ผลิตภัณฑ์สุขภาพใดบ้างที่จำเป็นต้องมี อย.

ผลิตภัณฑ์สุขภาพใดบ้างที่จำเป็นต้องมี อย.

ผลิตภัณฑ์สุขภาพใดบ้างที่จำเป็นต้องมี อย.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข่าวการบุกทลายโรงงานหรือบริษัทผลิตอาหารปลอม ยาปลอม เครื่องสำอางปลอม มีให้เห็นตามหน้าข่าวอยู่ทุกวัน จนทำให้ใครหลายคนเกิดสงสัยว่าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราซื้อมาไว้อุปโภคบริโภคในบ้านของตัวเองนั้น เป็นของจริงหรือของปลอมกันแน่ ถ้านำมากินนำมาใช้แล้วจะเกิดผลลัพธ์อะไรกับตัวเองบ้างก็ไม่รู้ นี่เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ

แต่จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพในประเทศไทย จะมีมาตรฐานที่ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ สามารถมั่นใจได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เราซื้อมานั้น สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากผ่านเกณฑ์การพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัยมาแล้ว ตามหลักเกณฑ์ของ “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)” โดยจะมีการออกเป็นเครื่องหมายรับรองว่าผ่านการอนุญาตหรือมีการนำผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เข้ามาจดแจ้งกับทาง อย. แล้ว

อย. หรือสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนใหญ่ก็จะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง ฉะนั้น เครื่องหมาย อย. จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้ผู้บริโภครับทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าสินค้าที่เราเลือกมีมาตรฐาน นอกจากนี้ หากใครคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับการขอเครื่องหมาย อย. ไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ทำเรื่องขอให้ถูกต้อง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องมีเครื่องหมายนี้

สัญลักษณ์ที่แสดงว่าผ่านการอนุญาตหรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว

เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน โดยจะต้องผ่านการพิจารณาในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่าย ตรงตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

1.สัญลักษณ์สารบบอาหาร หรือสัญลักษณ์ อย. ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ สัญลักษณ์นี้จะมีในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งจะต้องมีตัวเลข 13 หลัก โดยแต่ละหลักแสดงรายละเอียด ดังนี้

2. สัญลักษณ์ทะเบียนยา จะพบในผลิตภัณฑ์ยา ทั้งยาแผนปัจจุบัน ยาแผนไทย หรือยาแผนโบราณ ก็จะมีเลขทะเบียนตำรับยาแสดงไว้บนฉลากเสมอ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่ายานี้ผ่านการอนุญาต หรือจดแจ้งกับ อย. แล้ว โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้

โดยตัวอักษร A-N จะใช้แทนประเภทของยา มีความหมายดังนี้

A-F ยาแผนปัจจุบัน

  • A คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ
  • B คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ
  • C คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ
  • D คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ
  • E คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ
  • F คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ

G-N ยาแผนโบราณ

  • G คือ ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ
  • H คือ ยามนุษย์แบ่งบรรจุ
  • K คือ ยามนุษย์นำหรือสั่งเข้าฯ
  • L คือ ยาสัตว์ผลิตภายในประเทศ
  • M คือ ยาสัตว์แบ่งบรรจุ
  • N คือ ยาสัตว์นำหรือสั่งเข้าฯ

3. สัญลักษณ์เลขที่ใบรับแจ้ง จะพบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นเลขที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นได้ดำเนินการแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขายหรือนำเข้าแล้ว โดยจะมีตัวเลข 10 หลัก หรือ 13 หลัก โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

การแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์

เคยสังเกตหรือไม่ว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ หรือวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จะไม่ได้มีเครื่องหมาย อย. บนฉลากทุกประเภท โดยจะมีการกำหนดว่าผลิตภัณฑ์ใดต้องมีเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์ใดที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย อย.

  1. ผลิตภัณฑ์อาหาร ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร โดยมีตัวเลข 13 หลักในเครื่องหมาย อย. สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ไม่กำหนดให้ต้องขอเลข อย. แต่สามารถยื่นขอได้ โดยสถานที่ผลิตต้องผ่านหลักเกณฑ์
  2. เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต ต้องแสดงเลขรับจดแจ้งว่าผลิตหรือนำเข้า แจ้งรายการละเอียดการอนุญาต ในเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ถุงยางอนามัย ถุงมือยางสำหรับศัลยกรรม ชุดตรวจเชื้อ HIV และคอนแทคเลนส์
  3. วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน โดยจะมีตัวอักษร วอส. ตามด้วยเลขทะเบียนและปี พ.ศ. ในกรอบเครื่องหมาย อย. เช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกัน/กำจัด/ไล่แมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่ใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. 

  1. ผลิตภัณฑ์ยา แต่ต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา
  2. เครื่องสำอาง แต่ต้องแสดงเลขที่รับจดแจ้ง โดยกำหนดให้เป็นตัวเลข 10 หรือ 13 หลัก และห้ามนำเลขมาใส่ในเครื่องหมาย อย.
  3. เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการรายละเอียด แต่ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง ได้แก่ เครื่องที่ใช้เพื่อกายภาพบำบัด เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกาย เต้านมเทียมซิลิโคน แต่เครื่องมือแพทย์ทั่วไป ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่ใบรับแจ้ง เช่น เตียงผ่าตัด เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต
  4. วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้ง/ปี ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์วัตถุต่าง ๆ ที่มีสารที่ อย. กำหนด
  5. อาหารชนิดใดบ้างที่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.

    การแสดงเครื่องหมาย อย. สำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร หรือที่เรียกว่า สัญลักษณ์สารบบอาหาร คือการแสดงเครื่องหมายหรือรูปแบบของอาหารที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร อนุญาตใช้ฉลากอาหาร จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแล้ว ประกอบด้วยเครื่องหมายและเลขสารบบอาหาร โดยข้อมูลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมระบุไว้ ดังนี้

    อาหารที่ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    1. กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะ มี 17 ชนิด ได้แก่
    2. นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
    3. อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
    4. อาหารเสริม สำหรับทารกและเด็กเล็ก
    5. นมโค
    6. นมปรุงแต่ง
    7. นมเปรี้ยว
    8. ไอศกรีม
    9. อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
    10. ผลิตภัณฑ์ของนม
    11. น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
    12. เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
    13. น้ำแข็ง
    14. อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
    15. สีผสมอาหาร
    16. วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร
    17. วัตถุเจือปนอาหาร
    18. โซเดียมไซคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมไซคลาเมต 

กลุ่มที่ 2 อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน มี 31 ชนิด ได้แก่

    1. น้ำมันและไขมัน
    2. น้ำมันถั่วลิสง
    3. เนย
    4. เนยเทียม
    5. เนยกี
    6. อาหารกึ่งสำเร็จรูป
    7. น้ำมันเนย
    8. น้ำปลา
    9. น้ำส้มสายชู
    10. ครีม
    11. น้ำมันปาล์ม
    12. น้ำมันมะพร้าว
    13. ชา
    14. น้ำนมถั่วเหลือง ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
    15. กาแฟ
    16. แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
    17. เครื่องดื่มเกลือแร่
    18. รอยัลเยลลีและ ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี
    19. น้ำผึ้ง
    20. น้ำแร่จากธรรมชาติ
    21. เนยแข็ง
    22. ซอสบางชนิด
    23. น้ำที่เหลือ จากผลิตภัณฑ์ โมโนโซเดียมกลูตาเมต
    24. ไข่เยี่ยวม้า
    25. ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง
    26. ข้าวเติมวิตามิน
    27. ช็อกโกแลต
    28. เกลือบริโภค
    29. อาหารที่มีสารพิษตกค้าง
    30. อาหารที่มีสารปนเปื้อน
    31. อาหารที่มีกัมมันตรังสี

กลุ่มที่ 3 อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก มี 14 ชนิด ได้แก่

 

  1. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
  2. แป้งข้าวกล้อง
  3. น้ำเกลือปรุงอาหาร
  4. ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
  5. ขนมปัง
  6. หมากฝรั่งและลูกอม
  7. วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี
  8. กำหนดกรรมวิธีการผลิตอาหารซึ่งมีการใช้กรรมวิธีการฉายรังสี
  9. ผลิตภัณฑ์กระเทียม
  10. วัตถุแต่งกลิ่นรส
  11. อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือมาตรฐานของอาหารรวมอยู่ในภาชนะบรรจุ
  12. อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้
  13. อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ
  14. การแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที

ผลิตภัณฑ์อาหารที่กำหนดให้ต้องมีฉลากแสดง อย. ได้แก่

1. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่

  • เครื่องปรุงรสและน้ำจิ้ม
  • น้ำพริกสำเร็จรูปที่รับประทานได้ทันที
  • ผลิตภัณฑ์อบกรอบ ทอด กวน ตาก หมัก ดอง จากผลไม้
  • ผลิตภัณฑ์ปรุงสุกจากสัตว์
  • ขนมและอาหารขบเคี้ยว
  • ลูกอมและทอฟฟี

2. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และมีรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อาหารไว้ให้ตรวจสอบ ได้แก่

  • น้ำส้มสายชู
  • น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร
  • ไข่เยี่ยวม้า
  • กาแฟ ชนิดคั่วเมล็ด/ผงสำเร็จรูป/ปรุงสำเร็จ
  • ชา ชนิดชาใบ/ผงสำเร็จรูป/ปรุงสำเร็จ
  • น้ำพริกแกง
  • เครื่องปรุงโปรตีนของถั่ว
  • แยม เยลลี และมาร์มาเลด
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป
  • ลูกอมและทอฟฟี

3. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ ได้แก่

  • เครื่องดื่มชนิดน้ำและผงที่ทำจากพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำตาลสด เครื่องดื่มรังนก กาแฟ ถั่วเหลือง
  • อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เช่น อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุขวดแก้วที่ฝามียางรองด้านใน อาหารที่บรรจุกล่อง ซอง ถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ที่ปิดผนึก
  • นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น นมโค นมปรุงแต่ง นมเปรี้ยว ไอศกรีม เนยแข็ง เนย
  • น้ำดื่ม/น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

นอกจากนี้ยังมี อาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มนี้ ผู้ผลิตไม่ต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ แต่ต้องแสดงฉลากตามที่กฎหมายกำหนด

  • ผลิตภัณฑ์จากพืช ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดถั่วแห้ง งา พริกแห้ง ข้าวเกรียบ (ไม่ทอด) ธัญพืชชนิดบด ผง พริกป่น
  • ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ได้แก่ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รังนกแห้ง ไข่เค็มดิบ กะปิ ปลาร้าผง/ดิบ ปลาส้ม น้ำบูดู น้ำผึ้ง (ที่ผลิตจากสถานที่ผลิตไม่เป็นโรงงาน)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook