ไวรัสตับอักเสบเอ Hepatitis A
ในอดีตอุบัติการของตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็กอายุระหว่าง 5- 14 ปี ค่อนข้างสูง ในประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย เด็กส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดง หรือไม่แสดงอาการ แต่ก็สร้างภูมิคุ้มกันโรคทำให้ผู้ใหญ่ส่วนมากมีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้
ในปัจจุบัน อุบัติการของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ กำลังลดลงทั้งนี้เนื่องจากอนามัยส่วนบุคคลดีขึ้น ทำให้เด็กติดเชื้อไวรัสนี้น้อยลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จึงไม่มีภูมิต้านทาน ผู้ใหญที่ ได้รับเชื้อจะมีอาการตับอักเสบรุนแรงกว่าเด็ก
อาการของโรคตับอักเสบ เอ จะเริ่มมีอาการ 15-50 วัน หลังจากได้รับเชื้อ
อาการ ของโรคตับอักเสบจะคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสชนิดเอ หรือ บี โดยในระยะ3-7 วันแรก
จะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เจ็บท ี่ใต้ชายโครงขวา ต่อจากนั้นอาจมีอุจจาระสีเหลือง ซีดลง ไข้เริ่มลดลง ผู้ป่วยหยุดอาเจียนและเริ่มไม่อยากกินอาหาร
ในขณะเดียวกับที่สังเกตว่ามีตัวเหลือง ตาเหลือง (ดีซ่าน) เกิดขึ้น อาการดีซ่านนี้จะเป็นราว 1-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติในเวลาไม่เกิน 4-8 สัปดาห์ มีบางรายที่อาจมีดีซ่านร่วมกับอุจจาระสีเหลืองซีดนานเกิน 2 เดือน แต่ที่สุดก็จะหายเป็นปกติไม่มีผู้ใดกลายเป็นโรคตับอักเสบหรือตับแข็ง (ยังไม่มีการรักษาเฉพาะและไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ)
การรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาประคับประคอง โดยให้นอนพักมากๆห้ามเล่นซน ในช่วงที่มีอาการ
ตาเหลือง ควรให้หยุดเรียนอย่างน้อย 2 สัปดาห์นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ ให้ไปโรงเรียนได้เมื่อหายมีอาการอ่อนเพลีย ตาเหลือง ลดลงและปัสสาวะใสขึ้น แต่ ยังห้ามเล่นพละ จนกว่าแพทย์อนุญาต
ในเรื่องอาหารถ้ายังมีอาการคลื่นไส้เบื่ออาหาร ให้อาหาร จำพวกแป้ง และน้ำตาลเช่น น้ำหวาน เมื่อเริ่มกินได้ให้กินอาหารตามปกติ ถ้ากินอาหารไขมัน แล้วท้องอืด หรือปวดท้องให้งดไว้ก่อน ถ้ากินอาหารไม่ได้เลย ให้พบแพทย์
นอกจากนี้ให้เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะพบไม่บ่อยนักคือ ภาวะตับวาย ซึ่งเกิดจากการที่เซลตับถูกทำลายหมดโดยถ้ามีอาการผิดปกติเช่น เอะอะโวยวาย หรือซึมลง มีไข้กลับขึ้นมาอีก ตาเหลืองขึ้นเรื่อยๆ หรือมีเลือดออกผิดปกต ิให้รีบกลับไปพบแพทย์ทันที
เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ติดต่อกันทางเดินอาหารและน้ำผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ จะขับถ่ายเชื้อนี้ ออกมากับอุจจาระเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะมีอาการดีซ่าน ให้เห็น ชัดเจนดังนั้นถ้าไม่รักษาอนามัยส่วนบุคคลให้ดี หรือขับถ่ายไม่เป็นที่ก็จะเกิดอาการแพร่ระบาดได้ง่าย
วิธีป้องกันคือ การให้วัคซีนซึ่งควรฉีดในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ
สำหรับเด็กการฉีดวัคซีนควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ข้อมูลจาก thailabonline.com พ.ญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี