ตอบคำถาม "มะเร็งเต้านม" คนโสดเสี่ยงกว่า ก้อนเจ็บไหม เมมโมแกรมแล้วเสี่ยง ?

ตอบคำถาม "มะเร็งเต้านม" คนโสดเสี่ยงกว่า ก้อนเจ็บไหม เมมโมแกรมแล้วเสี่ยง ?

ตอบคำถาม "มะเร็งเต้านม" คนโสดเสี่ยงกว่า ก้อนเจ็บไหม เมมโมแกรมแล้วเสี่ยง ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2565 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ในประเทศไทย จำนวน 38,559 ราย คิดเป็น 30.9% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด โดยพบมากในผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมา คือ อายุ 50-59 ปี จำนวน 12,181 คน และอายุ 40-49 ปี จำนวน 5,177 คน อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ในปี 2565 อยู่ที่ 10.2% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด โดยพบมากในผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 3,616 ราย รองลงมา คือ อายุ 50-59 ปี จำนวน 2,272 คน และอายุ 40-49 ปี จำนวน 1,071 คน

แนวโน้มของการเกิดมะเร็งเต้านมในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 1,882 ราย หรือคิดเป็น 5.3% จากข้อมูลเหล่านี้ผู้หญิงหลายๆ คนจึงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ซึ่ง "พญ.พรรณลดา ฉันทศาสตร์รัศมี" สูตินรีแพทย์โรงพยาบาลวิมุต ได้ให้คำตอบต่อคำถามต่างๆ ไว้ดังนี้

Q :ความคิดที่ว่ามะเร็งเต้านม "ผู้หญิงโสด" เสี่ยงเป็นมากกว่า "ผู้หญิงมีครอบครัว" ยังเป็นแบบนั้นอยู่ไหม

A: จริงๆ มันก็ยังมีข้อมูลนั้นอยู่เพราะว่าผู้หญิงในช่วงตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนตัวหนึ่งซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ไม่ใช่ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเต้านม หรือมะเร็งเต้านม เหมือนเราได้พักในช่วงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร และสำหรับตัวเลขที่จำเพาะเลยคือผู้หญิงที่มีลูกคนแรกก่อนอายุ 35 ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องความเสื่อมตามอายุด้วย

Q : ระยะหลังเราเห็นผู้ที่มีครอบครัว คุณแม่ เป็นมะเร็งเต้านมด้วย

A : มะเร็งเต้านมมีหลายชนิด และมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัย เช่นพันธุกรรม ถ้ามีคนในครอบครัวเป็น ญาติสายตรงเป็นก็มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นในมะเร็งเต้านมบางชนิด เพราะจริงๆ แล้วมะเร็งเต้านมมีหลายชนิด รวมทั้งผู้ที่มีอายุมากขึ้นก็มีความเสี่ยงมากขึ้น

มะเร็งเต้านม

Q : สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมยังไม่มีการยืนยันชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใดใช่ไหมคะ

A: ใช่ค่ะ เพราะมันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย และอย่างที่บอกว่ามะเร็งเต้านมมีหลายชนิด จะแตกต่างจากมะเร็งปากมดลูก ที่ตอนนี้เรารู้แล้วว่าประมาณ 80-90 % เกิดจากเชื้อไวรัส HPV แต่ถามว่าเกิดจากสาเหตุอื่นร่วมด้วยได้ไหมก็มี

Q : วิธีการลดความกังวลต่อการเกิด "มะเร็งเต้านม" สำหรับผู้หญิง

A : อยากให้ผู้หญิงตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างน้อยทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง เพราะเขาอยู่กับเรา เราอยู่กับเขาอยู่แล้ว ยืนส่องกระจกดูว่าเต้านมเท่ากันไหม มีตรงไหนที่เปลี่ยนแปลงไป คลำดูทั่วๆ ซึ่งผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไปสามารถเริ่มตรวจเต้านมได้ด้วยตัวเองแล้ว สำหรับคนที่ไม่มีความเสี่ยงประมาณอายุ 40-50 ปีค่อยเริ่มตรวจคัดกรองด้วยการเมมโมแกรม หรืออัลตราซาวด์เต้านม

Q :การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำเมมโมแกรม ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง

A: รังสีในการทำเมมโมแกรมนั้นมีจำนวนน้อยมาก หากเทียบกับการรักษามะเร็ง



Q : สัญญาณเตือนมะเร็งเต้านม ที่บอกว่าควรไปพบแพทย์

A : ถ้าเราตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมะเร็งนั้นโดยธรรมชาติการเติบโตของเขาจะโตเร็ว ดังนั้นไม่ต้องรอถึงเดือนเราอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลง ส่วนสัญญาณเตือนมีทั้งการคลำได้ก้อน ผิวบริเวณเต้านมเปลี่ยนแปลงไปทั้งสี ลักษณะผิวเหมือนผิวเปลือกส้ม หัวนมบุ๋มเข้าไปทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นฯลฯ

Q : ก้อนของมะเร็งเต้านม คลำแล้วให้ความรู้สึกเจ็บ หรือไม่เจ็บ

A : มีทั้งเจ็บ-ไม่เจ็บ ขึ้นกับบริเวณที่เป็น ถ้าก้อนโตเร็วก็เจ็บ หรือบางคนเป็นแผลขึ้นมาที่ผิวก็มี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook