รู้จัก "โพรไบโอติกส์" จุลินทรีย์ดี ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เพิ่มโอกาสท้องง่าย

รู้จัก "โพรไบโอติกส์" จุลินทรีย์ดี ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เพิ่มโอกาสท้องง่าย

รู้จัก "โพรไบโอติกส์" จุลินทรีย์ดี ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธุ์ เพิ่มโอกาสท้องง่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในร่างกายเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่ตั้งแต่เกิด ทั้งระบบทางเดินหายใจ ภายในช่องปาก บริเวณผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะ และระบบเจริญพันธุ์ ได้แก่ ช่องคลอด และ มดลูก รวมถึงอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะ “ลำไส้” ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่ที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่รวมกันจำนวนมหาศาล ทั้ง “จุลินทรีย์ชนิดดี” หรือที่เรียกว่า “โพรไบโอติกส์” และ “จุลินทรีย์ชนิดร้าย” ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งหากจุลินทรีย์ในร่างกายมีความสมดุลจะช่วยให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างปกติ ป้องกันไม่ใช้เชื้อก่อโรคจับกับผนังเยื่อบุลำไส้ เยื่อบุผนังช่องคลอด รวมถึงเยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งล้วนส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในสตรีเตรียมตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร 



ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์และผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th เผยว่า จากประสบการณ์ที่ครูก้อยให้คำปรึกษา ผู้มีบุตรยากในเพจ BabyAndMom มาถึง 7 ปี ทำให้ครูก้อยได้ทราบถึงปัญหาที่ส่งผลต่อการมีบุตรยาก อีกหนึ่งสาเหตุที่ทุกคนมองข้าม นั่นคือ สุขภาพของระบบลำไส้ เพราะภูมิคุ้มกันที่ดีมาจากลำไส้ถึง 70 % ลำไส้ เนื่องจากในลำไส้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งกระจายตัวอยู่ในลำไส้เป็นส่วนใหญ่มากถึง 70% ซึ่งจะสร้างแอนติบอดี้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายถึงวันละ 3.5 กรัม กระจายไปทั่วเยื่อบุในลำไส้ โดยมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็กจำนวนมากทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคได้ ซึ่งหากมีโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย โดยการสร้างระบบสารภูมิต้านทานให้เข้าสู่กระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองที่มีหน้าที่สำคัญในการผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ และช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ภายในร่างกาย

ซึ่งลำไส้ทำงานเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท ระบบขับถ่าย รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน หากลำไส้อ่อนแอ ทำงานได้ไม่ดี ร่างกายของเราก็จะป่วยง่ายตามไปด้วย ซึ่งหากเชื้อจุลินทรีย์ในร่างกายขาดความสมดุล มีจุลินทรีย์ชนิดดี หรือ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) น้อยกว่า จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรคจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยต่างๆ  ที่เราคาดไม่ถึงได้ เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีค่าการอักเสบในร่างกายสูง และโรคทางสูติศาสตร์ด้วย เช่น  การติดเชื้อในช่องคลอด,  PH ในช่องคลอดไม่สมดุล, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน, การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ, การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ค่าการอักเสบในร่างกายยังส่งผลต่อภาวะ POCS ถุงน้ำในรังไข่หลายใบ, มีรอบเดือนห่าง, ท่อนำไข่อุดตัน ซึ่งล้วนส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก  


ครูก้อย นัชชา กล่าวเสริมว่า ในคุณแม่ตั้งครรภ์โพรไบโอติกส์ยังช่วยให้ทารกในครรภ์ได้รับแบคทีเรียดี ๆ ไปจนถึงตอนคลอด และช่วงให้นม สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์หากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ลดลง ทั้งใน ลำใส้ รก หรือช่องคลอด มักจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ ตามมา เช่น ท้องเสียได้ง่าย การดูดซึมอาหารไม่ดี มีอาการท้องผูก ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ง่าย หรือ ติดเชื้อบริเวณช่องคลอด

โดยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่มีการทดสอบและได้รับการรับรองผลการวิจัยทางการแพทย์มาแล้ว ว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพได้จริงที่โดดเด่น มี 2 กลุ่ม คือ Bifidobacterium และ Lactobacillus โดยสอดคล้องกับผลการศึกษางานวิจัยหลายฉบับ ดังนี้

งานวิจัย เรื่อง Digestive & Immune Health ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Miracles of Science ปี 2013 จากศึกษาทดลอง โดยให้กลุ่มทดลองทาน Bifidobacterium lactis HN019™ วันละ ครั้ง ปริมาณ 10 พันล้านตัว เป็นเวลา 14 วัน  พบว่า Bifidobacterium lactis HN019™  แสดงฤทธิ์ที่เป็นปฏิปักษ์กับเชื้อโรคในทางเดินอาหารทั่วไปและจุลินทรีย์จากอาหาร ส่งผลให้ระดับแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น และยังช่วยลดเวลาการขนส่งในลำไส้ ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารสบายขึ้น ลดการท้องอืด ลดแก๊สไข่เน่า

ครูก้อย นัชชา กล่าวด้วยว่า สำหรับสตรีที่วางแผนตั้งครรภ์การมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น ทั้งการท้องธรรมชาติ และการทำเด็กหลอดแก้ว โดยหากร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ส่งผลให้ร่างกายอักเสบ ซึ่งการอักเสบส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก“โพรไบโอติกส์” ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ โดยมีรายงานวิจัยเรื่อง Enhancement of Natural immune function by dietary consumption of Bifidobacterium lactis (HN019) ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร European Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2000 ได้ทำการศึกษาทดลองในกลุ่มตัวอย่างโดยให้ทาน Bifidobacterium lactis HN019 / 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์  เป็นเวลา 6  สัปดาห์ติดต่อกัน  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ทานมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติดีขึ้น โดยวัดจาก ระดับของ Interferon Alpha ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย


นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยศึกษาพบว่า กลุ่มโพรไบโอติกส์ สายพันธุ์ Lactobacillus สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียยก่อโรคที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบได้ อ้างอิงงานวิจัยเรื่อง Effect of Lactobacillus rhamnosus and Lactobacillus acidophilus on bacterial vaginal pathogen ที่ตีพิมพ์ใน วารสาร International Journal of Immunopathology and Pharmacology ปี 2017 ได้ทำการศึกษาถึงสรรพคุณของโพรไบโอติกส์สองสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลชีพหรือแบคทีเรียในช่องคลอด ได้แก่ สายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus HN001  และ- Lactobacillus acidophilus La-14 โดยทำการทดสอบจากการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ช่องคลอดอักเสบทั้งชนิด E.coli และ S.aureus โดยใส่โพรไบโอติกส์ทั้งสองชนิดในการเพาะเชื้อ พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากการฟักตัวและเจริญเติบโตได้ 100%

การได้รับโพรไบโอติกอย่างเพียงพอตั้งแต่ในช่วงเตรียมตัวตั้งครรภ์จะมีประโยชน์ต่อทั้งตัวคุณแม่ และส่งผลต่อเนื่องให้ทารกในครรภ์ รวมถึงช่วงคลอดที่ทารกจะได้รับแบคทีเรียชนิดดีที่บริเวณช่องคลอด และช่วงให้นมที่ลูกจะได้รับแบคทีเรียที่ดีจากน้ำนม ทำให้ลำไส้ของลูกแข็งแรงขึ้นด้วยและมีภูมิคุ้มกันที่ดีตาม  หรือแม้แต่ในคนทั่วไป ก็ต้องเสริมโพรไบโอติกส์ เพื่อช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้ ป้องกัน และบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก ด้วย Ferty Probiotics By KruKoy ที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีต่อระบบลำไส้และระบบภายในสตรี และมีพรีไบโอติกส์ช่วยเสริมการทำงานของโพรไบโอติกส์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถติดตามความรู้และเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะกับผู้ที่เตรียมตั้งครรภ์และมีผู้บุตรยากในการดูแลสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th หรือ แอดไลน์ปรึกษาครูก้อยได้โดยตรงผ่านทางไลน์แอด @babyandmom.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook