วิธีอ่านค่าความดันโลหิต ค่าเท่าไรปกติ แบบไหนอันตราย

วิธีอ่านค่าความดันโลหิต ค่าเท่าไรปกติ แบบไหนอันตราย

วิธีอ่านค่าความดันโลหิต ค่าเท่าไรปกติ แบบไหนอันตราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เวลาไปหาหมอสิ่งแรกที่เราจะต้องทำกันก็คือการชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง และการวัดความดันโลหิต ซึ่งการวัดความดันโลหิตถือเป็นข้อมูลที่สำคัญมากเป็นอันดับหนึ่งที่แพทย์จะใช้ในการประเมินอาการผู้ป่วย การวินิจฉัยโรค และการติดตามผลการรักษาโรค แต่ทราบกันหรือไม่ว่าเราเองก็สามารถอ่านค่าความดันโลหิตได้ด้วยตนเองว่าค่าไหนปกติ แบบไหนเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง

วิธีอ่านค่าความดันโลหิต

ความดันโลหิตคือค่าการบีบตัวของหัวใจ และดันเลือดจากหัวใจไปตามเส้นเลือดแดงเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

โดยปกติเวลาวัดความดันโลหิตจะได้ตัวเลขออกมา 3 ตัว

1.SYS  (Systolic Blood Pressure)เลขตัวบนคือค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว  หรือเรียกกันว่าค่าสูง ค่าความดันโลหิตที่เหมาะสมคือ 90-119 mmHg
2.DIA (Diastolic Blood Pressure) เลขตัวกลางคือค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว หรือเรียกกันว่าค่าต่ำ ความดันโลหิตที่เหมาะสมคือ 60-79 mmHg
3.PUL เลขตัวสุดท้ายคือชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจ

สำหรับค่าตัวเลขที่เราใช้ดูความดันโลหิตจะดูที่ค่าสูง (SYS) กับ ค่าต่ำ (DIA) โดยทั่วไปแล้ว ความดันโลหิตที่เหมาะสมของคนปกติจะต้องไม่เกิน 120/80 mmHg. ซึ่งก็คือค่าสูงไม่เกิน 120 ค่าต่ำไม่เกิน 80 (โดยควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง รวมไปถึงหลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกาย) ซึ่งไม่ควรเกิน 140/90 mmHg.นอกจากนั้นควรลดลงขณะนั่งพัก หรือนอนหลับ หากมีการวัดความดันโลหิต 2 ครั้งแค่ยังเกินถือว่าเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันแบบไหนอันตราย


การวัดความดันโลหิต
สำหรับค่าความดันที่เริ่มส่อแววว่าคุณจะมีความดันโลหิตสูงก็คือค่าตัวเลขที่แดง สำหรับใครที่ไม่อยากเสี่ยงความดันโลหิตสูง หรือหากความดันโลหิตสูงอยู่แล้วสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหารได้ตามคำแนะนำเหล่านี้

การชะลอโรคความดันโลหิตสูงสามารถทำได้ด้วยการปรับวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน โดยแนวทางที่สำคัญมีดังนี้

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

  • ลดน้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยลดปริมาณอาหารลง เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และเกลือสูง
  • ควบคุมความดันโลหิต ควรวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและลดความดันโลหิต โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
  • งดสูบบุหรี่ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ดังนั้นควรงดสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่โดยเร็วที่สุด
  • ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ควรจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ให้ไม่เกินวันละ 1 แก้ว
  • พักผ่อนให้เพียงพอ การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความดันโลหิตได้ โดยควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook