Aesthetic Medicine, USA
  • Visiting Physician in Atopic dermatitis and Psoriasis, National Skin Center, Singapore

[Advertorial] 

Reference

  1. Reynertson KA, et al. J Drugs Dermatol 2015; 14: 43–8
  2. Chon SH, et al., Exp Dermatol.2015;24(4):290-295.
  3. Grais ML. AMA Arch Derm Syphilol 1953; 68: 402–7;
  4. Liu-Walsh F et al., Clin Cosmet Investig Dermatol. 2021;14:73-82.
  5. Sur R. etal., Arch Dermatol Res.2008:300:569-574
  6. Guo W, et al. Free Radic Biol Med 2008 44: 415–29;
  7. Capone K, et al. J Drugs Dermatol. 2020 May 1;19(5):524-531.
  8. Pazyar N, et al, Indian J Dermatol Venereol Leprol. 2012 Mar-Apr;78(2):142-5.
  9. Reynertson KA, et al. J Drugs Dermatol. 2015 Jan;14(1):43-8.
  10. Pretorius CJ,et al. Plants (Basel). 2023 Mar 21;12(6):1388.

*ผลการทดสอบความพึ่งพอใจหลังใช้ในผู้ทดสอบ 98 คน โดยสถาบันวิจัยภายใต้การดูแลของ JOHNSON & JOHNSON FAMILY OF CONSUMER COMPANIES เดือน ต.ค.-พ.ย. 2564 ประเทศจีน ผลทดสอบใน AVEENO SKIN RELIEF LOTION

**จากการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อาวีโน่ สกิน รีลีฟ มอยส์เจอร์ไรซิ่งโลชั่นต่อการลดรอยแดงและอุณหภูมิของผิวในอาสาสมัครผิวแพ้ง่าย โดยทดสอบเครื่องสำอางค์และเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดือนมีนาคม 2566 ผลทดสอบใน  AVEENO SKIN RELIEF LOTION

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook