ปวดประจำเดือนแบบไหน ควรพบแพทย์ด่วน เรื่องใกล้ตัวที่สาวๆ ต้องรู้
ประจำเดือนเป็นอาการทั่วไปที่พบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยจะมาพร้อมกับอาหารปวดประจำเดือน หลายจึงคนมักพึ่งพายาแก้ปวด หรือใช้ถุงน้ำร้อน และแผ่นประคบร้อน เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว หากอาการปวดทุเลาลง ก็ถือเป็นอาการปกติของอาการปวดประจำเดือน แต่หากใครมีอาการปวดกะทันหันและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะรับประทานยาแล้ว อาการปวดก็ยังขัดขวางการทำกิจกรรมประจำวัน หรือแย่ลงในแต่ละรอบที่เป็นประจำเดือน แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพราะอาการดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะทางการแพทย์ได้
อาการผิดปกติที่ควรระวัง เมื่อเริ่มปวดประจำเดือนหนัก
การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ คือ ภาวะที่มีอาการปวดจากสาเหตุโรคประจำตัว หรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก หรือโรคเกี่ยวกับกระดูกเชิงกรานอักเสบ ซึ่งถ้าคุณมีอาการปวดแบบผิดปกติเหล่านี้ แนะนำให้รีบพบแพทย์ คือ
- มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง และจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป ช่วงแรกอาจสามารถทนความเจ็บปวดได้ แต่อาการปวดนี้กลับทวีคูณขึ้นกว่าเดิม
- ความรุนแรงของอาการปวด จำเป็นต้องรับประทานยาแก้ปวดมากกว่าวันละครั้ง หรือแม้แต่การฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการ
- ช่วงมีประจำเดือน มีอาการปวดท้อง และจำเป็นต้องถ่ายอุจจาระอย่างเร่งด่วน แต่ไม่มีอุจจาระเลย
- มีอาการปวดเฉพาะที่ บริเวณช่องท้องส่วนล่างทั้งสองข้าง ซึ่งมักจะลามไปยังช่องคลอดด้านเดียวกัน หรือแม้แต่ขา
- นอกจากอาการปวดประจำเดือนแล้ว มีเลือดออกเป็นระยะ ๆ หรือมากเกินไป ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นมากกว่า 1 ครั้งภายใน 1 เดือน
- มีอาการปวดท้องในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์เสมอ
แนะนำการรักษาเบื้องต้น เมื่อมีอาหารปวดประจำเดือน
วัตถุประสงค์หลักของการรักษาอาการปวดประจำเดือน คือ บรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และลดการกระตุ้นโดยตรงของตัวรับความเจ็บปวด แต่การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ป่วย การตอบสนองของแต่ละคน และความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการรักษา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งแพทย์และผู้ป่วย ในการทำงานร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน ตัวเลือกการรักษาจะมีดังนี้
1.การใช้ยาฮอร์โมน
การรักษาด้วยยาฮอร์โมน สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยับยั้งการตกไข่ ลดการแบ่งเซลล์ และลดการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก การรักษาด้วยฮอร์โมน สามารถทำได้หลายวิธี รวมถึงยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน รวมในรูปแบบของยารับประทาน แผ่นแปะผิวหนัง หรือห่วงในช่องคลอด โดยมีอัตราความสำเร็จสูงถึง 80%
2.การใช้ยาต้านอักเสบ
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ถูกเลือกให้เป็นยารักษาเบื้องต้นโดยแพทย์ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ยาเหล่านี้ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ และการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรเทาอาการปวดได้โดยตรง ขอแนะนำให้เริ่มรับประทาน NSAIDs ประมาณ 1-2 วัน ก่อนเริ่มมีประจำเดือน และใช้ยาตามกำหนด วิธีการนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการจัดการความเจ็บปวดได้ดีมาก
3.การรักษาทางเลือก
วิธีการรักษาทางเลือกที่ไม่ต้องใช้ยา มีหลายวิธีในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยมีงานวิจัยชัดเจ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่เป็นไปได้ในการลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือน คือ การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า ผ่านคลื่นความถี่สูงที่ผิวหนัง การฝังเข็ม การประคบร้อน การออกกำลังกาย โยคะ อาหารเสริม และวิตามินอี นอกจากนี้ สารสกัดจากขิงยังพบว่ามีประสิทธิผล ในการลดความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้
อาการปวดประจำเดือน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน ในช่วง 2 ปีแรก การรักษาเบื้องต้นที่แนะนำ สำหรับอาการนี้คือการใช้ยา โดยเฉพาะยาแก้อักเสบ เป็นการรักษาขั้นแรกที่แพทย์ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ จำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินประสิทธิผลของการรักษา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ถ้าอาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาได้ ด้วยการกินยาแก้อักเสบ ก็สรุปได้ว่าอาการปวดนั้น ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรงใด ๆ