เตรียมตัวไว้เพื่อไม่เป็นมะเร็ง
เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นตามที่ รายการปัญหาชีวิตและสุขภาพ ได้เผยแพร่ไปแล้วนั้น แต่ก็ยังไม่สามารถลดสถิติการเป็นมะเร็งหรือหยุดยั้งมะเร็งในระยะท้ายๆ ได้โดยสิ้นเชิง ความสำคัญของโรคมะเร็งอวัยวะใดๆ ก็ตามจะอยู่ที่การตรวจพบในระยะเริ่มแรก และรักษาให้ถูกวิธีโดยรวดเร็ว ก่อนที่จะลุกลามและมีการกระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งจะยังไม่ชัดเจน แต่ก็ทราบแน่ชัดว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ 1.พันธุกรรม ในครอบครัวที่มีญาติผู้ใหญ่เคยเป็นมะเร็ง หรือเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ลูกหลานหรือผู้สืบสกุล ควรจะต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องโดยเคร่งครัด และหมั่นตรวจกรองมะเร็งอยู่เสมอเพื่อป้องกัน หรือเพื่อรับรู้ว่าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถจะรักษาให้หายขาดได้ 2.สิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลภาวะต่างๆ สารปนเปื้อนในอาหาร ความเจ็บป่วย เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมะเร็งตับ เป็นต้น 3.พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การรับประทานอาหารปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง การปล่อยให้ร่างกายทรุดโทรม การปล่อยให้เจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นและไม่ป้องกัน การเสพสุรา การสูบบุหรี่เรื้อรัง เป็นต้น 5 ประการเพื่อการป้องกันมะเร็ง ประกอบด้วย 1.รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บร็อกโคลี่ ฯลฯ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้ส่วนปลายกระเพาะอาหาร และอวัยวะระบบทางเดินหายใจ 2.รับประทานอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ เพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ 3.รับประทานอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผักสด ผลไม้ สีเขียว-เหลือง เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กล่องเสียง และปอด 4.รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผักสด ผลไม้ต่างๆ เพื่อป้องกันมะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร 5.ควบคุมน้ำหนักตัว โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งมดลูก ถุงน้ำดี เต้านม และลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกายและลดการรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ก็จะช่วยป้องกันมะเร็งเหล่านี้ได้ การตรวจกรองมะเร็งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ วิทยาการก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้สามารถใช้เครื่องมือแพทย์ก้าวหน้าและการตรวจเลือดโดยเทคนิคก้าวหน้า สามารถบ่งบอกมะเร็งระยะเริ่มแรกได้ค่อนข้างชัดเจน การตรวจกรองเหล่านี้แยกเป็นระบบได้ดังนี้ มะเร็งมดลูกและปากมดลูก ตรวจภายใน ตรวจ Papsmear มะเร็งเต้านม ตรวจร่างกาย ตรวจ Mammogram มะเร็งตับ ตรวจร่างกาย ตรวจ U/S ตรวจอัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-Fetoprotien) สำหรับไวรัสตับอักเสบบีนั้น ผู้ใหญ่ทุกท่านควรจะทราบว่าตนเองมีภูมิต้านทานแล้วหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิต้านทาน ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคนี้เสีย เพราะไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคเรื้อรังและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจโดยส่องกล้อง ตรวจโดยวิธี X-Ray สวนสารทึบแสง ตรวจ CEA มะเร็งกระเพาะอาหาร ส่องกล้องดูภายในกระเพาะและตัดชิ้นเนื้อมาตรวจทางพยาธิ มะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจทางทวารหนัก ตรวจ PSA มะเร็งปอดหรือหลอดลม การเอกซเรย์ปอด การส่องกล้องเข้าดูภายใน การตรวจเซลล์มะเร็งจากน้ำล้างหลอดลมและตัดชิ้นเนื้อ ขอบคุณที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง