ไขข้อข้องใจ "มะยงชิด" "มะปราง" กับ "มะปริง" ต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจ "มะยงชิด" "มะปราง" กับ "มะปริง" ต่างกันอย่างไร

ไขข้อข้องใจ "มะยงชิด" "มะปราง" กับ "มะปริง" ต่างกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันก่อนมีโอกาสได้ทานมะยงชิด ซึ่งมองแล้วก็รู้สึกว่าเหมือนกับผลไม้อีกชื่อหนึ่งคือมะปราง แต่เมื่อลองหาข้อมูลก็พบว่ามีผลไม้อีกชื่อหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเดียวกันคือมะปริง คราวนี้ถึงกับต้องเกาหัวสงสัยกันเลยทีเดียวว่า มะยงชิด มะปริง และมะปรางซึ่งผลไม้ทั้ง 3 ชื่อนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน และเราก็ไม่รีรอรีบหาคำตอบมาให้ว่าผลไม้ทั้ง 3 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่างมะยงชิด มะปราง มะปริง

มะยงชิดคืออะไร

มะยงชิด (Bouea oppositifolia (Roxb.) Meisn.) หลังสุกแล้วจะมีสีเหลืองส้ม หรือในบางประเทศอย่างอินโดนีเซียจะพบผิวเปลือกสีแดง โดยปกติมะยงชิดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน แต่ถ้ามะยงชิดผลไหนรสออกเปรี้ยวจะเรียกว่ามะยงห่าง (ห่างจากความหวาน) ขนาดผลของมะยงชิดจะมีขนาดเท่าๆ กับมะปราง หรือบางครั้งใหญ่กว่าจนถึงขนาดเท่าไข่ไก่เลยก็มี สำหรับคุณค่าทางโภชนาการนั้นมะยงชิดมีเบต้าแคโรทีน วิตามินซีสูงช่วยบำรุงสายตา

มะปรางคืออะไร

มะปราง (Bouea macrophylla Griff.) มีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น

มะปริงคืออะไร

มะปริง (Bouea microphylla Griff.) เป็นไม้ผลที่มีใบเล็ก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 3-6 ซม. ผลมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยวจัด นิยมนำผลดิบมาตำน้ำพริก แกงส้ม จิ้มน้ำปลาหวาน หรือดอง

ในอดีต มะปริงเคยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับมะยงชิด (Bouea oppositifolia) แต่จากงานวิจัยทางพฤกษศาสตร์และพันธุกรรมในปี 2559 พบว่ามะปริงและมะยงชิดเป็นคนละชนิดกัน

ปัจจุบัน มะปริงมักพบในสวนหลังบ้านหรือปลูกผสมผสานกับไม้ผลอื่นๆ ไม่ได้เป็นที่นิยมปลูกเพื่อการค้าเท่ามะปรางหรือมะยงชิด สาเหตุหลักคือมะปริงมีรสเปรี้ยวจัด แต่ก็ยังมีมะปริงบางสายพันธุ์ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว น่าเสียดายที่ขาดการพัฒนาสายพันธุ์อย่างจริงจัง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงระบบเกษตรมาเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น สวนยาง และสวนปาล์ม ส่งผลให้มะปริงถูกล้มเลิกปลูกไปมาก

อย่างไรก็ตาม มะปริงยังมีศักยภาพในการพัฒนาสายพันธุ์รสหวานอมเปรี้ยว ส่งเสริมการปลูกและบริโภค รวมไปถึงเพิ่มมูลค่าผลผลิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook