สาวๆ ท้องผูก ต้องรู้ไว้ พรีไบโอติก และ โพรไบโอติก ดีกับร่างกายอย่างไร
สาวๆ ที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย มีอาการท้องผูก ถ่ายยาก หรือท้องเสียเรื้อรัง รวมถึงคนที่ลำไส้ทำงานไม่ค่อยดี อยากปรับสมดุลลำไส้ และแก้ไขปัญหาท้องผูก ต้องมาทำความรู้จักกับตัวช่วยหลักคือ พรีไบโอติก และโพรไบโอติก ที่ทำงานควบคู่กันจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการดูแลลำไส้ เสริมสร้างเกราะป้องกัน และลดการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องโรคต่างๆ มากมาย นับว่าเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ถ้าอย่างนั้นแล้วเราไปทำความรู้จักพรีไบโอติก และโพรไบโอติกให้ดียิ่งขึ้นกันดีกว่า ว่าทั้งสองอย่างนี้ทำงานแบบไหน และดีกับร่างกายอย่างไร
โพรไบโอติก คืออะไร?
เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นแบคทีเรียชนิดที่ดีกับร่างกายของมนุษย์ มีคุณสมบัติเด่นตรงที่ทนต่อความเป็นกรดและด่างได้ดี จึงทำให้สามารถจับที่ผิวของบริเวณเยื่อบุลำไส้ ค่อยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และยับยั้งแบคทีเรียที่ไม่ดี อันก่อให้เกิดโรค
พรีไบโอติก คืออะไร ?
พรีไบโอติก เป็นอาหารของโพรไบโอติกอีกที ทำงานร่วมกันจะทำให้ประสิทธิภาพการปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหารนั้นดียิ่งขึ้น ช่วยทั้งกระตุ้นการทำงาน และส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก
และเมื่อโพรไบโอติกและพรีไบโอติก มาผสานกันจะได้ “ซินไบโอติก” ซึ่งโพรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบลำไส้ สามารถช่วยปรับสมดุล และทำให้ลำไส้แข็งแรง ส่วนพรีไบโอติก เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ร่างกายย่อยและดูดซึมไม่ได้ เป็นอาหารของโพรไบโอติกอีกที โดยพรีไบโอติกจะส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติกให้ดีขึ้น
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น “พรีไบโอติก” คืออาหารของ “โพรไบโอติก” อาหารที่ดีย่อมช่วยให้การทำงานของโพรไบโอติกดีขึ้น ซึ่ง สารอาหารในกลุ่ม Human Milk Oligosaccharides (HMOs) เป็นพรีไบโอติกชนิดพิเศษ อาหารชั้นดี มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ซึ่งจะพบได้ในน้ำนมแม่เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะวิทยาการด้านโภชนาการที่มีความล้ำหน้ามากกว่าที่เราคิดทำให้ผู้ใหญ่อย่างเรารับสารอาหารตัวนี้ได้ ซึ่งมีประโยชน์และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายด้วย ซึ่งมีอาหารเสริมที่สามารถให้พรีไบโอติก ที่มีอาหารสาร 2’-FL HMO กลุ่มนี้อยู่ด้วย
พรีไบโอติกทำงานอย่างไร ?
เนื่องด้วยพรีไบโอติกเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ที่ไม่สามารถถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้เล็กได้ ดังนั้นอาหารเหล่านี้จึงถูกลำเลียงไปที่ลำไส้ใหญ่ ได้โดยที่รูปแบบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย หลังจากนั้นจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียของโพรไบโอติก นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมถึงเรียกพรีไบโอติก ว่าเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง
ประโยชน์ของ พรีไบโอติก และ โพรไบโอติก (ซินไบโอติก)
- รักษาและป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
- ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก
- รักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง
- กระตุ้นการย่อยอาหาร จากเอมไซน์หลายชนิด
- ยับยั้งแบคทีเรียที่ไม่ดี
- เสริมสร้างภูมิต้านทางให้กับร่างกาย
- ลดภาวะติดเชื้อในช่องคลอด
- ลดโอกาสเป็นโรคทางเดินปัสสาวะ
- ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ที่เสียไป
พรีไบโอติก ธรรมชาติ มีอะไรบ้าง?
อันที่จริงแล้วพรีไบโอติก และโพรไบโอติก นั้นพบเจอได้จากอาหารที่ต่างชนิดกัน ดังนี้ โพรไบโอติกจะพบได้จาก โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดอง มิโสะ หรือชีสบางชนิด อย่าง เชดด้าชีส หรือเนยแข็งเกาด้า ส่วนพรีไบโอติก จะพบได้จาก หัวหอม กระเทียม ถั่วแดง ถั่วเหลือง และไฟเบอร์ในผักต่างๆ ซึ่งคุณจะรับพรีไบโอติก และโพรไบโอติกได้จากการรับประทานอาหารเหล่านี้
ไม่ใช่แค่เรื่องระบบขับถ่ายเท่านั้น ที่พรีไบโอติก และโพรไบโอติกจะมีส่วนช่วยที่ดี แต่ยังรวมไปถึงการปรับสมดุล และเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบลำไส้ ซึ่งไม่ว่าเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ ต่างก็ต้องการตัวช่วยจากจุลินทรีย์เหล่านี้ ถ้าไม่มีเวลาอย่ารอช้าให้อาหารเสริมเป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่ช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในร่างกายมาปรับสมดุลลำไส้ และร่างกายกันดีกว่า