5 เรื่องน่ารู้ ทำไมคู่รักวัย Gen Z ถึงกลัวการแต่งงานมากขึ้น
จากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ความฝันอันแสนโรแมนติก ในการแต่งงานที่ตามทางเดินจะเต็มไปด้วยดอกไม้ ทำให้คู่รักหนุ่มสาวจำนวนมาก เริ่มทบทวนความสำคัญของการแต่งงานมากขึ้น จึงเกิดเป็นการการสำรวจล่าสุดที่เปิดเผยว่ากว่า 75% ของคู่รักยุค Gen Z เกิดความรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งมากขึ้น และมาพร้อมหลายเหตุผลที่ทำให้คนในวัยนี้เริ่มกลัวงานแต่งมากขึ้น นี่คือ 5 เรื่องทำไมคู่รักวัย Gen Z ถึงกลัวการแต่งงานมากขึ้น
5 เรื่องทำไมคู่รักวัย Gen Z ถึงกลัวการแต่งงาน
1.มีค่าใช้จ่ายกับงานแต่งที่สูงมาก
ความฝันในงานแต่งที่สวยงาม มักเปรียบได้กับงานศิลปะอันล้ำค่า จึงมีราคาเฉลี่ยประมาณ 1 ล้านบาทต่องาน จากและอาจจะเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเงิน คนรุ่นใหม่ในยุค Gen Z จึงรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าที่จะจัดงนใหญ่โตแล้วเสี่ยงเป็นหนี้ไปด้วย ทั้งยังรู้สึกว่างานแต่งไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นในความรัก ทั้งยังมาเจอกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจ จึงคิดว่าการอยู่ด้วยกันแบบผู้ใหญ่รับรู้ ไม่ต้องจัดใหญ่โต ก็น่าจะดีกว่า
2.ไม่ชอบการผูกมัด
แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด ไม่มีปัญหาในเรื่องเหล่านี้ ช่วยให้เกิดความอิสระในการดำเนินชีวิต และการสำรวจความปรารถนาที่แท้จริงของแต่ละคน จึงเกิดเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนสนิทหรือคนรู้จัก ให้นิยามความสัมพันธ์แบบเปิด หรือสไตล์ One Night Stands ที่ไม่จำเป็นต้องแต่งงาน แค่เพียงมีความสัมพันธ์คืนเดียวก็เพียงพอแล้ว หรืออาจะเป็นเพียงบัดดี้ที่ไม่จำเป็นต้องผูกมัดใด ๆ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้ไปเจอคนใหม่หรือคนที่ดีกว่าได้ตลอดเวลา
3.ให้ความสำคัญและความเข้าใจตัวเองมากขึ้น
คนยุคนี้ให้ความสำคัญกับตนเองมาก ไม่ใช่เพราะเห็นแก่ตัว แต่เป็นเพราะเข้าใจถึงความรับผิดชอบของตนเอง ต่อความสำเร็จและความสุขส่วนตัว เน้นดูแลตัวเองก่อนที่จะดูแลผู้อื่น ซึ่งมีราวกว่า 75% ของผู้ตอบแบบสำรวจ Gen Z ต้องการเป็นโสดและไม่กระตือรือร้นในการหาคู่ครอง เพราะความปรารถนาที่จะใช้เวลาตามลำพัง และมุ่งเน้นไปที่การค้นพบตัวเอง ก่อนที่จะสานต่อความสัมพันธ์โรแมนติกไปจนถึงขั้นมีครอบครัว
4.ไม่ชอบความกดดันในชีวิตคู่
ความสัมพันธ์ที่ผูกมัด ก่อให้เกิดความกดดัน และความน่าอึดอัดใจหลายอย่าง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่มองหาโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างอิสระ จึงเป็นเหมือนทางเลือกหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบความสัมพันธ์ไม่กี่แบบ ที่สังคมกำหนดไว้ให้ ทั้งนี้การเลือกที่จะอยู่กับใครสักคน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องหวาดกลัวหรือเป็นกังวล เพียงแต่ต้องสื่อสารระหว่างคู่ของตนให้ชัดเจนว่าแต่ละฝ่าย มีความต้องการแบบไหน มีเงื่อนไขการใช้ชีวิตอย่างไร และถามตัวเองว่าพร้อมที่จะประนีประนอมในความสัมพันธ์นั้น ๆ หรือไม่
5.ต้องการประสบความเร็จก่อน
การแต่งงานหรือเลือกที่จะมีความสัมพันธ์แบบผูกพัน ไม่ใช่สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ เพราะคนในยุค Gen Z จัดลำดับความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายชีวิตที่ต้องประสบความเร็จ ก่อนที่จะปักหลัก บางคนอาจเป็นโสด โดยไม่มีใครไปอีก 10 หรือ 20 ปี แต่จะเน้นการสร้างฐานะทางการเงิน บางคนอาจตั้งเป้าหมายการแต่งงาน หลังจากมีบ้าน มีรถ และมีงานทำที่มั่นคง หรือบางคนอาจไม่เคยคิดจะแต่งงานเลย
คนจากยุค Generation Z มีแนวโน้มที่จะแสวงหาความสัมพันธ์ระยะสั้น หรือชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น เพราะมักจะใช้เวลานานกว่าในการหาคนที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารด้วยได้อย่างแท้จริง โดยให้ความสำคัญกับทัศนคติ ความชอบ และความสนใจส่วนตัว มากกว่าการมุ่งเน้นไปที่การแต่งงานใหญ่โต