สคบ.เตือน 8 เรื่องต้องเช็กก่อนซื้อ "หม้ออบลมร้อน" เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน

สคบ.เตือน 8 เรื่องต้องเช็กก่อนซื้อ "หม้ออบลมร้อน" เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน

สคบ.เตือน 8 เรื่องต้องเช็กก่อนซื้อ "หม้ออบลมร้อน" เลือกผิดชีวิตเปลี่ยน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าในปัจจุบันเกือบทุกบ้านต้องมี "หม้ออบลมร้อน" หรือที่เรียกกันว่า "หม้อทอดไร้น้ำมัน" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทำอาหารชนิดหนึ่งที่ใช้ความร้อนจากกระแสลมร้อนในการปรุงอาหารต่างจากเตาอบทั่วไปที่ใช้ความร้อนจากรังสีความร้อน แต่ทราบหรือไม่ว่า "หม้ออบลมร้อน" เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ที่มีการเผยแพร่ประกาศอย่างเป็นทางการจากราชกิจจานุเบกษา เมื่อเป็นแบบนี้แล้วก่อนเลือกซื้อหม้ออบลมร้อนมาใช้ที่บ้านจะต้องพิจารณาหรือเช็กเรื่องอะไรบ้างเพื่อให้เราได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย

8 เรื่องต้องเช็กก่อนซื้อ "หม้ออบลมร้อน"

  1. ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า
  2. ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
  3. สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย
  4. สินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิต
  5. แสดงวิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง
  6. ข้อห้ามใช้ เช่น "ห้ามนำภาชนะที่ทำจากพลาสติก หรือโฟมเข้าหม้ออบ
  7. ข้อแนะนำในการใช้หรือการเก็บรักษา
  8. คำเตือน "ห้ามใช้งานเมื่อพบว่าสารเคลือบผิวของหม้ออบลมร้อน หรือตะแกรงหลุดร่อน

หม้ออบลมร้อน

สำหรับรายละเอียดการประกาศของราชกิจจาคือ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ให้ “หม้ออบลมร้อน” หม้อทอดไร้น้ำมัน เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ลงวันที่ 27 เมษายน 2566 กำกับดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งประกาศฉบับนี้ จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก สคบ. ระบุว่า ปัจจุบัน “หม้ออบลมร้อน” ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการทำอาหาร โดยใช้ลมร้อนหมุนเวียนในภาชนะบรรจุ เช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก มีวิธีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย

ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้า และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค จึงเห็นสมควรกำหนดให้ “หม้ออบลมร้อน” เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก

โดยฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องระบุข้อความ รูป รอยประดิษฐ์หรือภาพตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี แต่ข้อความนั้นจะต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น และต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศ เพื่ออธิบายให้เข้าใจความหมายของรูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook