โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง

โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง

โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ผศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรค SLE (Systemic lupus erythematosus) หรือ โรคพุ่มพวง พบได้ทั้งเพศหญิงและชาย โดยเฉพาะคนวัยทำงานตั้งแต่อายุ 20-30 ปี สาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเนื้อเยื่อของตนเอง ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อทุกระบบของร่างกาย ส่งผลให้เป็นไข้ ปวดตามข้อ ผมร่วง มีผื่นแพ้แสง ทั้งนี้ โรค SLE จะมีอาการไตอักเสบร่วมด้วยร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าอันตราย เนื่องจากอาจเกิดภาวะไตวายและเสียชีวิต นอกจากนี้ จากการสำรวจล่าสุดในผู้ป่วย SLE ชาวเอเชีย พบว่า มีโอกาสเกิดการแทรกซ้อนจากไตอักเสบมากกว่าร้อยละ 70 ซึ่งอาจมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ผศ.นพ.ยิ่งยศกล่าวต่อไปว่า โรคไตอักเสบ โดยทั่วไปมีอาการบวมตามแขนขาและตัว ความดันโลหิตสูง และหากอาการรุนแรงจะส่งผลให้เกิดไตวายและเสียชีวิตในที่สุด ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันโรคดังกล่าวยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่หากสามารถตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็วการรักษาผู้ป่วยจะง่ายขึ้น เพราะอาการของโรคมีหลายระดับ การรักษาก็แตกต่างกันไป ล่าสุดทีมวิจัยทำการศึกษาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางอณูชีวโมเลกุลต่อการเกิดโรคไตอักเสบ จากการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยีนในกลุ่ม Growth factor และ Chemokines เพื่อศึกษาการทำงานของยีนดังกล่าว เบื้องต้นพบว่ายีนกลุ่มนี้มีกลไกบางอย่างที่สำคัญต่อการเกิดภาวะไตอักเสบ "ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างปัสสาวะในผู้ป่วยมาทำการศึกษาดูปริมาณของยีนกลุ่มดังกล่าว แล้วนำมาเปรียบเทียบกับผู้ป่วยปกติ ซึ่งพบว่า ผลการตรวจมีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 80 โดยผู้ป่วยที่มีภาวะไตอักเสบจะมีปริมาณยีนในกลุ่มนี้มาก ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับยีนของผู้ป่วยปกติกลับไม่พบยีนกลุ่มนี้เลย" ผศ.นพ.ยิ่งยศกล่าว ผศ.นพ.ยิ่งยศกล่าวว่า การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงเบื้องต้น เนื่องจากทดลองในผู้ป่วย SLE เพียง 40 ราย จึงจำเป็นต้องมีการทดลองต่อไป อย่างไรก็ตาม นอกจากเทคนิคดังกล่าวจะสามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย SLE ว่ามีภาวะไตอักเสบหรือไม่ได้อย่างแม่นยำแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัว เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจวินิจฉัยปัจจุบัน คือ การเจาะไตและนำเนื้อไตมาตรวจพยาธิสภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัวและอาจได้รับอันตรายได้ "การตรวจวินิจฉัยด้วยระบบอณูชีวโมเลกุล นอกจากจะได้ผลที่แม่นยำ ยังช่วยให้แพทย์ทราบถึงระดับความรุนแรงของโรคและบ่งบอกถึงผลการตอบสนองของการรักษาได้ และแพทย์ยังสามารถปรับวิธีการรักษาและการให้ยาแก่ผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะหากตรวจพบเร็ว การรักษาย่อมง่ายขึ้น" ผศ.นพ.ยิ่งยศกล่าว

ชวนเพื่อนชาวสนุก! มาสร้างชุมชนที่น่าอยู่
พบเห็นข้อความไม่เหมาะสม ข้อความโฆษณาที่รบกวนการแสดงความคิดเห็นของคุณ โปรดช่วยกันคลิก แจ้งลบ นะคะ
เพื่อเราจะได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และเพื่อชุมชนชาวสนุก! ที่น่าอยู่ค่ะ ช่วยกันคลิกเยอะๆ นะคะ ขอบคุณมากค่ะ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง

โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง
โรค SLE หรือ โรคพุ่มพวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook