อยากให้ลูกสมองไว พร้อมไว้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

อยากให้ลูกสมองไว พร้อมไว้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

อยากให้ลูกสมองไว พร้อมไว้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“โลกในอนาคตจะมีหน้าตาอย่างไร” “เราต้องเลี้ยงลูกอย่างไร หากต้องการให้เขาเติบโตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในอนาคต” เป็นคำถามที่พ่อแม่ทุกคนอยากรู้คำตอบ แต่คงไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ว่า โลกของเราในอีก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร

ถึงอย่างนั้น ก็มีสิ่งที่เรารู้อย่างแน่ชัด คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจะต้องส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตของลูกหลานของเราอย่างแน่นอน โลกในยุคลูก จะเป็นโลกที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์[1] ทำให้หลายคนเกิดความกังวล ว่าสักวันหนึ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligent: AI) จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ โดยเฉพาะ ตำแหน่งงาน ที่ตอนนี้เราก็พอจะเห็นเค้ารางว่ามีหลายอาชีพที่ AI ทำได้ดีกว่ามนุษย์ นั่นหมายความว่า ทำให้มนุษย์หางานได้ยากขึ้น ลูกของเราคงหางานได้ยากมากขึ้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าด้วยเช่นกัน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้น เราไม่ต้องกังวลว่าลูกของเราจะฉลาดไม่พอที่จะเอาชนะ AI เพราะสมอง คือจุดเริ่มต้นของทุกพัฒนาการของทารก ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้ยิน หรือการเรียนรู้ภาษา การโต้ตอบกับพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก พัฒนาการสมองของทารกในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานของกลไกสมองที่ทำงานร่วมกันในทุกส่วน นักวิทยาศาสตร์เรียกกระบวนการนี้ว่า BRAIN CONNECTION ยิ่งสมองสามารถเชื่อมโยงผ่านกันได้ไวเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้ทารกสมองดี เรียนรู้ได้ไว

คุณสมบัติใดบ้างที่จะทำให้เด็กเติบโต และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในยุค AI

  1. รู้จักตั้งคำถาม และเลือกข้อมูลที่นำไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง ในยุค AI มีข้อมูลมหาศาลอยู่บนอินเทอร์เน็ต เป็นคลังความรู้ขนาดใหญ่ให้กับมนุษย์ ในทางกลับกัน ข้อมูลเหล่านั้น มีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และข้อมูลที่เป็นโทษปะปนกันไป ทักษะที่เด็กยุคใหม่ต้องมี ไม่ใช่ การจำ เพื่อตอบคำถามให้ถูกต้องเหมือนในการเรียนแบบเดิมๆ แต่ต้องมีทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง
  2. มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยน เรียนรู้ไว รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง เพราะในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คนที่จะประสบความสำเร็จได้ คือคนที่มีสมองไว มีความยืดหยุ่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ดี
  3. เป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีรายงานว่า เด็กยุคปัจจุบัน มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นน้อยลง[2]  เพราะสภาพสังคมในปัจจุบัน เด็กๆ เติบโตในครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ทำให้เด็กขาดโอกาสที่จะฝึกการรับรู้ความรู้สึก และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเครือญาติ หรือคนรอบตัว แต่กระนั้น “ความเห็นอกเห็นใจ” เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แม้ว่าการจ้างงานในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายมั่นใจคือ งานที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ได้แก่ งานที่ต้องใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ดังนั้นเด็กที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น

เราจะเลี้ยงดูลูกอย่างไร ให้เป็นเด็กที่มีคุณสมบัติ 3 อย่างที่กล่าวมา

คุณภาพของการเจริญเติบโตของเด็กเกิดจากการผสมผสานกันระหว่าง พันธุกรรมและการเลี้ยงดู (Nature and Nurture) ในด้านของพันธุกรรมนั้น (Nature) เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่การเลี้ยงดูลูกในช่วงปฐมวัย (Nurture) จะเป็นรากฐานที่สำคัญ และกำหนดโครงสร้างสมองของเด็กแต่ละคน การเลี้ยงดูที่ดี ต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

  1. การให้สารอาหารที่ดีและครบถ้วน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มีสมองไวที่พร้อมเรียนรู้
  2. การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับสมองของลูก

[1] Jame Barrat. ‘Why Stephen Hawking and Bill Gates Are Terrified of Artificial Intelligence’, The World Post, 9 June 2015. https://www.huffpost.com/entry/hawking-gates-artificial-intelligence_b_7008706

[2] Jessica Lahey. ‘Why Kids Care More about Achievement than Helping Others’, The Attlantic, 25 June 2014.  www.theatlantic.com/education/archive/2014/06/most-kids-believe-that-achievement-trumps-empathy/373378

สารอาหารใดบ้างที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมองลูก 

โภชนาการที่ดีในวัยเด็ก คือ นมแม่ ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโต และการพัฒนาสมองในขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองเรียนรู้ได้เร็วกว่าช่วงเวลาอื่นๆ ของชีวิต เพราะทุกวินาที จะเกิดการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทถึง 1,000,000 เซลล์ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสทองในการพัฒนาสมองของลูก และเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้การเรียนรู้ต่างๆ ในอนาคตของลูกนั้นดีขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ข้อมูลล่าสุดเผยให้เห็นว่า จุดเริ่มต้นพัฒนาการสมองที่ต่างกันเล็กน้อยในช่วงทารก ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในระยะยาว จนอาจกล่าวได้ว่า สร้างสมองไวเริ่มได้ตั้งแต่วันแรกของชีวิต สารอาหารที่เด็กได้รับในวัยนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการทำงานของเรียนรู้ ซึ่งส่งผลในระยะยาวต่อคุณภาพการเรียนรู้ของคนคนนั้นไปตลอดชีวิต โภชนาการในวัยเด็กเพื่อพัฒนาการที่เหมาะสมของร่างกายลูกควรอุดมไปด้วยอาหารที่ให้พลังงาน อย่าง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ แร่ธาตุกับวิตามินที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต

นอกจากนี้ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สมองที่ก้าวหน้า ทำให้เราค้นพบว่าสารอาหารในนมแม่ เช่น สฟิงโกไมอีลิน มีผลโดยตรงกับการสร้างปลอกไมอีลินของเซลล์สมอง ซึ่งไมอีลินมีความสำคัญในการเพิ่มความเร็วของการส่งกระแสประสาท ทำให้การเรียนรู้ของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น[3] นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) หนึ่งในกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยด้วยการสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) พบว่า มีสารอาหารต่างๆ เช่น สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ เป็นหนึ่งในสารอาหารในนมแม่นั้นมีผลต่อการสร้างไมอีลิน และเด็กที่กินนมแม่มีการสร้างไมอีลินที่เร็วกว่า และมากกว่า

“สฟิงโกไมอีลิน” เป็นไขมันชนิดฟอสโฟไลปิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ และมีไขมันที่มีความจำเพาะต่อการสร้างไมอีลินโดยเฉพาะ ไมอีลินนี้เป็นส่วนของหุ้มเส้นใยประสาทที่จะมาเชื่อมโยงเส้นประสาทต่างๆ อันส่งผลต่อการส่งสัญญาณประสาทและการประมวลผลภายในสมอง สมองเด็กที่มีไมอีลินมากกว่าจะเรียนรู้ได้ไวกว่า โดยเฉพาะเด็กที่ได้นมแม่จะมีการสร้างไมอีลินที่มากกว่า “สฟิงโกไมอีลิน” พบมากในนมแม่ ไข่ นม และชีส ดังนั้นในช่วงแรกของชีวิตของทารก หากได้รับสารนี้อย่าง เหมาะสม จะทำให้สมองดี เรียนรู้ไว

การเลี้ยงดู ที่ทำให้สมองเรียนรู้ได้ดี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ต้องทำอย่างไร

หากต้องการให้ลูกมีคุณสมบัติที่โลกอนาคตต้องการ คือ ต้องเป็นเด็กที่มีสมองไว มีกรอบแนวคิดแบบเติบโต (growth mindset) เพื่อพร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และที่สำคัญเป็นคนใจดี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น จะต้องมี หัวใจหลักในการเลี้ยงดูลูกดังนี้

  1. มีสายสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่าง แม่-ลูก ในช่วง 3 ปีแรกเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด ที่เด็กสร้างสายสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู เป็นคนที่ตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจของเด็ก เมื่อมีสายสัมพันธ์ที่มั่นคงแล้ว เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อโลกใบนี้ เพราะรู้สึกปลอดภัย และมั่นคงในใจ เด็กก็พร้อมที่จะออกไปเรียนรู้สิ่งรอบตัว
  2. สมองเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย ได้แก่ ในช่วง 6 ปีแรก เป็นช่วงวัยที่เด็กต้องฝึกใช้ร่างกายของตนเองให้เพียงพอ ในทุกมิติ เดิน วิ่ง การปีนป่าย กระโดดโลดเต้น ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วน ฝึกการใช้นิ้วมือในทุกนิ้วผ่านการเล่น เช่น การปั้นแป้ง การขยำ ฉีก สัมผัส ระบายสีอิสระ (ไม่ใช่การฝึกคัดลายมือ) จะช่วยให้สมองเด็กพัฒนาได้เต็มที่ ที่สำคัญ เด็กที่ได้ใช้ร่างกายของตนเองเต็มที่ จะรู้จัก การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ตามศักยภาพของตนเอง รู้จักประเมินตัวเองตามสถานการณ์ ได้ฝึกการควบคุม การยับยั้ง ปรับแผน
  3. ให้เด็กได้คิดและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เมื่อลูกต้องเผชิญกับอุปสรรค หากมิใช่เรื่องที่เป็นอันตราย ลองตอบสนองและเข้าไปช่วยเหลือให้ช้าลงสักนิด เราจะมองเห็น “พฤติกรรมการแก้ปัญหา”ของลูก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการเติบโตของเด็ก พ่อแม่ควรทำหน้าที่เหมือนโค้ช คอยชี้แนะ แต่ไม่ครอบงำ ไม่แย่งแก้ปัญหาของลูก เพราะสิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในอนาคต
  4. ฝึกให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยการฝึกสะท้อนอารมณ์ให้กับลูก เพราะก่อนที่ลูกจะเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นได้ เขาต้องเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง วิธีการฝึกสะท้อนอารมณ์ คือ เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงอารมณ์ และพ่อแม่สะท้อนอารมณ์ให้ลูกรู้ ว่าสิ่งที่รู้สึกอยู่ ณ ตอนนั้น คืออารมณ์เศร้า โกรธ น้อยใจ อิจฉา เป็นต้น

เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการเตรียมความพร้อมของลูกน้อยตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับสารอาหารที่มีคุณค่า เปรียบเสมือน วัตถุดิบในการสร้างสมอง อย่างนมแม่ซึ่งถือเป็นโภชนาการที่ดีที่สุดของทารก เพราะอุดมด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิดรวมถึง สฟิงโกไมอีลิน ดีเอชเอ ที่มีส่วนช่วยให้สมอง สามารถเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสฟิงโกไมอีลิน และสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อย เข้าชมได้ที่ S-Mom Club ที่เว็บไซต์ https://www.s-momclub.com/ และสามารถสมัครสมาชิกเพื่อปรึกษาทีมพยาบาลผู้เชี่ยวชาญได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

[3] Nithya Franklyn, Dhanasekhar Kesavelu, Prameela Joji, Rahul Verma, Arun Wadhwa, Chandan Ray. Impact of Key Nutrients on Brain and Executive Function Development in Infants and Toddlers: A Narrative Review, Journal of Food and Nutrition Sciences. Volume 10, Issue 1, January 2022, pp. 19-26. doi: 10.11648/j.jfns.20221001.14

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook